มาสเตอร์การ์ดชู สมาร์ท ซิตี้ ในงานฟินเทคแฟร์ 2018
ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
มุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่ทุกระบบและทุกคนเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ
บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา)- นางสาวณัชสิชา วรพฤกษ์พิสุทธิ์ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายการพัฒนาตลาด มาสเตอร์การ์ด
นายโดนัล ออง ผู้จัดการประจำประเทศไทยแลเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด นายเบนจามิน กิลบี รองประธานอาวุโส ด้านการชำระเงินดิจิทัลและห้องแล็บทางการเงิน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด มาสเตอร์การ์ด (ประเทศไทย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงินระดับโลก ร่วมจัดแสดงบูธภายในงาน บางกอก ฟินเทค แฟร์ 2018 (Bangkok Fin Tech Fair 2018) งานแสดงเทคโนโลยีด้านการเงินที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในบูธมาสเตอร์การ์ด “มาสเตอร์การ์ด สมาร์ท ซิตี้” นำเสนอคอนเซปของเมืองที่มีระบบเชื่อมต่อถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพและทุกคนได้รับประโยชน์จากระบบต่างๆ เหล่านั้น โดยสมาร์ท ซิตี้ ถือเป็นการจัดการเมืองในยุคที่กำลังจะมาถึง
ทั้งนี้ มาสเตอร์การ์ดคาดว่า เมืองส่วนใหญ่ทั่วโลกจะขยายตัวเป็นมหานคร จากการที่ผู้คนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในเขตเมืองมากยิ่งขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 54 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการสาธารณูปโภคและความเป็นอยู่ของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในประเทศไทย มาสเตอร์การ์ดเห็นว่า สมาร์ท ซิตี้ สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ของรัฐบาลซึ่งมุ่งขับเคลื่อนประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไร้เงินสดมร. เบนจามิน กิลบี รองประธานอาวุโส ด้านการชำระเงินดิจิทัลและห้องแล็บทางการเงิน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด ซึ่งเข้าร่วมการสัมนากับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารต่างๆและผู้บริหารด้านเทคโนโลยีทางการเงินอื่นๆ ในงานบางกอก ฟินเทค แฟร์ 2018 ในหัวข้อ The Importance of Common Standard and Interoperability to make cities connected กล่าวว่า “การวางมาตรฐานกลางร่วมกันจะเป็นกุญแจสำคัญของการเป็นสมาร์ท ซิตี้ เช่น กรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของไทยสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล”มร. โดนัลด์ ออง ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด ให้ความเห็นว่า “ขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน จึงจำเป็นจะต้องมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดระบบการเงินที่พัฒนายิ่งขึ้น สมาร์ท ซิตี้ จึงเป็นก้าวต่อไปในความร่วมมือที่มาสเตอร์การ์ดพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุน โดยที่ผ่านมา มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมมือกับเมืองต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัย รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนให้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนในเมือง ช่วยให้เมืองสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการและมีข้อมูลที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการและความจำเป็นของผู้อยู่อาศัยในเมืองและผู้ที่มาเยือนได้ดีขึ้น” “ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงความสำเร็จของนโยบายต่างๆ ของรัฐ ในความพยายามวางโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ การเปิดตัว “พร้อมเพย์” (PromptPay) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้แล้วถึง 39.3 ล้านราย1 โดยผ่านบัตรประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมองหาเทคโนโลยีและความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อให้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงิน เศรษฐกิจดิจิทัลรวมทั้งสังคมไร้เงินสดครอบคลุมคนในวงกว้างขึ้น ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทย” มร.โดนัลด์ กล่าว
มาสเตอร์การ์ดทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจในเมืองต่างๆ กว่า 100 เมือง ทั่วโลกเพื่อพัฒนาเป็น “สมาร์ทซิตี้” โดยความร่วมมือที่มีขึ้นในเมืองต่างๆ อาทิ สิงคโปร์ ซิดนีย์ ลอนดอน นิวยอร์ก ได้นำนวัตกรรมแบบ contactless และการชำระเงินผ่านมือถือ (Mobile Payment) เข้าไปมีส่วนช่วยระบบคมนาคมขนส่งของเมืองต่างๆ เหล่านั้น มาสเตอร์การ์ดยังทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ ในการสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัลทางการเงิน (digital financial identity) โดยเปิดโอกาสให้ประชากรจำนวนมากของประเทศที่ไม่มีสมุดบัญชีธนาคาร สามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินได้ รวมถึง สมาร์ท ไอดี การ์ด (Smart ID Card) ที่ทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นหลากหลายเช่น การจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรเอนกประสงค์ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการจ่ายเงินและไม่ใช่การจ่ายเงิน รวมถึง การรับสวัสดิการทางสังคมและค่าขนส่งมวลชนสาธารณะ
มาสเตอร์การ์ดมุ่งมั่นสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดตัวมาตรฐาน QR Code ซึ่งสามารถรองรับการทำงานร่วมกันระดับโลกเพื่อให้ร้านค้าและผู้บริโภคชาวไทยสามารถซื้อขายและจับจ่ายใช้สอยในระบบอีเปย์เมนท์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ยังเปิดตัว “พร้อมการ์ด เดบิต มาสเตอร์การ์ด” (PromptCard Debit Mastercard) ซึ่งเป็นบัตรเดบิตเพื่อการทำธุรกรรมและซื้อสินค้าร่วมกับ National ITMX เพื่อสนับสนุนนโยบายการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลในปีเดียวกันอีกด้วยในงาน Bangkok Fin Tech Fair 2018 มาสเตอร์การ์ดนำเสนอรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างมาสเตอร์การ์ดกับเมืองต่างๆ ในแนวทางหลักๆ ได้แก่ ระบบขนส่งสาธารณะ (Transit) – มาสเตอร์การ์ดทำให้ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะสามารถชำระเงินด้วยการแตะบัตรเพียงครั้งเดียวทำให้ผู้เดินทางได้รับความสะดวกและยังลดต้นทุนในการให้บริการขนส่งสำหรับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี การจับจ่ายใช้สอยประจำวัน (Everyday Life) – มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในการนำเทคโนโลยี เช่น มาตรฐาน QR code ที่ทำให้ผู้ค้าและผู้ซื้อสามารถทำการค้าระหว่างกันผ่านช่องทางที่สะดวกมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะมีแพลทฟอร์มการใช้งานบัตรที่แตกต่างกันก็ตาม การดำเนินธุรกิจแบบ B2B – มาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลที่มี ควบคู่ไปกับนวัตกรรมการชำระเงิน เพื่อสร้างผลกำไรให้สูงขึ้น ชี้ให้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มการเติบโตในธุรกิจออนไลน์ข้อมูลจำเพาะ “มาสเตอร์การ์ดร่วมสร้างสมาร์ท ซิตี้ ทั่วโลก”
เมืองต่างๆ ในโลกกำลังจะกลายเป็นมหานครขนาดใหญ่มากขึ้น จากการที่ผู้คนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในเขตเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมร้อยละ 54 เป็นเกือบร้อยละ 701
ด้วยข้อจำกัดทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาแต่เดิม ประกอบกับงบประมาณที่มีจำกัด รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงต้องเผชิญความท้าทายในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชากร ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การจัดหาแหล่งพลังงานที่มีความเสถียร น้ำดื่มที่สะอาด และการเข้าถึงบริการด้านการเงินตามความเหมาะสม จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อยู่อาศัยในมหานครจะต้องเข้าบริการต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่เติบโตและเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโตได้ด้วย
สำหรับมาสเตอร์การ์ดแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับ “สมาร์ท ซิตี้” หมายถึงการทำให้เมืองต่างๆ มีระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นและเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ ‘สมาร์ท ซิตี้’ ยังหมายถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคม รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนอีกด้วย
มาสเตอร์การ์ด ได้มีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ในหลายประเทศทั่วโลก โดยวิสัยทัศน์ของมาสเตอร์การ์ดมุ่งที่จะสร้างเมืองคุณภาพสำหรับอนาคตใน 4 ด้านหลัก ได้แก่1. ระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ ความท้าทาย ร้อยละ 65 ของรูปแบบการชำระค่าบริการขนส่งมวลชนสาธารณะในมหานครเป็นการชำระด้วยเงินสด ซึ่งทำให้ผู้เดินทางไม่ได้รับความสะดวก เกิดความคับคั่งและเสียเวลา ในส่วนของผู้ให้บริการขนส่งก็มีต้นทุนสูง การแก้ไขปัญหา มาสเตอร์การ์ดร่วมมือกับเมืองต่างๆ กว่า 100 เมือง เช่น ลอนดอน นิวยอร์ก สิงคโปร์ ซิดนีย์ เม็กซิโกซิตี้ และอีกหลายๆ เมือง เพื่อนำระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless) และชำระเงินด้วยการแตะบัตรเพียงครั้งเดียวมาใช้ กรณีศึกษา มาสเตอร์การ์ดร่วมมือกับองค์การขนส่งทางบก (LTA) ของสิงคโปร์ เพื่อเปิดตัวระบบ ABT หรือ Account Based Ticketing เพื่อใช้ในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในสิงคโปร์ ผู้โดยสารสามารถใช้ระบบไร้สัมผัสของบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดในการชำระค่าบริการ หลังจากเปิดตัวบัตร ABT ปัจจุบัน
ผู้ใช้บริการขนส่งมวลชนกว่า 1 แสนคนในสิงคโปร์ที่ใช้มาสเตอร์การ์ดคอนแทคเลสเพื่อเดินทางกว่า 60,000 เที่ยวต่อวัน โดยไม่ต้องเข้าคิวยาวเพื่อซื้อบัตรหรือเพื่อเติมเงินบัตรอีกต่อไป2. การสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัล ความท้าทาย ประชากรในวัยผู้ใหญ่มากกว่าสองพันล้านคนทั่วโลกไม่มีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินใดๆ ทำให้ขาดโอกาสในการลงทุนสำหรับอนาคต การแก้ไขปัญหา ทำให้ระบบการจ่ายค่าแรง หรือการรับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐผ่านระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิคส์ ประชากรของเมืองนั้นๆ จะสามารถสร้างอัตลักษณ์ด้านการเงินของตนเองได้ ไม่ว่าจะโดยการใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเอนกประสงค์อื่นๆ ทำให้ประชาชนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถรับเงินที่โอนมาหรือจ่ายเงินได้ กรณีศึกษา สาธารณรัฐทาทัสถาน (Tatarstan) ในสหพันธรัฐรัสเซียได้เปิดการใช้งานบัตรเอนกประสงค์ซึ่งสามารถทำบริการได้มากถึง 16 รายการ ทั้งด้านธุรกรรมการชำระเงิน และไม่ใช่การชำระเงิน รวมถึงการรับเงินสวัสดิการช่วยเหลือและการเดินทางโดยขนส่งมวลชนภายในเมือง3. การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความท้าทาย ในหลายภูมิภาคทั่วโลก พบว่าธุรกิจขนาดเล็กมีจำนวนมากถึงร้อยละ 90 ของธุรกิจโดยรวมของประเทศ อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ ยังไม่สามารถรับการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เงินสดหมุนเวียนสูญหาย การแก้ไขปัญหา มาสเตอร์การ์ดช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กสามารถรับการชำระเงินด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ได้ โดยตั้งเป้าหมายให้ร้านค้าขนาดย่อมและผู้ประกอบการจำนวน 40 ล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ภายในปี พ.ศ. 2563 กรณีศึกษา มาสเตอร์การ์ดได้เปิดตัว QR Code มาตรฐานไปแล้วในประเทศอินเดียและประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กของทั้งสองประเทศสามารถซื้อขายและจับจ่ายใช้สอยในระบบอีเปย์เมนท์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย 4. การวางแผนเมืองโดยนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา ความท้าทาย ในหลายๆ เมืองทั่วโลกยังมีข้อจำกัดในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะเรียลไทม์ (Real-time) การแก้ไขปัญหา ระบบการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลในแต่ละเมือง สามารถให้ข้อมูลที่ทำให้รัฐบาลเข้าใจความต้องการของพลเมืองและปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้แก่พลเมือง กรณีศึกษา ในชิคาโก มาสเตอร์การ์ด ได้ทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์ และพันธมิตรอื่นๆ เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่ช่วยคาดการณ์ปริมาณความต้องการจำนวนเที่ยวเดินทางและจำนวนบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวโดยครอบคลุมทั่วทั้งเมือง ซึ่งช่วยผู้ให้บริการสามารถปรับการให้บริการและจำนวนเที่ยวบริการให้สอดคล้องในแบบเรียลไทม์ ###
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ดMasterCard (NYSE: MA เว็บไซต์ www.Mastercard.com ) เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับสากล บริษัทฯ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายกระบวนการชำระเงินที่รวดเร็วที่สุดในโลก เชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ค้า หน่วยงานรัฐบาล และ ธุรกิจในกว่า 210 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ได้ทาง ทวิตเตอร์ที่ @MastercardNews ร่วมสนทนากับบริษัทฯ ผ่านทาง Beyond the Transaction Blog และ สมัครที่นี่ เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau