sianbun on January 17, 2010, 10:28:26 AM
“ฮอนด้า” จัดประกวดรอบชิงชนะเลิศ โครงการ “Honda Green Bin Design Contest”

โครงการความรับผิดชอบเพื่อสังคม ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ออกแบบถังขยะ แบบ Eco Design
เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานชิงเงินรางวัลรวม 2 แสนบาท

เซ็นทรัล เวิลด์ (15 มกราคม 2553) – วันนี้ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประกวดรอบชิงชนะเลิศ โครงการ “ฮอนด้า กรีน บิน ดีไซน์ คอนเทสต์ (Honda Green Bin Design Contest)” โดยมีผู้ที่สนใจ อาทิ นิสิต นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปร่วมส่งผลงานสร้างสรรค์การออกแบบถังขยะตามแนวคิด Eco Design ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรณรงค์การจัดการคัดแยกขยะ และวัสดุเหลือใช้ได้อย่างถูกต้องเข้ามาจำนวนมากมายหลายร้อยผลงาน โดยได้ผ่านการตัดสินจากรอบคัดเลือกต่าง ๆ มาจนถึง 10 ผลงานสุดท้ายในรอบชิงชนะเลิศนี้

คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่เราดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ฮอนด้าได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ อาทิ กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย  กิจกรรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมทักษะด้านช่าง กิจกรรมมอเตอร์ สปอร์ต และกิจกรรมกีฬาระดับโลก  สำหรับโครงการฮอนด้า กรีน บิน ดีไซน์ คอนเทสต์ นี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ‘ฮอนด้า  กรีนเวย์’ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมร่วมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อโลกที่ไร้ขยะ”

โครงการ “ฮอนด้า กรีน บิน ดีไซน์ คอนเทสต์” เป็นการประกวดผลงานการออกแบบถังขยะแนวคิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการคัดแยกขยะหลากหลายประเภท เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว เศษวัสดุอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการนำขยะแปรรูปเป็นสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ได้ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามอย่างมีศิลปะ สามารถผลิตและใช้งานได้จริงในที่อยู่อาศัยทั่วไป ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวด และรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลรวม 2 แสนบาท พร้อมใบประกาศนียบัตร นักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม   สำหรับเกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากแนวความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ ความสวยงาม และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลงานที่ผ่านด่านมาถึงรอบชิงชนะเลิศทั้ง 10 ผลงานนี้ เป็นผลงานที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบ หรือเคยส่งประกวด หรือรับรางวัลจากที่ใดมาก่อนทั้งสิ้น  พร้อมทั้งได้รับการผลิตผลงานจริง เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการในรอบตัดสินนี้อีกด้วย

เกี่ยวกับบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิต และส่งออกรถยนต์นั่งอันดับสองของประเทศ เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ฮอนด้าร่วมเป็นหนึ่งในส่งคมไทยผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ‘ฮอนด้า กรีนเวย์’ เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ จ.ชลบุรี โครงการ ‘โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ’ แคมเปญรณรงค์ ‘วิธีขับขี่รถยนต์อย่างประหยัดน้ำมัน’ กิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่ และโครงการ ‘Bon Voyage ยิ่งมีสติ.. ยิ่งปลอดภัย’ ที่รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ขับขี่อย่างถูกต้อง มีสติและปลอดภัย     รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมกีฬาระดับโลกเช่น การแข่งขันฮอนด้า กอล์ฟ แอลพีจีเอ กิจกรรมการศึกษาโดยก่อตั้งศูนย์การศึกษาด้านเทคนิคของฮอนด้าที่วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม

sianbun on January 17, 2010, 10:29:00 AM
โครงการ  Honda Green Bin Design Contest

กำหนดการ
วันที่ 10 กันยายน 2552             งานเปิดตัวโครงการ
วันที่ 10 กันยายน - 31 ตุลาคม 2552       ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผลงาน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2552          ประกาศผล 50 ผลงาน ที่ผ่านเข้ารอบสอง
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552         นำเสนอผลงานและทำเวิร์กชอป
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552          ประกาศผล 10 ผลงาน ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
วันที่ 25 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2552      ระยะเวลาผลิตชิ้นงานสำหรับ 10 ทีม
วันที่ 15 มกราคม 2553             วันตัดสิน และมอบรางวัล

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประกวด
1. ผู้สมัครจะต้องมีอายุระหว่าง 15-35 ปี มีสัญชาติไทย และ อาศัยอยู่ในประเทศไทย
   2. ไม่จำกัดเพศ อายุ และระดับการศึกษา
   3. ผู้สมัครสามารถส่งผลงานการประกวดประเภทบุคคล หรือประเภททีม (ทีมละไม่เกิน 3 คน)
   4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลใดๆ มาก่อน

กติกาการประกวด

1.ออกแบบถังขยะ เพื่อใช้ภายในบ้านหรือภายในองค์กร เน้นประโยชน์ใช้สอยในการแยกขยะ โดยผลงานที่ออกแบบ จะต้องมีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.ผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่ลอกเลียนแบบ เคยส่งประกวดหรือรับรางวัลจากที่ใดมาก่อน และเจ้าของผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในรอบสุดท้ายต้องผลิตผลงานจริงเพื่อนำมาจัดแสดงในรอบตัดสิน
3.ผู้เข้าประกวดจะต้องส่งผลงาน พร้อมเอกสารประกอบการสมัครให้ครบภายในระยะเวลาที่กำหนดและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดได้ตลอดระยะเวลาการประกวด
4.ผลงานที่ผ่านเข้ารอบที่สองจำนวน 50 ผลงาน จะได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร a day



5.ผลงานสุดท้ายที่ได้รับการผลิตจริงจำนวน 10 ผลงาน ถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด
6.ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกรางวัลจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 5%
7.ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก
1. ความคิดสร้างสรรค์ และแนวคิดในการออกแบบ
   2. ความเป็นไปได้ในการผลิตและนำไปใช้ได้จริง
   3. มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รางวัล
    รางวัลชนะเลิศ เงินสด 100,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ 
   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินสด 50,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินสด 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
   รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

sianbun on January 17, 2010, 10:29:58 AM
พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของฮอนด้า
   
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์นั่งอันดับสองของประเทศ เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ฮอนด้าร่วมเป็นหนึ่งในส่งคมไทยผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ‘ฮอนด้า กรีนเวย์’ เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ จ.ชลบุรี โครงการ ‘โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ’  โครงการ Miracle Green หรือต้นไม้มหัศจรรย์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร แคมเปญรณรงค์ ‘วิธีขับขี่รถยนต์อย่างประหยัดน้ำมัน’ กิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่ และโครงการ ‘Bon Voyage ยิ่งมีสติ.. ยิ่งปลอดภัย’ ที่รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ขับขี่อย่างถูกต้อง มีสติและปลอดภัย  รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมกีฬาระดับโลกเช่น การแข่งขันฮอนด้า กอล์ฟ แอลพีจีเอ กิจกรรมการศึกษาโดยก่อตั้งศูนย์การศึกษาด้านเทคนิคของฮอนด้าที่วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม และกิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่

โครงการฮอนด้า กรีนบิน ดีไซน์ คอนเทสต์ (Honda Green Bin Design Contest) เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ‘ฮอนด้า กรีนเวย์’ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมร่วมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อโลกที่ไร้ขยะ โดยการประกวดผลงานการออกแบบถังขยะแนวคิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการคัดแยกขยะหลากหลายประเภท เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว เศษวัสดุอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการนำขยะแปรรูปเป็นสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ได้ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามอย่างมีศิลปะ สามารถผลิตและใช้งานได้จริงในที่อยู่อาศัย เจ้าของผลงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้เข้าร่วมเวิร์กชอปการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมกับดีไซน์เนอร์ชื่อดัง ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลรวม 2 แสนบาท พร้อมใบประกาศนียบัตรนักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

และนี่คือ 10 ผลงานออกแบบถังขยะที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ไปดูกันว่าถังขยะใบเล็กๆ ทั้ง 10 ใบ มีที่มาของไอเดียอย่างไรและช่วยโลกได้มากน้อยแค่ไหน บางทีคุณอาจพบว่าเพียงแค่เราลงมือทำจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นั้นมีพลังเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้อย่างมหาศาล

sianbun on January 17, 2010, 10:30:23 AM
10 ผลงานสุดท้าย Honda Green Bin Design Contest


H4 : ชื่อ  นาย ณัฐ นามโสวรรณ์
ชื่อผลงาน : ReCycle Hoop
แนวความคิด : ข้าพเจ้ามีความคิดว่า บางทีถังขยะรีไซเคิลทั่วๆไปมีความน่าสนใจ หรือมีจุดเรียกร้องความสนใจน้อยเกินไป ทำให้บางคนไม่ทันสังเกตว่า ถังขยะนั้นรับเฉพาะขยะประเภทใด และไม่รับขยะประเภทใดบ้าง จึงเน้นแนวความคิดไปที่ ทำอย่างไรจึงจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้อย่างมีประสิทภาพว่า ถังขยะนี้ รับเฉพาะขยะประเภทนี้   ผลิตภัณฑ์ ถังขยะ ReCycle Hoop นี้ จุดสำคัญอยู่ที่ห่วง และแป้น ห่วงแสดงถึงการทิ้งให้ลงตรงจุด ทิ้งให้ถูกที่ ส่วนแป้นด้านหลังช่วยอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ว่าถังขยะนี้ รองรับขยะประเภทใดบ้าง ในการดีไซน์ จะเน้นการเป็นจุดสนใจ โดยรูปแบบจะคล้ายแป้นบาสเก็ตบอล ซึ่งมองเห็นเด่นชัด เข้าใจง่ายทั้งยังปรับไปวางตามจุดต่างๆโดย ติดตั้งได้ทั้งแบบมีขาตั้งและแขวนผนัง  เหมาะกับการใช้เป็นถังขยะภายในบ้าน หรือ ภายในสำนักงาน
วัสดุที่ใช้ : พลาสติกขึ้นรูป
ขนาด : 42 x 60 x 40 cm จำนวน 2 ชิ้น


H5 : ปวิมล  สามเสน , ณัฐณิชาช์ เต็มศิริวัฒน์ ,
นิรวิทธ์  ยนตรรักษ์
ชื่อผลงาน : Bin-To Pin-To
แนวความคิด : ปิ่นโตเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคน เป็นภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราจึงนำลักษณะการใช้งานของปิ่นโตในการแบ่งชนิดของอาหารเป็นชั้นซ้อนกันตามแนวตั้งมาประยุกต์เพื่อใช้ในการแยกประเภทของขยะตามแนวตั้งเพื่อประหยัดพื้นที่ มีความสวยงาม น่าใช้สอย
วัสดุที่ใช้ : พลาสวู้ด
ขนาด : 105 x 25 x 25 เซนติเมตร





H11 :  ศรัณพร กาลิก , เจษฎา อินทรภักดิ์
ชื่อผลงาน : FLOW
แนวความคิด : เนื่องจากแต่ละสถานที่มีประเภทและปริมาณของขยะที่แตกต่างกัน เช่น โรงพยาบาล,โรงอาหาร,office ต่างๆ,โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นถังบ้าง หรือทิ้งขยะผิดประเภทลงในถังที่ว่างอยู่บ้าง ดังนั้นจึงออกแบบให้ถังขยะแต่ละประเภทมีขนาดที่แตกต่างกันและยังสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมถังขยะแต่ละประเภทได้ โดยการวางต่อกันได้เป็น pattern นั่นคือ สถานที่ไหนเน้นขยะอะไรก็นำถังขยะประเภทนั้นมาวางเพิ่มต่อได้ โดยเริ่มต้นจะมี 1set คือ ถังสีเหลือง(ขยะแห้ง),ถังสีเขียว(ขยะเปียก),และถังสีแดง(ขยะอันตราย)  ซึ่ง“FLOW”มีรูปแบบที่มี Inspiration มาจากเส้นสันบนผิวน้ำ ยามถูกแสงแดดกระทบซึ่งมีความลื่นไหลไม่คงที่และไม่หยุดนิ่งทำให้รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติและความสดชื่น เหมาะที่จะใช้กับสถานที่ที่เป็นหน่วยงาน, องค์กรต่างๆ ที่มีคนเป็นจำนวนมากได้
วัสดุที่ใช้ : แบ่งออกเป็น2ส่วนหลักๆ นั่นคือ
1.ส่วนที่เป็นถังในและฝาปิด  วัสดุที่ใช้จะเป็น พลาสติก เพราะ เป็นส่วนที่ต้องเจอกับขยะที่หลากหลายจึงจำเป็นต้องเป็นวัสดุที่ทนทานต่อขยะที่หลากหลายประเภทได้
2.ส่วนที่เป็นถังนอก วัสดุที่ใช้สามารถเป็นได้หลายอย่าง เช่น พลาสติก, กระดาษ, แผ่นอะลูมิเนียม หรือไม้ เป็นต้น
ขนาด: เป็นขนาดรวมของ 1 set (มี 3 ถัง คือ ถังสีเหลือง, สีเขียว, สีแดง)  คือ (กว้างxยาวxสูง)
51.7 ซม.x82.2ซม.x60ซม.


H15 : ณฐพงศ์  เนื่องจากอวน 
ชื่อผลงาน : Circle Green Bin
แนวความคิด :   จากแรงบันดาลใจของสัญลักษณ์ Recycle ที่เป็นลูกศร  หมุนวนเป็นวงล้อสื่อถึงการนำกลับมาใช้ใหม่  ตัวถังออกแบบให้มีลักษณะโปร่งเพื่อความสะดวกต่อการทำความสะอาด  การใช้งานสามารถใส่ถุงพลาสติกลองภายในหรือไม่ใส่ก็ได้   ในหนึ่งชุดนั้นจะประกอบไปด้วยถังทั้งหมด 5ใบโดยแต่ละใบจะมีสีเป็นตัวแยกประเภทของขยะตามหลักสากลคือ    สีเขียว=ขยะเปียก,สีเหลือง=ขยะแห้ง ,สีแดง=ขยะอันตราย ,สีฟ้า=ขยะที่มีมูลค่า    และที่เพิ่มขึ้นมาอีกคือถังขยะสีดำ ไว้สำหรับแยกกระดาษที่ผ่านการใช้งานครบทั้งสองหน้าแล้วเพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้พิการทางสายตาใช้เขียนอักษร เบล ได้อีกกับโครงการกระดาษหน้าที่สาม   
วัสดุที่ใช้ : ผลิตจาก Eco plasticที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้งานสามารถนำมาวางเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือวางแยกจากกันได้ตามความเหมาะสมของการใช้งานและสถานที่   ขนาด : 30x30 cm
H25 :  เอกภูมิ  เกียรติผดุงกุล
ชื่อผลงาน : START
แนวความคิด : เนื่องจากปัจจุบันเรื่อง eco social เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรามากขึ้น  คนส่วนใหญ่เริ่มรับรู้แต่ยังไม่ร่วมมือกันอย่างแท้จริง ดังนั้นชุดแยกขยะนี้จึงเป็นจุดเริ่ม (START) ให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมส่วนตัว ในการแยกขยะ โดยออกแบบเป็นขนาดเล็ก ติดตั้งและใช้งานได้ง่าย ส่วนที่ใช้บรรจุขยะ ใช้ถุงพลาสติกที่ได้รับจากการซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ มักจะมีขนาดเล็ก (6 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว) ซึ่งเป็นจำนวนที่มีปริมาณมากและไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำโดยชุดแยกขยะนี้ สามารถแยกขยะได้ สามประเภท คือ กระดาษ พลาสติก และเศษอาหาร ตามของที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ
วัสดุที่ใช้ : ยางเส้น และ แผ่นสเตนเลสพับขึ้นรูป


H28 : วุฒิชัย  ลีลาวรวงศ์
ชื่อผลงาน : ECO_box
แนวความคิด : เพื่อตอบโจทย์ของการออกแบบถังขยะให้สามารถใช้ในการแยกประเภทของขยะและดูสวยงามพร้อมทั้งช่วยสร้างพื้นที่สีเขียวขึ้นภายในบ้าน ECO_BOX พร้อมที่จะนำไปตั้งในตำแหน่งไหนในบ้านก็ได้ โดยการเปิด-ปิดให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เมื่อเปิดผู้ใช้จะสามารถเห็นถึงขยะแยกประเภทกันอย่างชัดเจนตามกราฟฟิกที่อยู่ด้านหน้า
วัสดุที่ใช้ : ไม้, โลหะ
ขนาด: กว้าง 35 ซม. ยาว 35 ซม. สูง 80 ซม.


H29 :  วรวิทย์  หาทวี
ชื่อผลงาน : Anti Ant
แนวความคิด :  1. เมื่อมองเข้าไปในครัว ก็เจอถุงพลาสติกที่ได้จากการจับจ่ายซื้อของ ที่แม่เก็บไว้เป็นจำนวนมาก นอกจากไว้ใช้ใส่สิ่งของแล้ว แม่ยังชอบนำมาใช่ขยะแทนถุงดำ บางทีจะเจอถุงขยะพลาสติกห้อยตามจุดต่างๆทั่วบ้านรอทิ้งตอนเย็น ดูแล้วไม่งามตา แต่ก็เป็นการ Reuse ที่ดี
2. แม่ชอบบ่นว่ามดขึ้นถังขยะ แล้วใช้ให้ผมไปซื้อยา มาฉีดเป็นประจำ พอหลังๆผมเห็นว่าไม่ใช่ทางแก้ที่ดีแน่ เลยนำถังขยะมาตั้งบนถาดแล้วใส่น้ำ กันมดเจ้าปัญหาที่จะมาขึ้นถังขยะ เท่านี้ผมก็ไม่ต้องเสียเงินซื้อยาฆ่าแมลง แถมยังช่วยให้โลกปลอดสารเคมีที่เป็นอันตราย ได้อีก 1 ครอบครัว





3. ปัญหาเกิดจากสิ่งรอบตัว  ผมคิดว่าทุกครอบครัวจะประสบเหมือนผม  ดังนั้น ปัญหาก็ควรจะแก้จากจุดใกล้ตัว   รูปทรงของถังขยะ Anti ant ได้แรงบันดาลใจจากหัวของมด  ตัดทอนรูปทรงให้ง่ายขึ้นและ
สอดแทรก ทุกจุดให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอย เช่น ตา ช่วยในการยกเคลื่อนย้าย   ส่วนของหนวด ก็เซาะทั้ง 2 ด้านสำหรับแขวนหูถุงที่ใช้แล้ว และปาก ก็ทำเว้าเข้าไปสำหรับใส่น้ำป้องกันมด
วัสดุที่ใช้ : โพลิโพรพิลีน (PP) :  เป็นพลาสติกที่แข็ง เหนียวทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมี ความร้อน และน้ำมัน ทำให้มีสีสันสวยงามได้ ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่นถุง กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า หรือกระบอกสำหรับใส่น้ำแช่เย็น   สามารถสร้างชิ้นงานสีใสได้สวยงาม และผลิตง่าย  PP  สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้
ขนาด :  36x80x46 cm. 


H34 : จิตรเลขา รามพงษา , นุชนาถ  เชื้ออินต๊ะ
ชื่อผลงาน : Box bin
แนวความคิด: ประหยัด 1. พื้นที่ (Compact 1 Unit )
2.วัสดุ กระดาษอัดรีไซเคิล(กรีนบอร์ด)
3.รูปทรงของขยะเป็นตัว กำหนดให้คนต้องแยกขยะตามประเภทนั้นๆโดยจะเอารูปทรงขยะมาเจาะเป็นช่องเปิด โดย แก้ว,ขวดน้ำ = ช่องกลม ,กระดาษ = ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อให้คนต้องทิ้งกระดาษเป็นแผ่นเพื่อสะดวกต่อการนำกระดาษกลับไปใช้ใหม่ , ขยะอื่น = ช่องสี่เหลี่ยม จัตุรัส เพื่อสะดวกในการทิ้งขยะประเภทอื่นๆ
วัสดุที่ใช้ :  กระดาษอัดรีไซเคิล(กรีนบอร์ด)
ขนาด : 60x60x80 Cm.

H35 : น.ส.ขวัญฤทัย  วงศ์รัตนกาญจน์,
น.ส.ณัฐมาน ธเนศนิตย์, น.ส.วันวิสาข์  ศรีพินิจ
ชื่อผลงาน : CACTUSI-MO
แนวความคิด : จากปัญหาการทิ้งขยะพบว่า คนส่วนมากมักทิ้งขยะผิดประเภท เนื่องจากขยะบางอย่างมีน้ำปะปนอยู่ บางคนก็จะทิ้งลงถังขยะเปียกไปเลย ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการนำไป Recycle ต่อ และถูก



กำจัดอย่างผิดวิธีเราจึงมีแนวคิดที่จะออกแบบ ”ถังขยะที่สามารถแยกของเหลวก่อนทิ้งได้” ด้วยวัสดุ PLA พลาสติกสังเคราะห์จากเส้นใยข้าวโพด การใช้งานคือน้ำที่กินเหลือจะเทในช่องทิ้งน้ำ ส่วนขยะแห้งจึงเลือกทิ้งในช่อง พลาสติก แก้ว กระดาษ หรืออลูมิเนียม สำหรับน้ำที่กินเหลือจะถูกกรองก่อนที่จำนำไปใช้ต่อ เช่น รดน้ำต้นไม้ หรือถ้าจะปล่อยออกสู่ธรรมชาติก็มั่นใจได้ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับกระถางต้นไม้เล็กๆก็ได้รับน้ำที่กรองแล้วเช่นกัน เป็นการสร้างบรรยากาศให้ถังขยะน่าใช้งานมากขึ้น และเป็นการแฝงแนวคิดว่าการแยกขยะอย่างถูกต้อง จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้
วัสดุที่ใช้ :  PLA พลาสติกสังเคราะห์จากเส้นใยข้าวโพด
ขนาด : 67x73x86 Cm.





H48 : เมธา ศีตะจิตต์
ชื่อผลงาน : ECO-TIE
แนวความคิด : ECO-TIE ถังขยะที่ช่วยให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยแถบสีที่แตกต่างกันบ่งบอกถึงประเภทของขยะแต่ละชนิด ทำให้ขั้นตอนในการคัดแยกจากผู้ใช้ ไปสู่พนักงานเก็บขยะ และ/หรือคนรับซื้อของเก่ารวดเร็ว เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนถึงโรงงานที่มีการ Recycleวัสดุต่างๆ และการกำจัดขยะบางประเภทเป็นไปได้จริง
   มันสำปะหลังแปรรูปเป็นวัตถุดิบชีวภาพ เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการทำ ECO-TIE ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
   ด้วยชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก ทำให้ใช้ทรัพยากรน้อย และใช้การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการปั๊ม จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ส่งผลให้ราคาขายไม่แพงมาก คนในหลายกลุ่มสามารถซื้อใช้ได้ก็จะทำให้วงจรในการคัดแยกขยะสมบูรณ์ และเป็นไปได้จริง
วัสดุที่ใช้ : มันสำปะหลังแปรรูป
ขนาด : W4 x L70 cm. Thickness 2mm.

sianbun on January 19, 2010, 04:08:13 PM
ฮอนด้าประกาศผลโครงการ Honda Green Bin Design Contest



บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศผลผลงานชนะเลิศการประกวดออกแบบถังขยะแบบ Eco Design ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในโครงการ “ฮอนด้า กรีน บิน ดีไซน์ คอนเทสต์ (Honda Green Bin Design Contest)”  ได้แก่ คุณเอกภูมิ         เกียรติผดุงกุล   เจ้าของผลงานชนะเลิศ ภายใต้ชื่อ START    พร้อมเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจร่วมชมผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10  ผลงาน ซึ่งจะจัดแสดงไว้ ณ บริเวณ เซ็นทรัล เวิล์ด ในวันเสาร์ที่ 16 และวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม นี้

คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศในการประกวดผลงานการออกแบบถังขยะแนวคิดใหม่ครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาผลิตใช้ได้จริง เรายังประสบความสำเร็จในการเชิญชวนนิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปให้เข้าร่วมส่งผลงานกว่า 300 ผลงานจากทั่วประเทศ ซึ่งผมรู้สึกยินดีที่ฮอนด้าได้จุดประกายให้คนรุ่นใหม่มีความห่วงใยในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวเรา อย่างเช่นการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องตลอดจนเพิ่มโอกาสในการนำขยะแปรรูปเป็นสิ่งของกลับมาใช้ใหม่”

คุณเอกภูมิ  เกียรติผดุงกุล   เจ้าของผลงานชนะเลิศ ภายใต้ชื่อ START กล่าวถึงแรงบันดาลใจ และแนวคิดในการออกแบบถังขยะ ว่า “กรีน ดีไซน์ หรือโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะประสบความสำเร็จได้ เราต้องเข้าใจวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาของโครงการนั้นจริงๆ  ซึ่งเมื่อทางฮอนด้าได้จัดโครงการ ฮอนด้า กรีน บิน ดีไซน์ คอนเทสต์นี้ ผมจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราสามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้โดยการประยุกต์ของเหลือใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดและใกล้กับสถานการณ์จริงที่สุด เช่น ถุงพลาสติกจากร้านสะดวกซื้อต่างๆ โดยเฉพาะถุงขนาดเล็ก มักคิดไม่มีประโยชน์ที่จะนำไปใช้ต่อ ก็จะทิ้ง ทำให้เกิดขยะมากขึ้น การออกแบบของผมจึงนำโจทย์ของนี้ มาพัฒนาการนำมาขยะมาสร้างคุณค่าต่อ ”
 
 
ผลงานชนะเลิศ : คุณเอกภูมิ  เกียรติผดุงกุล
ชื่อผลงาน : START

ได้รับรางวัลเงินสด 100,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ 

แนวความคิด : เนื่องจากปัจจุบันเรื่อง eco social เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรามากขึ้น  คนส่วนใหญ่เริ่มรับรู้แต่ยังไม่ร่วมมือกันอย่างแท้จริง ดังนั้นชุดแยกขยะนี้จึงเป็นจุดเริ่ม (START) ให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมส่วนตัว ในการแยกขยะ โดยออกแบบเป็นขนาดเล็ก ติดตั้งและใช้งานได้ง่าย ส่วนที่ใช้บรรจุขยะ ใช้ถุงพลาสติกที่ได้รับจากการซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ มักจะมีขนาดเล็ก (6 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว) ซึ่งเป็นจำนวนที่มีปริมาณมากและไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำโดยชุดแยกขยะนี้ สามารถแยกขยะได้ สามประเภท คือ กระดาษ พลาสติก และเศษอาหาร ตามของที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ

วัสดุที่ใช้ : ยางเส้น และ แผ่นสเตนเลสพับขึ้นรูป
 

ผลงานรองชนะเลิศอันดับที่ 1: คุณศรัณพร กาลิก, คุณเจษฎา อินทรภักดิ์

ชื่อผลงาน : FLOW

ได้รับรางวัลเงินสด 50,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

แนวความคิด : เนื่องจากแต่ละสถานที่มีประเภทและปริมาณของขยะที่แตกต่างกัน เช่น โรงพยาบาล,โรงอาหาร,office ต่างๆ,โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นถังบ้าง หรือทิ้งขยะผิดประเภทลงในถังที่ว่างอยู่บ้าง ดังนั้นจึงออกแบบให้ถังขยะแต่ละประเภทมีขนาดที่แตกต่างกันและยังสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมถังขยะแต่ละประเภทได้ โดยการวางต่อกันได้เป็น pattern นั่นคือ สถานที่ไหนเน้นขยะอะไรก็นำถังขยะประเภทนั้นมาวางเพิ่มต่อได้ โดยเริ่มต้นจะมี 1set คือ ถังสีเหลือง(ขยะแห้ง),ถังสีเขียว(ขยะเปียก),และถังสีแดง(ขยะอันตราย)  ซึ่ง “FLOW” มีรูปแบบที่มี Inspiration มาจากเส้นสันบนผิวน้ำ ยามถูกแสงแดดกระทบซึ่งมีความลื่นไหลไม่คงที่และไม่หยุดนิ่งทำให้รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติและความสดชื่น เหมาะที่จะใช้กับสถานที่ที่เป็นหน่วยงาน, องค์กรต่างๆ ที่มีคนเป็นจำนวนมากได้

วัสดุที่ใช้ : แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ นั่นคือ

1.ส่วนที่เป็นถังในและฝาปิด  วัสดุที่ใช้จะเป็นพลาสติก เพราะเป็นส่วนที่ต้องเจอกับขยะที่หลากหลายจึงจำเป็นต้องเป็นวัสดุที่ทนทานต่อขยะที่หลากหลายประเภทได้

2.ส่วนที่เป็นถังนอก วัสดุที่ใช้สามารถเป็นได้หลายอย่าง เช่น พลาสติก, กระดาษ, แผ่นอะลูมิเนียม หรือไม้ เป็นต้น

ขนาด: เป็นขนาดรวมของ 1 set (มี 3 ถัง คือ ถังสีเหลือง, สีเขียว, สีแดง)  คือ (กว้างxยาวxสูง)

51.7 ซม.x82.2ซม.x60ซม.


 
ผลงานรองชนะเลิศอันดับที่ 2 : คุณเมธา  ศีตะจิตต์
ชื่อผลงาน : ECO-TIE

ได้รับรางวัลเงินสด 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

แนวความคิด : ECO-TIE ถังขยะที่ช่วยให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยแถบสีที่แตกต่างกันบ่งบอกถึงประเภทของขยะแต่ละชนิด ทำให้ขั้นตอนในการคัดแยกจากผู้ใช้ ไปสู่พนักงานเก็บขยะ หรือคนรับซื้อของเก่ารวดเร็ว เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนถึงโรงงานที่มีการ Recycle วัสดุต่างๆ และการกำจัดขยะบางประเภทเป็นไปได้จริง   มันสำปะหลังแปรรูปเป็นวัตถุดิบชีวภาพ เป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการทำ ECO-TIE ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  ด้วยชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก ทำให้ใช้ทรัพยากรน้อย และใช้การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการปั๊ม จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ  ส่งผลให้ราคาขายไม่แพงมาก คนในหลายกลุ่มสามารถซื้อใช้ได้ก็จะทำให้วงจรในการคัดแยกขยะสมบูรณ์ และเป็นไปได้จริง

วัสดุที่ใช้ : มันสำปะหลังแปรรูป

ขนาด : W4 x L70 cm. Thickness 2mm.


 
เกี่ยวกับบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์นั่งอันดับสองของประเทศ เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ฮอนด้าร่วมเป็นหนึ่งในสังคมไทยผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ‘ฮอนด้า กรีนเวย์’ เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ จ.ชลบุรี โครงการ ‘โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ’  โครงการ Miracle Green หรือต้นไม้มหัศจรรย์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร แคมเปญรณรงค์ ‘วิธีขับขี่รถยนต์อย่างประหยัดน้ำมัน’ กิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่ และโครงการ ‘Bon Voyage ยิ่งมีสติ.. ยิ่งปลอดภัย’ ที่รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ขับขี่อย่างถูกต้อง มีสติและปลอดภัย  รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมกีฬาระดับโลกเช่น การแข่งขันฮอนด้า กอล์ฟ แอลพีจีเอ กิจกรรมการศึกษาโดยก่อตั้ง    ศูนย์การศึกษาด้านเทคนิคของฮอนด้าที่วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม และกิจกรรมอบรมการขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่
« Last Edit: January 27, 2010, 03:55:22 PM by sianbun »