news on September 20, 2018, 08:04:12 AM




สสว. ผนึก ม.ศิลปากร หนุนสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEsในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศเติบโตรับการแข่งขันตลาดโลก



สสว. ร่วมกับม.ศิลปากร แถลงความสำเร็จโครงการ “Digital Content Cluster Day” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย และเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SMEsปี 2561 พร้อมเปิดเวทีจับคู่เจรจาธุรกิจ คาดผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตราว 100 ล้านบาท แนะผู้ประกอบการไทยจดลิขสิทธิ์เพื่อเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างยั่งยืน


นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ทางด้านดิจิทัลคอนเทนต์ได้จัดทำโครงการ “Digital Content Cluster Day” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย และยังเป็นเวทีในการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อนำไปสู่ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคลัสเตอร์ ในการกำหนดกรอบและแนวทางการส่งเสริม SMEs ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน อีกทั้งยังขานรับนโยบาย Thailand Digital ที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในอนาคต

“SMEs นับเป็นกลไกสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มหรือเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาคลัสเตอร์เป็นเครื่องมือ ที่ สสว. นำนโยบายดังกล่าวมากำหนดแนวทางการส่งเสริม SMEs โดยมุ่งเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุก” นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล กล่าว

ในการดำเนินโครงการครั้งนี้มีผู้ประกอบเข้าร่วม 400 ราย มีทั้งในรูปแบบรายบุคคลและบริษัท นิติบุคคลทั้งนี้การจัดโครงการ“Digital Content Cluster Day” เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 ด้วย

ผศ.สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกพลังศักยภาพจากภาครัฐ และภาคการศึกษาในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย เพื่อจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นฐานสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และการส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาบุคลากร พร้อมเป็นศูนย์กลางพัฒนาองค์ความรู้และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

“การจัดทำโครงการฯ เป็นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศในฐานะสถาบันการศึกษาในการพัฒนาและผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมจึงให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันกับภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม” ผศ.สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร กล่าว


ผศ.ณัฐพร กาญจนภูมิ ผู้แทนคณะดำเนินงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สำหรับโครงการฯ ได้พัฒนา Digital Content Cluster ประกอบด้วย เครือข่ายอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ตัวละคร การสร้างแอนิเมชัน และด้านการให้บริการคอมพิวเตอร์กราฟิก ในรูปแบบกิจกรรม AnimaCon Project Pitching พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน การเขียนบท โดยให้ผู้สร้างแอนิเมชันนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรม BusinessMatchingเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ Character licensing และ CG Service กับกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือต่อเนื่อง รวมถึงได้มีการจัดสัมมนา และจัดทำการ Web Portal และ Facebook เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สร้างการเข้าถึงผู้ประกอบการ

สำหรับผลการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมในโครงการครั้งนี้ตั้งแต่เริ่มมีการระดมความคิดเห็นของกลุ่มคนในอุตสาหกรรมทั้งสามเครือข่าย โดยเน้นถึงการสร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ (Business Ecosystems) ทั้งนี้เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายโดยการดำเนินงานส่งเสริมเครือข่ายผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม Character Licensing, Animation และ CG Service โดยมีการจัดกิจกรรมในการบ่มเพาะการจัดสัมมนาและเวิร์คชอปการส่งเสริมทางการตลาดและการขยายเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ แต่ละกลุ่มโดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2561

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม AnimaCon Project Pitching โดยให้ผู้สร้างแอนิเมชันนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรม Business Matching เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ Character licensing และCG Service กับกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าการนำเสนอผลงานและจับคู่เจรจาธุรกิจในกิจกรรมนี้จะกระตุ้นและต่อยอดให้เกิดเม็ดเงินในอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทจากผลการสำรวจมูลค่าจากดีป้า ส่วนของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นในปี 60 มีมูลค่า 4,037 ล้านบาท และคาดว่าในปี 61 มีมูลค่ารวมที่ 4,441 ล้านบาท และอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ในปี 60 มีมูลค่า 1,848 ล้านบาทและคาดว่าในปี 61 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1,998 ล้านบาท ซึ่งมีปัจจัยเติบโตมาจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัลและด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

“ทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบการถือว่ามีศักยภาพ ซึ่งที่ผ่านมาหลายองค์กรได้ผลิตผลงานและรับจ้างผลิตงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาเสริมการสร้างรายได้ แต่หากว่าผู้ประกอบการต้องการให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งและยั่งยืนเรื่องการจดลิขสิทธิ์เป็นหัวใจสำคัญที่สามารถนำผลงานไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆได้ในอนาคต ดังนั้นจึงขอแนะผู้ประกอบการไทยจดลิขสิทธิ์เพื่อเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างยั่งยืน” ผศ.ณัฐพร กาญจนภูมิ กล่าวทิ้งท้าย
« Last Edit: September 20, 2018, 09:48:12 PM by news »