news on September 06, 2018, 10:04:10 PM

ความร่วมมือระหว่างบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย และบริษัท จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์ค

อีริคสันขยายแพลตฟอร์ม 5G แบบ end-to-end ในประเทศไทยเปิดตัวผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์โซลูชั่นส์ใหม่ล่าสุด หนุนผู้ให้บริการเปิดใช้สัญญาณ 5G ได้เร็วขึ้น

•   Ericsson Radio System รุ่นล่าสุดขยายขีดความสามารถให้มีการเปิดและปรับใช้สัญญาณ 5G ได้เร็วขึ้น

•   Radio Access Network (RAN)Computeใหม่เสริมความยืดหยุ่นให้โครงข่ายในการรองรับการใช้งาน 5G ใหม่ๆ ช่วยลดระยะเวลาในการรับส่งข้อมูล (latency) และลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (total cost of ownership)

•   เสริมประสิทธิภาพโซลูชั่นส์ลำเลียงข้อมูลบน 5Gแบบ end-to-end



End 2 End 5G Transport



IoT for public safety




คุณวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ รองประธาน และหัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์ค โซลูชั่นส์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC)ขยายแพลตฟอร์ม 5Gแบบ end-to-endด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ลงในพอร์ต Ericsson Radio Systemเสริมศักยภาพของผู้ให้บริการไทยในการเปิดและปรับใช้เครือข่ายสัญญาณ 5G ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ อีริคสันยังเสริมความแข็งแกร่งของโซลูชั่นส์ลำเลียงข้อมูลบนสัญญาณอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบ end-to-end ด้วยการผสานความรู้ความชำนาญด้านสัญญาณวิทยุของอีริคสันเข้ากับสุดยอดเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลจากจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ และ ECI

RAN Compute- สถาปัตยกรรมเพื่อความยืดหยุ่นที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
อีริคสันเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ RAN Compute ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ให้บริการที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเปิดใช้ฟังก์ชั่นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์สำหรับโครงสร้างเครือข่ายวิทยุ (Radio Access Network - RAN) ได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ RAN Compute เป็นสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถปรับแบ่งการใช้งาน RAN ได้อย่างที่ต้องการ อาทิ การส่งสัญญาณ (beamforming)และการควบคุมสัญญาณวิทยุ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับแต่งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน พร้อมกับลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (total cost of ownership) ลงด้วยได้ในเวลาเดียวกัน

กลุ่มผลิตภัณฑ์RAN Compute ใหม่นี้จะรวมแถบคลื่นความถี่ในปัจจุบันทั้งหมดเข้ากับผลิตภัณฑ์ RAN Compute ใหม่อีกสี่ตัวที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นถึงสามเท่า โดยผลิตภัณฑ์ใหม่สองตัวคือ RAN Compute Baseband จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเปิดใช้ฟังก์ชั่นส์RAN ต่างๆ ได้จากส่วนกลาง หรือที่สถานีส่งสัญญาณ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่อีกสองตัวจะเป็น RAN Compute Radio Processorที่จะนำการใช้งานฟังก์ชั่นส์RAN มาเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณบรอดแบนด์ เพื่อให้ใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลน้อย(ultra-low latency) และไม่กินพื้นที่

นาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นอกจาก 5Gจะใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลน้อยแล้วยังสามารถทำงานได้ไวเป็นพิเศษ และไว้วางใจได้ 5G จึงเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการนำพาประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 สำหรับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เราเปิดตัวในวันนี้นั้น จะช่วยขยายแพลตฟอร์ม 5Gในประเทศไทยให้กว้างขึ้นและมีความพร้อมมากขึ้น อำนวยความสะดวกให้ผู้ให้บริการในไทยสามารถเปิดใช้บริการ5G ได้อย่างสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น”

จากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเดือนมิถุนายน 2561คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2566ปริมาณการใช้ข้อมูล ทั่วโลกนั้นจะเติบโตในอัตรา 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของของข้อมูลสัญญาณมือถือทั่วโลกนั้นจะอยู่บนเครือข่าย 5G ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าข้อมูลบน 4G/3G/2G ในปัจจุบันรวมกันทั้งหมดถึง 1.5 เท่า ดังนั้นโครงข่ายสัญญาณอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่จะต้องรับมือกับปริมาณการใช้ข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ให้ได้ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ แนวโน้มในการใช้ข้อมูลของคนไทยนั้นไม่ได้ต่างไปจากประชากรในประเทศอื่นๆซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลบนเครือข่ายส่วนใหญ่ในโลกจะอยู่ในรูปแบบของวีดีโอพฤติกรรมการใช้งานเหล่านี้เป็นการผลักดันให้โครงข่ายเตรียมพร้อมรับมือกับรูปแบบการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบัน

นอกจากนี้ นาดีน อัลเลน ยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า “เหตุผลที่ 5G ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งทั่วโลกและในไทยนั้น เนื่องมาจากผู้ให้บริการจะสามารถบริหารจัดการโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้ 4G และ 5G ร่วมกัน ซึ่งอีริคสันมีพอร์ตโซลูชั่นส์เครือข่ายที่พร้อมใช้งานทันทีสำหรับระบบ 5G เราจึงเป็นพันธมิตรสำหรับผู้ให้บริการในไทย ที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถปรับเปลี่ยนจากการใช้งาน4G ไปสู่5G ได้อย่างราบรื่น”

เปลี่ยนถ่ายโครงข่ายได้อย่างราบรื่นด้วยEricsson Spectrum Sharing
พร้อมกันนี้ อีริคสันยังได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ใหม่สำหรับEricsson Spectrum Sharingที่จะขยายขอบเขตการใช้งานบน 5G ของ Ericsson Radio System ให้ครบวงจรพร้อมเปิดโอกาสแก่ผู้ให้บริการที่เริ่มเข้าสู่ระบบ 5Gและช่วยเร่งขยายพื้นที่บริการให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

Ericsson Spectrum Sharingช่วยให้การเปลี่ยนถ่ายโครงข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น เพราะสามารถรองรับระบบ 4G และ 5G ภายในคลื่นความถี่เดียวกันได้ในเวลาเดียวกันด้วยการใช้ Ericsson Radio Systemและสามารถปรับเปลี่ยนระบบได้ทันทีเมื่อพร้อม ผลิตภัณฑ์ของ Ericsson Radio System ตั้งแต่ปี 2558 สามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่นี้ได้ทันทีผ่านการติดตั้งซอฟต์แวร์แบบรีโมต

ประสิทธิภาพใหม่นี้ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมระดับประเทศได้อย่างที่ต้องการ เพราะมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับกลยุทธ์การเปลี่ยนถ่ายได้หลากหลายกว่า ขจัดความจำเป็นที่จะต้องแบ่งพื้นที่บนคลื่นความถี่ไว้ให้สำหรับระบบ 5G โดยเฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้ประสิทธิภาพของระบบ 4G ลดลง โซลูชั่นส์Ericsson Spectrum Sharingนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าสู่ผู้ใช้งานผ่านวิธีที่คุ้มค่าที่สุด

ยกระดับประสิทธิภาพในพื้นที่เขตเมืองด้วย Street Macro และการลำเลียงข้อมูลแบบผสมผสาน
ภายในวันเดียวกันนี้ อีริคสันยังได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นส์ลำเลียงข้อมูลใหม่ที่ได้รับการพัฒนาปรับแต่งให้เป็นโซลูชั่นส์Street Macro ที่สมบูรณ์และครบครันในทุกองค์ประกอบเพื่อรองรับการใช้งาน 5G บนคลื่นความถี่ระดับมิลลิเมตร (millimeter wave 5G) เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารข้อมูลในบริเวณที่มีการใช้งานสูง  ซึ่งก็คือพื้นที่ในบริเวณตัวเมืองนั่นเอง

ซึ่งโซลูชั่นส์ทั้งหมดนี้จะพร้อมออกสู่ตลาดภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2562

โซลูชั่นส์ลำเลียงข้อมูลแบบ end-to-end สำหรับ 5G(End to end transport for 5G)
เนื่องด้วยอีริคสันให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อฟังก์ชั่นส์ใช้งานของระบบสัญญาณวิทยุและระบบเครือข่ายหลัก อีริคสันจึงได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์เฉพาะเพื่อการสื่อสารในส่วนของ backhaul และfronthaul โซลูชั่นส์ในการลำเลียงข้อมูลที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ให้บริการอย่างแพร่หลาย สำหรับทั้งระบบ 4G และ 5G คือ ยูบิควิตัสโซลูชั่นส์รวมถึงผลิตภัณฑ์ backhaulของอีริคสัน สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อย่าง Router 6000 ได้รับการตอบรับและช่วยเสริมประสิทธิภาพของผู้ให้บริการเกือบ 60 รายทั่วโลก ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการกว่า 110 รายทั่วโลกก็ยังให้ความไว้วางใจในโซลูชั่นส์MINI-LINK ซึ่งเป็นเทคโนโลยีคลื่นไมโครเวฟที่รองรับการใช้งานระบบ 5G ของอีริคสันด้วยเช่นกัน

อีริคสันยังได้จับมือกับจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เพื่อเสริมความสมบูรณ์แบบของพอร์ตผลิตภัณฑ์แบบend-to-end ในระบบ 5Gโดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Router 6000 ของอีริคสันจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำมาใช้คู่กับโซลูชั่นส์edge และ core ของจูนิเปอร์ ทำให้การเชื่อมต่อจากสถานีส่งสัญญาณไปที่ระบบcore มีความเสถียรและลื่นไหล จึงรับประกันได้ในประสิทธิภาพ คุณภาพ และความสะดวกง่ายดายของการใช้ระบบ 5G

ผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของจูนิเปอร์จะถูกนำมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นส์ของอีริคสัน เพื่อเป็นการรับรองความปลอดภัยให้กับเครือข่ายสัญญาณอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของลูกค้า และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความปลอดภัยของเครือข่าย 5G ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตในแบบ end-to-end 

นอกจากนี้ อีริคสันยังได้เสริมประสิทธิภาพบริการในส่วนของ optical transport ในบริเวณพื้นที่เขตมหานคร โดยการร่วมมือกับ ECI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นส์elastic network ระดับสากล เพื่อมอบโซลูชั่นส์optical transport แบบใหม่ล่าสุดให้แก่ผู้ให้บริการและลูกค้าสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

“โดยหลักๆ แล้ว เราสามารถมอบโซลูชั่นส์ที่ครอบคลุมแบบend-to-end สำหรับเครือข่ายสัญญาณอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ให้กับผู้ให้บริการในไทย ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเปิดให้บริการระบบ 5G ได้เร็วขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ 5G ที่เหนือกว่าสู่ผู้บริโภคชาวไทย”นาดีน อัลเลน กล่าวสรุป

เกี่ยวกับ อีริคสัน
อีริคสัน สนับสนุนผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในการสร้างมูลค่าสูงสุดจากการเชื่อมต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมเครือข่าย (Networks) การบริการดิจิทัล (Digital Services) การบริหารจัดการเครือข่าย (Managed Services) และธุรกิจเกิดใหม่ที่กำลังเติบโต (Emerging Business) และมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้มุ่งสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพ และมองหารายได้รูปแบบใหม่ การลงทุนเพื่อพัฒนา นวัตกรรมของอีริคสันได้มอบประโยชน์จากระบบโทรศัพท์และเครือข่ายเคลื่อนที่ให้แก่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก อีริคสันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในกรุงสต็อกโฮล์ม และใน NASDAQ นครนิวยอร์ค ติดตามข้อมูลข่าวสารของอีริคสันได้ที่ www.ericsson.com
[/size]
« Last Edit: September 06, 2018, 10:14:37 PM by news »

news on September 06, 2018, 10:08:58 PM
อีริคสันจัดแสดงโชว์เคสในงานGSMA - Mobile 360 ระหว่างวันที่ 5-7กันยายน 2561 กรุงเทพมหานคร

อีริคสันจับมือจูนิเปอร์ชูEnd to End 5G Transport
การนำEnd to End 5G Transportมาจัดแสดงในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จะเผยให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างอีริคสันและจูนิเปอร์ในการนำเสนอโซลูชั่นลำเลียงข้อมูลบนเครือข่าย 5GแบบEnd to End ได้อย่างครบวงจร โดยการเชื่อมต่อระบบสัญญาณวิทยุสู่ระบบเครือข่ายหลักเพื่อยกระดับการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มความสามารถในการจัดการกับความซับซ้อนของข้อมูลอันมหาศาลไปด้วยได้ในเวลาเดียวกัน

ความร่วมมือระหว่างอีริคสันและจูนิเปอร์จะอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งแก่ผู้ให้บริการในการเข้าสู่รูปแบบบริการบนโครงข่าย 5G ผ่านโซลูชั่นแบบผสมผสานอย่างรัดกุมชมการสาธิตของโซลูชั่นนี้ได้ที่บูธอีริคสันในงาน GSMA - Mobile 360

5G Core
ระบบ 5G Core ของอีริคสันช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโครงข่ายสื่อสารไร้สาย 5G ได้ผ่านNetwork Slicing หรือเครือข่ายแบบแยกส่วน ซึ่ง Network Slicing นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการสามารถจัดสรรพื้นที่สำหรับ virtual networks หรือเครือข่ายเสมือนให้ทำงานบนเครือข่ายปกติ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานสำหรับกลุ่มลูกค้าหรือรูปแบบบริการเฉพาะทางได้อย่างตรงจุด ในวันนี้เราได้พิสูจน์แล้วว่าระบบนี้มีส่วนช่วยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมบางรายให้สามารถบุกเบิกเข้าสู่ตลาดการสื่อสารยุค 5G ได้ก่อนใคร เพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจ

พื้นที่จัดแสดงส่วนนี้จะสาธิตระบบ5G Core รวมถึงงานศึกษาวิจัยล่าสุดว่าระบบนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ให้บริการในด้านใดบ้าง ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือกับ Intelอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงกรณีศึกษาของการนำระบบ 5G Core ไปใช้ในงานด้านความปลอดภัยสาธารณะที่จำเป็นต้องอาศัยระบบ 5G core

กรณีศึกษาการใช้5GและIoT ในงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ
5G จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความหลากหลายในภาคอุตสาหกรรม และรูปแบบการใช้งาน อาทิ ด้านเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality- AR) และความจริงเสมือน (Virtual Reality - VR) ที่ยังคงอยู่ในช่วงต้นๆ ของการพัฒนา รวมถึงการนำไปใช้ในงานด้านอื่นๆ เช่น ด้านความปลอดภัยสาธารณะ

การสาธิตในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงกรณีศึกษาในงานด้านความปลอดภัยสาธารณะว่าเทคโนโลยี  VR และ AR และการใช้งานแบบDistributed Edge นั้นมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านการประสานงานและการตัดสินใจได้อย่างไรเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยครั้งใหญ่ในโรงแรมที่มีการออกแบบที่ซับซ้อนกลางเมืองท่องเที่ยว โดยจะมีการจำลองเหตุการณ์โดยสาธิตให้มีผู้ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าชุดกู้ภัยที่ต้องคอยประสานงานและออกคำสั่งกระจายหน้าที่ให้กับบุคคลต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ

และกู้ภัย ซึ่งเหตุการณ์จำลองต่างๆ ในการสาธิตนี้ จะชี้ให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยี VR และ AR นั้นมีส่วนช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้นเพียงใด และอำนวยความสะดวกในการกู้ภัยได้อย่างไร จากความหลากหลายในการใช้งานผ่านระบบประมวลผลแบบCloud และโครงสร้าง Distributed Cloud Architectures

5 กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับMassive IoT
จากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเดือนมิถุนายน 2561 คาดการณ์ว่า การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการใช้งาน IoT นั้นจะทะยานขึ้นแตะ 3,500 ล้านเครื่องในปี 2566 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 30นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยี IoT เพื่อระบบการสื่อสารไร้สายขนาดใหญ่ อาทิ NB-IoT และ Cat-M1 ซึ่งมีส่วนผลักดันให้จำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อการใช้งาน IoT เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเคลื่อนที่ได้เปิดให้มีการใช้งานโครงข่าย IoT สำหรับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเชิงพาณิชย์มากกว่า 60 โครงข่ายผ่านเทคโนโลยี Cat-M1 และ NB-IoT

การที่มีอุปกรณ์ IoT ใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการต้องสร้างระบบนิเวศที่สามารถรองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นส์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกับลดต้นทุนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายลง การสาธิตในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์จริงที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการว่าจะสามารถใช้ระบบนิเวศได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่ากับการลงทุนได้อย่างไร รวมไปถึงการยกตัวอย่างการใช้งานในธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมและน่าจับตามอง

กรณีศึกษาที่ 1:เป็นเรื่องของ Massive IoT Portal ที่จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพันธมิตร ผู้ประกอบการ และบริษัทฯ ต่าง ๆ นั้นสามารถซื้อแพ็คเกจAPI ต่างประเภทกันได้ กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการจะสามารถขายและทำเงินจากแพ็คเกจต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง
 
กรณีศึกษาที่ 2:เป็นเรื่องของการใช้งานสำหรับผู้พัฒนาระบบของพันธมิตรและผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการจะสามารถสนับสนุนผู้พัฒนาระบบให้ก้าวผ่านระยะต่างๆ ของ  API ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งในหน้าโฮมเพจของ Developer Portalนั้นจะมีการแสดงให้เห็นถึงวิธีเรียนรู้ทำความเข้าใจ เชื่อมต่อ และบริหารทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย

กรณีศึกษาที่ 3:จะเน้นในเรื่องของการใช้งาน การรองรับ และจัดการกับอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยี NB-IoT และ CAT-M1

กรณีศึกษาที่ 4:จะเน้นในเรื่องของการเฝ้าระวังผ่านอุปกรณ์ เช่น การตรวจดูพื้นที่ การตรวจดูระดับแบตเตอรี่ ฯลฯ อีริคสันแสดงให้เห็นผ่านกรณีศึกษาจริงว่า SCEF จะสามารถบอกได้อย่างไรว่ากำลังมีคนขโมย UE/Device ออกนอกพื้นที่ และอีกกรณีหนึ่งจะแสดงให้เห็นว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อระดับแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ต่าง ๆ กำลังลดต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้

กรณีศึกษาที่ 5:ส่วนนี้จะแสดง  API dashboard ให้เห็นว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นส์ต่างๆ ส่งสัญญาณมายัง SCEF รวมถึงแสดงการจัดสรรโควต้าAPI จำเพาะต่างๆ ให้กับพันธมิตร
« Last Edit: September 06, 2018, 10:15:30 PM by news »