wmt on September 03, 2018, 03:18:05 PM



เปิดธรรมนูญเกาะหมาก 8 ข้อ ตอกย้ำเกาะหมากโลว์คาร์บอน 


ชาวเกาะหมากร่วมกันปล่อยเต่าที่ได้รับอุบัติเหตุติดอวนคืนสู่ทะเล

ชาวเกาะหมากร่วมกันปล่อยเต่าที่ได้รับอุบัติเหตุติดอวนคืนสู่ทะเล

เสวนาธรรมนูญเกาะหมาก



อพท.ช่วยสนับสนุนจักรยานในการสัญจรในเกาะหมาก

เดินทางเตรียมตัวไปทำกิจกรรมเก็บขยะบนชายหาด



กิจกรรมเก็บขยะบนชายหาดTrash Hero


องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และประชาชนบนเกาะหมาก จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “เกาะหมากสดใส ร่วมใจลดคาร์บอน Kohmak...Low Carbon” สร้างการรับรู้ “ธรรมนูญเกาะหมาก” ให้แก่นักท่องเที่ยว หวังเป็นเครือข่ายสร้างการพัฒนาการท่องเที่ยวในเกาะหมากอย่างยั่งยืนต่อไป


นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รองผู้อำนวยการ อพท. ประธานเปิดโครงการ "เกาะหมากสดใส ร่วมใจลดคาร์บอน (KohMak...LowCarbon)" กล่าวว่า อพท. ได้ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมากและชุมชนเกาะหมากดำเนินกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เพื่อมุ่งหวังให้เกาะหมากเป็น “แหล่งท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน” ในปีนี้วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก มีความคิดเห็นว่าการสัญจรท่องเที่ยวบนเกาะหมาก ควรเป็นยานพาหนะที่ไม่ปลดปล่อยคาร์บอน เป็นการต่อจิ๊กซอร์ให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวโลว์คาร์บอนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งรถไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ และรถจักรยาน ถือเป็นพาหนะที่จะตอบโจทย์กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสัญจรสาธารณะภายในเกาะ ลดการก่อมลภาวะจากการใช้เครื่องยนต์ในการเดินทาง และลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงขอรับการสนับสนุนจาก อพท. เพื่อไว้บริการนักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นพาหนะสำหรับเดินทางท่องเที่ยวในเกาะหมาก


นายนิพนธ์ สุทธิธนกูล ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก กล่าวว่า การท่องเที่ยวบนเกาะหมากมีการเติบโตและอยู่ในความสนใจของนักท่องเที่ยวมาโดยตลอด จึงทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุน ที่เข้ามาสร้างที่พักและนำเสนอกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เช่น เจ็ตสกี การเปิดสถานบันเทิง  จึงเป็นจุดที่ชาวบ้านและชุมชนบนเกาะหมาก ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เจ้าของทรัพยากร ต้องมาทบทวนและทำความเข้าใจร่วมกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำ “ธรรมนูญเกาะหมาก” ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันทั้งฝ่ายชาวบ้าน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว ที่จะร่วมกันปฏิบัติ 

การจัดทำธรรมนูญเกาะหมาก วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. สาระสำคัญคือ การพัฒนาแหล่งและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลักดันการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาเกาะหมาก อาทิ การส่งเสริมการใช้จักรยานและรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยวและสัญจร ส่งเสริมกิจกรรมเล่นเรือใบ กิจกรรมพายเรือคายัค กิจกรรมทำอาหารเมนูโลว์คาร์บอน รวมทั้งการพัฒนาระบบโมบาย แอพพลิเคชั่น เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนแก่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนของเกาะหมากให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

สำหรับข้อตกลงธรรมนูญเกาะหมาก 8 ข้อ เพื่อเน้นย้ำความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “เกาะหมาก โลว์คาร์ลอน เดสติเนชั่น” ให้ทราบโดยทั่วกันทั้งในและนอกพื้นที่   ประกอบด้วย
1. ไม่สนับสนุนให้เรือเฟอรี่นำยานพาหนะของนักท่องเที่ยวข้ามมายังเกาะหมาก
2. รถจักรยานยนต์ให้เช่าต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของจำนวนห้องพักบนเกาะหมาก
3. ไม่สนับสนุนการใช้วัสดุจากโฟม หรือวัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อใส่อาหาร
4. ห้ามทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล ของเหลือรับประทานลงในที่สาธารณะ และแหล่งน้ำโดยเด็ดขาด
5. ไม่สนับสนุนให้ใช้สารเคมีที่มีสารตกค้างสูง
6. ห้ามส่งเสียงดังหรือกระทำการรบกวน หรือเป็นการเดือดร้อน ในเวลา 22.00 น. – 07.00 น.
7. ไม่สนับสนุนกีฬาทางบกและทางทะเลที่ใช้เครื่องยนต์ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน
8. ห้ามนำ ห้ามเสพ ห้ามจำหน่ายสารเสพติดผิดกฎหมายทุกชนิดบนเกาะ
   
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้จักรยานสำหรับเดินทางในเกาะหมาก อพท. จึงช่วยสนับสนุนจักรยานจำนวน 100 คัน มอบให้แก่วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการรถจักรยานได้ 2 แบบ คือ ฟรี และเสียค่าเช่าในอัตราสูงสุดไม่เกินคันละ 50 บาทต่อวัน นอกจากลดการใช้เครื่องยนต์แล้ว ชุมชนและผู้ประกอบการบนเกาะหมาก ยังมีกิจกรรมเก็บขยะบนชายหาด ร่วมกับ อบต. และนักท่องเที่ยวทุกวันเสาร์ ภายใต้ชื่อ  Trash Hero รวมถึงช่วยกันดูแลเรื่องความปลอดภัยของคนบนเกาะและนักท่องเที่ยว 

“เกาะหมากมีขีดความสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำกัด และทางผู้ประกอบการและชุมชนได้รับรู้ร่วมกัน จึงมั่นใจว่า การท่องเที่ยวในเกาะนี้จะไม่กระทบต่อแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเรายังปลูกฝังแนวความคิดจากรุ่นสู่รุ่นว่า เกาะหมากไม่จำเป็นต้องเจริญมากแต่สามารถอยู่ได้ และให้ความรู้สึกเหมือนกับที่นักท่องเที่ยวกลุ่มเก่าที่พาลูกๆ มาเที่ยว และบอกว่า ที่นี่เหมือนเมื่อก่อนที่เคยมา ไม่เปลี่ยนแปลง” 






« Last Edit: September 04, 2018, 08:41:26 AM by wmt »

wmt on September 03, 2018, 03:19:29 PM
ธรรมนูญเกาะหมากTimeline

24/06/18 อ้นเอกเล้ง



ธรรมนูญเกาะหมาก
1. ไม่สนับสนุนให้มีเรือเฟอร์รี่ที่นำยานพาหนะของนักท่องเที่ยวข้ามมายังเกาะหมาก
2.  รถจักรยานยนต์สำหรับให้นักท่องเที่ยวเช่าไม่เกินร้อยละ 70 ของจำนวนห้องพักบนเกาะหมาก
3. ไม่สนับสนุนให้ใช้วัสดุที่ทำจากโฟมหรือวัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษเพื่อใส่อาหาร
4.  ห้ามทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลของเหลือรับประทานลงในที่สาธารณะและแหล่งน้ำโดยเด็ดขาด
5.  ไม่สนับสนุนให้ใช้สารเคมีที่มีสารพิษตกค้างสูง
6.  ห้ามส่งเสียงดังหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนหรือเป็นการเดือดร้อนโดยเฉพาะหลังเวลา22.00น. ถึงเวลา 07.00 น.
7.  ไม่สนับสนุนกีฬาทางบกและทางทะเลที่ใช้เครื่องยนต์ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชน
8. ห้ามนำห้ามเสพห้ามจำหน่ายสารเสพติดที่ผิดกฎหมายทุกชนิดในพื้นที่

เหตุการณ์ที่เป็นเหตุผลที่ชุมชนมานั่งคุยกันทำให้เกิดธรรมนูญฯ

1.   ปีพ.ศ. 2548  กำนันเกาะหมากขณะนั้นขอหารือเรื่องมีผู้ประกอบการภายนอกประสงค์จะประกอบกิจการบาร์ที่เกาะในที่ประชุมมีฉันทามติไม่เห็นด้วย
2.   ปีพ.ศ. 2552  ผู้ประกอบการรายหนึ่งนำเจ็ทสกี 6-7 ลำพร้อมบานาน่าโบ๊ทและเรือลากร่มมาประกอบธุรกิจ นายก อบต. ขณะนั้นได้เรียกประชุมชาวบ้านที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยและออกมาตรการเพื่อคว่ำบาตรกิจกรรมนี้โดยมีมติว่าจะไม่ส่งลูกค้าให้ผู้ประกอบการรายนี้
3.   จากการประชุมใหญ่ครั้งหนึ่งของชุมชนผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐ เสียงส่วนใหญ่เห็นควรออกข้อมติเพื่อป้องกันปัญหาและผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวนอกจากนั้นข้อกฎหมายบางข้อไม่สามารถปฎิบัติได้โดยสมบูรณ์กับพื้นที่เช่นการต่อทะเบียนยานพาหนะจึงมีมติร่วมของชุมชนและให้เรียกว่าธรรมนูญเกาะหมาก

Timeline
พฤศจิกายน 2554

อพท. ร่วมกับชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก จัดแรลลี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกาะหมาก เป็นครั้งแรก

กันยายน 2555 
อพท. ได้เห็นความต้องการของชุมชนที่กังวลผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงได้เริ่มมีการหารือกันโดย อพท. เป็นผู้สนับสนุนการร่างมติชุมชนและออกเป็นข้อปฎิบัติ มีการเสวนา เรื่อง "ทำไม ต้องโลว์คาร์บอน" และพิธีลงนาม "ปฏิญญาเกาะหมาก ปฏิญญาท่องเที่ยวโลว์คาร์บอนบนเกาะหมากเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน" ระหว่าง อพท. กับตัวแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนของเกาะหมาก จำนวน 41 ราย โดยมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อร่วมกันรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยคาร์บอน อันเกิดจากการท่องเที่ยว

จากนั้นได้มีการหารือในข้อปฎิบัติระหว่างสมาชิกชมรมและผู้นำชุมชนในปัญหาและภัยคุกคามในอนาคตต่อชุมชนและธุรกิจ

ตุลาคม 2556 
อพท. อบต.เกาะหมาก ชมรมท่องเที่ยวเกาะหมากร่วมกันผนึกกำลังจัดงาน นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ "เปิดโลกพลังงานทางเลือก" และเวทีเสวนา หัวข้อ "ทำ Low Carbon แล้ว ได้อะไร? และเกาะหมากจะเป็น Low Carbon ได้ในปีไหน?..." เพื่อต่อยอดความสำเร็จจากแนวคิดสู่ความเข้าใจ การรับรู้ของชุมชนท้องถิ่นบนเกาะหมากว่า ทำไม ต้อง Low Carbon? เมื่อปี 2555 ทำให้ชุมชนมีความเชื่อมั่นให้มีธรรมนูญเกาะหมาก

กันยายน 2557
เปิดตัวแบรนด์ Low Carbon Destination @ Koh Mak เพื่อดึงดูดนักทท่องเที่ยวคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ

สิงหาคม 2558
อพท. ต่อยอดการสร้างภาพลักษณ์ Low Carbon Destination ผ่าน 3 แคมเปญ ได้แก่  Eat it Fresh  หน้าบ้านน่ามองและกิจกรรม Mega Clean Up และ เปิดตัวเส้นทางจักรยาน 2 เส้นทาง

สิงหาคม 2559
อพท. ร่วมกับชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก ผลิตแพ็คเกจทัวร์คาร์บอนต่ำ “โลว์ คาร์บอน ฮอลิเดย์”  จำหน่าย ต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ สร้างรายได้อย่างเป็นรูปแบบ ได้รับรางวัลพาต้า โกลด์ อวอร์ด 2016 ประเภทสิ่งแวดล้อมในสาขาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สิงหาคม 2560 
อพท. และ วิทยาลัยชุมชนได้ขอให้ อบต. เกาะหมากและชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก เชิญชุมชนหารือและสร้าง mind map เพื่อหาข้อสรุปธรรมนูญเกาะหมากและได้ออกข้อมติ 12 ข้อ

กุมภาพันธ์ 2561
อพท. ร่วมกับ อบต. และชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก ขอเชิญชุมชนโดยมีนายอำเภอเกาะกูดร่วมประชุมและให้ข้อคิดและมีมติให้ลดข้อตกลงเป็น 8 ข้อและให้จัดทำป้ายประกาศต่อชุมชนและนักท่องเที่ยวรวมถึงการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลาย

wmt on September 03, 2018, 03:20:33 PM
พิพิธภัณฑ์เกาะหมาก
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเอกชนที่ดัดแปลงจากบ้านเก่าของเจ้าของ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าตระกูลดั้งเดิมของเกาะหมาก จัดแสดงข้อมูล เกี่ยวกับ วิถีชีวิตของชาวเกาะหมากและขนบนิยมในท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปหัตถกรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในเกาะหมาก ที่จะพาเรากลับไปสู่อดีตในวันวาน อีกครั้ง
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น.

เกาะหมาก ดิสกอล์ฟ (Koh Mak Disc Golf)
Disc Golf หรือ กีฬาจานร่อน นิยมเล่นกันในอเมริกาและหลายประเทศทางยุโรป ในประเทศไทยมีเล่นกันสองแห่งเท่านั้น คือ ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่เกาะหมาก จังหวัดตราด
 
การเล่นดิสกอล์ฟใช้กติกาเดียวกันกับกอล์ฟ เพียงแต่เปลี่ยนจากใช้ไม้กอล์ฟตีลูกให้ลงหลุม เป็นร่อนจานให้ลงตะกร้าแทน โดยมีตะกร้าหลัก 9 ใบ หากร่อนจานลงตะกร้าได้ในครั้งเดียวก็เหมือนกับตีกอล์ฟได้โฮลอินวัน โดยจะแข่งกันทีละสองคน หรือทีมละสามสี่คนก็ได้

ผู้เล่นแต่ละคนจะมีชุดจานหลายใบ เหมือนกับนักกอล์ฟที่มีชุดไม้หลายเบอร์ ไว้ใช้งานแตกต่างไป เช่น จานไดรเวอร์ใช้ร่อนในระยะไกล จานมิดเรนจ์ใช้ร่อนในระยะปานกลาง พอเข้าใกล้เป้าหมาย คือตะกร้าแล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้จานพัตเตอร์ที่มีความนิ่งมากกว่า

ทุกเดือนตุลาคมที่เกาะหมากจะมีการจัดทัวร์นาเมนต์แข่งดิสกอล์ฟประจำปี เปิดกว้างทั้งระดับมืออาชีพและคนทั่วไป

ติดต่อ คุณสกล เงินศรี (พี่ป๋อม)
โทร. 08 6751 7668

สวนเกษตรอินทรีย์  เกาะหมากรีสอร์ท
เกาะหมากรีสอร์ท เป็นผู้ริเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ในที่ดินของตนเอง ตั้งใจที่จะลดการนำเข้าพืชผักจากฝั่ง เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน ปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษ อาทิ ผักสลัด พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กะเพรา กล้วย มะละกอ มะพร้าว  ฯลฯ แล้วนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ประกอบอาหารให้กับลูกค้าของรีสอร์ต หากมีเหลือก็จำหน่ายให้กับรีสอร์ตหรือร้านอาหารอื่นๆ ในราคายุติธรรม นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมากจึงได้รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ที่สด สะอาด ปราศจากสารพิษ
เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินเล่นและทำกิจกรรม  เช่น เก็บไข่ เก็บผัก ปลูกข้าว ทำอาหารจากพืชผัก เป็นต้น 

สวนมะพร้าวออแกนนิก
เกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราดมาตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันมีสวนมะพร้าวออแกนิก ไม่ใช้สารเคมี และนำมาทำเป็นน้ำมะพร้าวสกัดเย็น
กิจกรรมที่นี่ คือเรียนรู้การสอยมะพร้าว ปอกมะพร้าว และปลูกมะพร้าว จากคนท้องถิ่น