enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ส่งต่อวิถีชีวิตยืนยาวแบบญี่ปุ่น ภาค 2 « previous next » Print Pages: [1] Go Down MSN on July 18, 2018, 09:43:21 PM ส่งต่อวิถีชีวิตยืนยาวแบบญี่ปุ่น ภาค 2อูมามิช่วยให้เราเจริญอาหารในวัยเกษียณ?ดังที่เราได้พูดถึงในจดหมายข่าวฉบับก่อนที่ว่า “บริษัท AjinomotoCo. จะสามารถส่งต่อวิถีชีวิตยืนยาวแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็น “สังคมผู้สูงอายุ”ได้หรือไม่?โดยประชากรกลุ่มนี้ก็เพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน1 ตั้งแต่ฝรั่งเศส ที่หนึ่งในสี่ของประชากรมีอายุมากกว่า 60 ปี2 ไปจนถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ในปี พ.ศ. 25593 โลกจึงหันไปให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุของตน ญี่ปุ่นได้เป็นผู้นำในการสร้างแนวคิด “อายุขัยที่มีสุขภาพดี” แนวความคิดนี้ค่อนข้างเรียบง่าย นั่นคือ การมีชีวิตยืนยาวอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่ามากถ้าผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีความสุข มีชีวิตชีวา ทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเลี้ยงตนเองได้ ผลที่ได้คือ ผู้คนไม่ได้มุ่งเน้นแค่เพียงการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ยังช่วยให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพดีขึ้นด้วยเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศอื่น ๆ ก็มีเป้าหมายเดียวกันนี้ การศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ในเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ได้สรุปว่า การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ช่วยให้มีอายุมากขึ้นอย่างเหมาะสมด้วย ในสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่ผู้คนจะทำงานนานขึ้น และอายุวัยเกษียณที่วางแผนไว้จะเพิ่มขึ้นเป็น 67 ปีภายในอีกไม่กี่ปีนี้ ขณะนี้ประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซียกำลังพิจารณาหาวิธีการที่จะผลิตอาหารรสชาติที่ดีสำหรับผู้สูงอายุของตน เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทั่วโลกมีแนวโน้มอยากอาหารลดลง อายุขัยที่มีสุขภาพดีทั่วโลกWHO “ข้อมูลช่วงอายุขัยที่คาดหมายและช่วงอายุขัยสุขภาพดีที่คาดหมายแยกตามประเทศ”ทำไมผู้สูงอายุได้รับสารอาหารน้อยลง?การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายประการทำให้ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากในกลุ่มอายุนี้ใช้ฟันเทียม ซึ่งโลหะที่เป็นส่วนประกอบในฟันเทียมนั้นทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนไปอีกทั้งความสามารถในการรับรสในปากและลำคอลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกัน ความสามารถในการหลั่งน้ำลายก็ลดลงด้วย นั่นทำให้การกลืนอาหารทำได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกรามและลิ้นลดลง ทำให้ยากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “กินอาหาร” ที่เราส่วนใหญ่มองข้ามไปแล้วอูมามิช่วยได้หรือไม่?แน่นอนว่า อูมามิ ซึ่งเป็นรสชาติพื้นฐานของโมโนโซเดียม กลูตาเมต (MSG) หรือผงชูรสนั้น ไม่สามารถช่วยได้ในทุกปัญหาทางร่างกายที่อาจนำไปสู่การได้รับสารอาหารที่น้อยลงในผู้สูงอายุได้ แต่จากงานวิจัยที่ดำเนินการเมื่อไม่นานมานี้พบว่า อูมามิอาจส่งผลในแง่บวกต่อบางปัญหาได้ มีหนึ่งการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 37 มีระบบรับรสที่ผิดปกติและพบว่าเกือบครึ่งของอาสาสมัครในกลุ่มผู้ที่ “สุขภาพไม่ดี” มีภาวะการรับรสบกพร่อง5นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อาสาสมัครที่มีภาวะบกพร่องทางการรับรสนั้นไม่สามารถหลั่งน้ำลายได้ในปริมาณที่เพียงพอ เท่ากับว่าความสามารถในการรับรสอาหารที่ลดลงและความยากในการกลืนอาหารที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้ความอยากอาหารลดลงได้ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่แย่ลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อสุขภาพที่ตามมาอย่างร้ายแรงการหลั่งน้ำลายมีความสำคัญมากกว่าแค่เป็นเพียงกระบวนการกลืนอาหาร เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพปาก นั่นคือ การชะล้างเอาแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ออกไป (เคยสงสัยไหมว่าทำไมกลิ่นปากของเราถึงแย่ในตอนเช้า? ทั้งนี้เนื่องจากเราหลั่งน้ำลายน้อยลงในตอนกลางคืนนั่นเอง) ยิ่งไปกว่านั้น น้ำลายในปากยังเป็นตัวเริ่มกระบวนการย่อยแป้ง (ที่ร่างกายย่อยได้) ซึ่งมีอยู่ปริมาณมากในข้าว พาสต้า มันฝรั่ง และขนมปัง4 ปัญหาที่แย่ลง เนื่องจากการอยากอาหารลดลงในผู้สูงอายุข่าวดีคือ อูมามิอาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบนี้ ก่อนอื่น จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องปรุงรสอูมามิหรือเครื่องปรุงรสอื่นใด* คือการเพิ่มความอร่อยของอาหาร แต่ยิ่งไปกว่านั้น อูมามิได้แสดงให้เห็นถึงการช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำลายที่มากกว่ารสชาติพื้นฐานอื่น ๆ แม้แต่รสเปรี้ยวเองก็ตาม*เครื่องปรุงรส หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวเพิ่มรสชาติ โดยเฉพาะ: ส่วนผสม (เช่น เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ หรือสมุนไพร) ที่เพิ่มเข้าไปในอาหารเพื่อวัตถุประสงค์หลักคือ เพิ่มรสชาติ การรับรู้กลิ่นรสและการตอบสนองด้วยการหลั่งน้ำลายSasano T, Satoh-Kuriwada S, hoji N, Iikubo M, Kawai M, UneyamaH, Sakamoto M.Curr Pharm Des. 26 กรกฎาคม 2556 [Epub ahead of print]น่าประหลาดใจที่อาสาสมัครที่มีการหลั่งน้ำลายไม่เพียงพอ เมื่อรับประทาน คอมบุ ดาชิ ซึ่งเป็นซุปสาหร่ายแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่น ที่อุดมไปด้วยรสชาติอูมามิ ทำให้อาสาสมัครเหล่านี้มีภาวะหลั่งน้ำลายกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ภายในเวลาเพียง 10 เดือน! ซึ่งนี่นำไปสู่ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นMSG และอูมามิสามารถช่วยผู้สูงอายุได้อย่างไร?• MSG ที่เป็นเครื่องปรุงรสอูมามินั้นเป็นรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุดของอูมามิ ที่ช่วยเพิ่มความอร่อยของอาหารและช่วยกระตุ้นการรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายสูงขึ้น• อูมามิช่วยในการย่อยโปรตีน เช่น โดยการควบคุมการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อย• อูมามิช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลายที่ข้นหนืด ซึ่งช่วยในการกลืนอาหารและลดอาการ “ปากแห้ง” ได้อายุมากขึ้นอย่างมีสุขภาพดีไปด้วยกันการใช้ประโยชน์ MSG และอูมามิอย่างเต็มที่นั้น Ajinomoto Co., Inc. (“บริษัท Ajinomoto”) เชื่ออย่างยิ่งว่างานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักฐานนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากมีหลักฐานเพิ่มขึ้นมากมายที่อูมามิอาจสามารถช่วยผู้สูงอายุได้ และความต้องการตอบสนองต่อการเพิ่มจำนวนประชากรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น เราจึงตั้งใจอย่างเต็มที่เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของสังคมให้มีสุขภาพที่ดีได้ เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto Co., Inc. บริษัท Ajinomoto เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุง อาหารแปรรูปเครื่องดื่มคุณภาพสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์กรดอะมิโน ยารักษาโรคและสารเคมีคุณลักษณะพิเศษ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่บริษัท Ajinomoto ได้สนับสนุนวัฒนธรรมด้านอาหารและสุขภาพมนุษย์ผ่านการใช้เทคโนโลยีกรดอะมิโนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบริษัทได้มีความเกี่ยวโยงเพิ่มขึ้นกับแนวทางเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหาร สุขภาพมนุษย์ และความยั่งยืนสากล บริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2452 และตอนนี้ดำเนินกิจการใน 35ประเทศและภูมิภาค บริษัท Ajinomoto มียอดขายสุทธิในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 1,150.2 พันล้านเยน (10,036 ดอลล่าร์สหรัฐ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto (TYO : 2802) และจดหมายข่าวฉบับก่อนหน้านี้ กรุณาไปที่ www.ajinomoto.com.อ้างอิง:1. Yoshifumi Okamura, “กระแสความเสมอภาคทางเพศและภาวะสูงวัยใน SDG” ทูตและรองผู้แทนของญี่ปุ่นสำหรับองค์การสหประชาชาติ ภารกิจถาวรของญี่ปุ่นสำหรับองค์การสหประชาชาติ 13 กรกฎาคม 2556 http://www.un.emb-japan.go.jp/jp/statements/okamura071316.html2. “การคาดหมายความเป็นไปได้เชิงประชากรตามการคาดการณ์ประชากรโลก: บททบทวนปี 2560 ”องค์การสหประชาชาติ3. องค์การสหประชาชาติ ESCAP, “ภาวะสูงวัยในเอเชียและภูมิภาคแปซิฟิก: ภาพรวม ” http://www.unescap.org/our-work/social-development4. Manjul Tiwari, “วิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังน้ำลายมนุษย์” https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3312700/5. ข้อมูลในไฟล์ Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ส่งต่อวิถีชีวิตยืนยาวแบบญี่ปุ่น ภาค 2