ม.วลัยลักษณ์ จับมือ บ.บลิส-เทล บ.หัวเหว่ย
ลงนามความร่วมมือก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายกิตติชัย ลือศักดิ์กชกร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) และนายหม่า เซี่ยว รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายขายโซลูชั่น บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมการพัฒนาสถาบันการศึกษาเพื่อก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลทางการศึกษาและมหาวิทยาลัยสีเขียว (University of Digital Education & Green University) โดยมีคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บริษัทบลิส-เทล จำกัด(มหาชน) บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ บริเวณ SOLUTION EXPERIENCE CENTER ชั้น 39 อาคารจี ทาวเวอร์ แกรนด์ รามา 9

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย “มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ” เน้นให้นักศึกษามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการเรียนการสอนในแบบเชิงรุก (Active Learning) และสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และ Smart University โดยในส่วนของการลงนามในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมมือกับบริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อนำเอานวัตกรรมทางการศึกษา มาใช้ประโยชน์ทางการเรียนการสอนและสร้างบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมและแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก ภายใต้ขอบเขตความร่วมมือ ประกอบด้วย การจัดให้มีโครงการถ่ายทอดความรู้และเยี่ยมชมงานทางด้านนวัตกรรมดิจิทัลทางการศึกษา การจัดทำพิมพ์เขียวระบบ ระบบโครงข่ายพื้นฐานแบบดิจิทัล ระบบข้อมูลแบบคลาวด์รองรับข้อมูลBig Data ของมหาวิทยาลัย ระบบเทคโนโลยีการสอนผ่านทางไกล ระบบห้องเรียนแบบInteractive Clound Classroom โปรแกรมเพื่อสื่อสารหลัก All in One Messaging : Learning : Communicating ระบบการจัดการพลังงานทดและพลังงานทดแทน

นอกจากนี้ยังมีการจัดให้มีการทดสอบระบบที่ออกแบบในลักษณะ Proof of Concept : POCการจัดให้มีคณะทำงานในการกำหนดกรอบในการร่วมลงทุนกับมหาวิทยาลัย โดยทั้ง 3 ฝ่าย จะมีการร่วมลงทุนในโครงการ “Digital Dentistry College” ของวิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโครงการนำร่อง

ด้านนายกิตติชัย ลือศักดิ์กชกร กล่าวว่าจากความร่วมมือดังกล่าวข้างต้น ทางบมจ.บลิส-เทล และทางบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกันสรรหานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับโลก เพื่อนำมาสนับสนุนการดำเนินงานของทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รวมทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านนวัตกรรมเครือข่ายสือสารข้อมูลด้านนวัตกรรมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน ด้านนวัตกรรมการสื่อสารภายในองค์กร และด้านนวัตกรรมทางด้านพลังงาน
โดยทางบริษัทฯ และทางบ.หัวเว่ย จะเริ่มนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าว มาใช้ในโครงการแรกกับทางวิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็น วิทยาลัยทันตแพทย์ดิจิตอล: Digital Dentistry College แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นวิทยาลัย ทันตแพทย์ศาสตร์นานาชาติ อันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซี่ยน

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศแบบคลาวด์(Digital Density Cloud Service) ของวิทยาลัยทันตแพทย์ ศาสตร์นานาชาติ จะออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศแบบคลาวด์ (Cloud WAN) รวมทั้งเชื่อมต่อกับระบบ Digital Library และ Digital Education Platform ของมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการใช้งานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2 ที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และรองรับการใช้งานด้านการค้นคว้าและวิจัย กรณีศึกษาของอาจารย์ทันตแพทย์ศาสตร์ ซึ่งในอนาคตทางวิทยาลัยฯ จะใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล ทางทันตแพทย์และการรักษา (Dental Patient Bank)และต่อยอดไปสู่การพัฒนาเครือข่ายคลีนิคทันตกรรม (Satellite Dental Clinic) ให้เข้ามาใช้บริการระบบบริหารจัดการทางด้านทันตกรรมที่จะพัฒนาขึ้นต่อไป