news on July 12, 2018, 08:24:03 AM
ข่าวประชาสัมพันธ์ - ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) และพันธมิตรเตรียมพร้อมมุ่งสู่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ในยุคการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล



วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 – ผู้บริหารระดับสูงกว่า 50 คน เข้าร่วมงานสัมมนาประจำปีครั้งแรกของซุปเปอร์แนปประเทศไทย ที่จัดขึ้นในหัวข้อ “โลกที่เชื่อมต่อแบบดิจิทัล – นวัตกรรม เทคโนโลยี และความมั่นคงปลอดภัยที่จำเป็น (Digitally Connected World- Innovative, Technology and Security Imperatives)” โดยการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจกับ ธุรกิจในส่วนไอทีได้ร่วมแบ่งปัน ข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ซุปเปอร์แนป ประเทศไทย จัดงานสัมมนาครั้งแรกเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจดิจิทัลที่ ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำ อาทิ มุนเตอร์ส ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไมโครซอฟต์ เดลล์ อีเอ็มซี และดีลอยท์ คอนซัลติ้ง ในการเข้าร่วมเป็นวิทยากรและผู้ร่วมอภิปราย “จากปริมาณการเคลื่อนย้ายข้อมูล ข้ามพรมแดนที่เติบโตขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการในด้านบิ๊กดาต้า และการให้บริการคลาวด์ ผู้นำทางด้านไอทีในปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายในการส่งมอบข้อมูลมหาศาลและสำคัญของลูกค้าโดยมีความเสี่ยงที่จะดูแลปกป้อง ความปลอดภัยของข้อมูลให้อยู่ระดับที่เหมาะสม” นางสุนิตา บ็อตเซ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซุปเปอร์แนป ประเทศไทย จำกัด กล่าว

แรงผลักดันจากหลายด้านได้กระตุ้นทั้งหน่วยงานรัฐบาลและภาคองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกให้หันมา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความทันสมัย (Data Center Modernization) มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากมุมมองในด้านเทคโนโลยี ดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันต้องสามารถรองรับและสำรองความต้องการมีขีดความสามารถในการปรับขยาย มีเทคโนโลยีสำหรับการจำลองสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลเซชัน ยืดหยุ่นในการทำงาน และที่สำคัญคือมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงการปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่ แตกต่างกัน

"ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ วิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0” และทุกภาคส่วนที่อยู่ในระบบเศรษ ฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลงสู่การเป็ นดิจิทัล  เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับก ารปกป้องข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภาย ในดาต้าเซ็นเตอร์ อีกทั้งข่าวด้านการรั่วไหลของข้ อมูลสู่สาธารณะ งานสัมมนาวันนี้จึงน่าจะเป็นประ โยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารในกา รตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ ไว้ในอันดับต้นๆ ว่าทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการการจัดการข้อมูล ระบบไอที และเทคโนโลยีต่างๆ ในด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ควรจะได้รับการจัดวางในตำแหน่งที่ เหมาะสมเพื่อป้องกันสภาพแวดล้ อมทางธุรกิจ” ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่ อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการช่วงการกล่าวเปิดงาน

ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ใหม่เกือบ 4 ล้านคนที่ออนไลน์เข้าสู่ระบบในทุก ๆ เดือนในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ และนี่หมายถึงภูมิภาคนี้จะมีผู้ใช้งานมากถึง 480 ล้านคนภายในปี 2020 โดยมีการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 700 ล้านเลขหมายในภูมิภาค เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตแบบทวีคูณนี้แล้ว ประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง “มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยบนไ ซเบอร์ควรเป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการ ขับเคลื่อนทางธุรกิจ โดยเมื่อพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ ทางด้านธุรกิจ ภัยคุกคาม และขีดความสามารถต่างๆ องค์กรธุรกิจจะสามารถประเมินการ ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ว่าควรมี การลงทุนด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ในส่วนใดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งสูงสุดให้กับความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การทนทานต่อการบุกรุก การโจมตี รวมถึงความสามารถในการคืนสภาพของระบบ (Cyber Resilience)” นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการการให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยง บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

ทั้งนี้ ไอทีและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ต่างมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมยุค 4.0 (Industry 4.0) ด้วยการช่วยทำให้เทคโนโลยีต่างๆ สามารถนำมาใช้งานและเกิดคุณค่า อย่างไรก็ตามประโยชน์จากสรรพสิ่งของอินเทอร์เน็ตหรือ ไอโอที (IoT) ที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสมดุลกับความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของระบบไอทีที่เกิดภายใต้สภาพแวดล้อมโดยรวม ดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นทรัพยากร ที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ จึงจำเป็นต้องทุ่มเทให้กับการทำงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อคุ้มครองระบบจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ในฐานะของผู้นำด้านการออกแบบ การพัฒนา และการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีเสถียรภาพสูงซุปเปอร์แนปมุ่งมั่นในการสร้างกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานที่ดี ที่สุดในอุตสาหกรรม "เราเพิ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO / IEC 27001: 2013 จาก British Standards Institution (BSI) ซึ่งถือเป็นหนึ่งสถาบันในการการ ให้คำรับรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และความสำเร็จนี้ถือเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเรา ในการให้ความรับรองด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ลูกค้าเริ่มตั้งแต่ระเบียบวิธี ปฎิบัติ การควบคุมตรวจสอบ จนถึงการปฏิบัติงานในด้านความมั่นคงปลอดภัย " นางสุนิตา กล่าวปิดท้าย
« Last Edit: July 12, 2018, 09:24:55 PM by news »