enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » การศึกษาญี่ปุ่น-อเมริกา ย้ำการทดสอบ ‘ไอคิว’ ไม่ใช่วิธีค้นหา“เด็กความสามารถพิเศษ" « previous next » Print Pages: [1] Go Down MSN on August 29, 2018, 08:48:12 PM การศึกษาญี่ปุ่น-อเมริกา ย้ำการทดสอบ ‘ไอคิว’ ไม่ใช่วิธีค้นหา “เด็กความสามารถพิเศษ”นักการศึกษาญี่ปุ่นและอเมริกา ย้ำชัด การทดสอบไอคิวไม่ใช่มาตรวัดความอัจฉริยะของเด็ก เห็นพ้อง ‘ครู’ มีบทบาทสำคัญในการสร้างและกระตุ้นการเรียนรู้ แนะ 3 ส. ‘ส่งเสริมความสามารถตามธรรมชาติ – สร้างแรงบันดาลใจ - สร้างโอกาสในการเรียนรู้’ ช่วยให้ค้นพบความฉลาดเฉพาะของเด็กๆ ได้ ก่อนเข้าสู่เส้นทาง “เด็กความสามารถพิเศษ”เมื่อเร็วๆนี้ ศาสตราจารย์จิน อะคิยาม่า รองประธานมหาวิทยาลัยโตเกียวและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บ่มเพาะเด็กอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ IQ สูง สู่การเป็นนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง” ในงาน ประชุมวิชาการนานาชาติด้านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018) จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 20 - 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศาสตราจารย์อะคิยาม่า กล่าวว่า ความสามารถพิเศษหรือพรสวรรค์ของปัจเจกบุคคลนั้นเห็นได้จากความสนใจและความหลงใหลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา ฝึกฝน และจุดประกายความกระตือรือร้นและนำพวกเขาไปสู่การเป็นนักวิจัยในที่สุด ทั้งนี้ในส่วนตัวไม่คิดว่าเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีระดับไอคิว (Intelligence Quotient: IQ) สูง หรือมีความรู้มากๆ และไม่เชื่อว่าจะสามารถค้นพบเด็กอัจฉริยะได้จากการทดสอบระดับสติปัญญา (IQ Test) หากแต่เด็กที่มีความสามารถพิเศษนั้นจะต้องมีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมาก ต้องมีความสงสัยใคร่รู้อย่างเต็มที่และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่เด็กจะเติบโตกลายมาเป็นนักวิจัยที่ยิ่งใหญ่“คะแนนสอบที่ดีนั้นไม่สำคัญสำหรับการเป็นนักวิจัย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่พวกเขามีความสนใจในบางสิ่งและสามารถที่จะครุ่นคิดถึงสิ่งนั้นได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานแรมเดือนแรมปี ดังนั้นเราจะไม่สามารถหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษได้จากการทดสอบระดับไอคิว” ทั้งนี้การเป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญนั้น ต้องมีความพยายามที่จะพิสูจน์และคิดอย่างมีตรรกะ ซึ่งความสามารถในส่วนนี้เป็นความสามารถในเชิงคณิตศาสตร์ที่ต้องไดัรับการฝึกให้ชำนาญ สำหรับการสอนนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะทำให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษกลายเป็น “นักวิจัย” ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นครูมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ครูควรจะสอนแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานหลักและสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง ซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเป็นที่ปรึกษาให้เด็กเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูจะต้องทำเป็นสิ่งแรก เพื่อจุดประกายความกระตือรือร้นของเด็กเหล่านั้นออกมาศาสตราจารย์อะกิยาม่า กล่าวเพิ่มว่า ตัวอย่างการสอนที่ศูนย์วิจัยการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวนั้น จะมีการฝึกอบรมครูโดยการให้ความรู้และการสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ครูที่มีความสามารถเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยจุดประกายความสงสัยใคร่รู้ที่มีอยู่ในตัวของเด็ก รูปแบบการสอนสามารถทำให้สนุกสนานได้ด้วยการเล่นเกม การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมไปถึงการกระตุ้นและสนับสนุนให้เด็กมีการค้นคว้าและทดลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองด้าน ศาสตราจารย์จูน เมเคอร์ นักการศึกษาแห่งแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อัจฉริยะสร้างได้ด้วยทฤษฎี Prism รังสรรค์จินตนาการบวกกับการดูแลจิตใจและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดอัจฉริยะได้”และยังได้นำเสนอทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว (The Prism Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ที่ใช้แสดงถึงความสามารถพิเศษของเด็ก เพื่อที่จะสนับสนุนและบ่มเพาะความสามารถพิเศษที่แสดงออกมานั้น ให้เติบโตไปพร้อมกัน โดย ศาสตราจารย์เมเคอร์ กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว คิดค้นโดย ศาสตราจารย์เมเคอร์ ร่วมกับนักวิจัยอีก 3 ท่าน คือ แสงสีขาวที่มาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้วแล้วให้ผลลัพธ์ของแสงออกมาเป็นหลากหลายสี ซึ่งแสงสีขาวนั้นเปรียบได้กับปัญหา หรือความสนใจ หรือความกระหายใครรู้ในการทำบางสิ่ง หรือเป็นได้ทั้งปัญหาที่ต้องการคำตอบ ต้องการทางแก้ไข เป็นได้ทั้งความหลงใหลความชอบในบางสิ่งที่มนุษย์ต้องการสร้าง หรือต้องการเปลี่ยนแปลง เมื่อแสงสีขาวมาตกกระทบกับผลึกแท่งแก้ว ซึ่งภายในนั้นเปรียบเสมือนองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ หรือสภาพแวดล้อมที่บุคคลนั้นมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง อาทิ วิธีการสอน การตั้งคำถามของครู เป็นต้น ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นแสงหลายเฉดสี ที่สะท้อนออกมาในอีกหลายด้านของผลึกแท่งแก้ว แสงสีที่สะท้อนออกมาเปรียบได้กับความสามารถทั่วไปและความสามารถเฉพาะของมนุษย์ในหลากหลายสาขาศาสตราจารย์เมเคอร์ กล่าวต่อว่า กระบวนการภายในผลึกแท่งแก้ว คือ การให้การศึกษากับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ให้โอกาสพวกเขาได้ค้นหาและตามหาสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบแนวทางสำหรับเด็กเหล่านั้นว่าควรเรียนอะไร และเรียนอย่างไร สิ่งสำคัญ 3 ประการ ที่จะพัฒนาเด็กให้มีความสามารถพิเศษ ได้แก่ ส่งเสริมความสามารถตามธรรมชาติ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ ล้วนถูกสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยพ่อแม่และครู ศาสตราจารย์เมเคอร์ กล่าวถึงทฤษฎีผลึกแท่งเแก้ว (The Prism Theory) เป็นทฤษฎีใหม่ที่ใช้แสดงถึงความสามารถพิเศษของเด็ก ว่า คนเราไม่สามารถที่จะเรียนรู้โดยปราศจากการจดจำข้อเท็จจริง ความสามารถทั่วไปทั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความจำ การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณ ความสามารถในการใช้เหตุผล และความสามารถในเชิงตรรกะ ซึ่งภายใต้ทฤษฎี Prism นี้ ความสามารถทั่วไปทั้ง 5 จะสะท้อนออกมาในความสามารถเฉพาะทาง 10 สาขา ได้แก่ สังคม อารมณ์ คณิตศาสตร์ กายและอริยบท การมองเห็นและอวกาศ การได้ยิน ภาษาศาสตร์ เทคนิคและเครื่องกล รวมถึงวิทยาศาสตร์และจิตใจ โดยมีความสามารถพื้นฐานที่เหมือนกัน เมื่ออยู่ในสาขาที่แตกต่างกันย่อมแตกต่างกัน อาทิ ความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ในสาขาสังคม กับความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ในสาขาเทคนิคและเครื่องกลย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นวิธีการสอนนั้นจำเป็นต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ข้อมูลสำคัญที่ทำให้เข้าใจ อาทิ การสอนแนวคิดของการเปลี่ยนแปลงก็สามารถประยุกต์เรื่องการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ซึ่งการสอนแบบนี้จะทำให้เด็กจดจำได้ดีกว่า และไม่เพียงแต่จดจำได้เท่านั้น ยังสามารถเชื่อมโยงกับวิธีคิดแบบผู้เชี่ยวชาญได้ด้วย“หลายคนดูเหมือนจะเชื่อว่า ผลของการทดสอบไอคิวนั้น จะเป็นมาตรวัดความอัจฉริยะของเด็กได้ แต่ความคิดส่วนตัวแล้วไม่คิดเช่นนั้น การทดสอบไอคิว เป็นเพียงมาตรวัดความรู้และประสบการณ์ของเด็กเท่านั้น” ศาสตราจารย์เมเคอร์ กล่าวทิ้งท้าย « Last Edit: August 29, 2018, 08:54:35 PM by MSN » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » การศึกษาญี่ปุ่น-อเมริกา ย้ำการทดสอบ ‘ไอคิว’ ไม่ใช่วิธีค้นหา“เด็กความสามารถพิเศษ"