news on March 12, 2018, 06:24:30 AM
สวทช. จัดค่าย “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” แนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา หนุนสร้างนักวิจัยเพื่อความยั่งยืน









เมื่อเร็วๆ ในงาน NAC2018 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ตอน การนำแนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษาภายใต้งานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2561 (NAC2018) จำนวน 2 วัน (10 - 11 มีนาคม 2561) โดยมีครูผู้เข้ารับการอบรมกว่า 160 คน เป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หรือ 4 จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท (SiRS) จำนวน 100 โรงเรียน จาก 6 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน น่าน สกลนคร พังงา นราธิวาส ในพื้นที่โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง


ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท ภายใต้สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับครูและนักเรียน ในพื้นที่ชนบทและทุรกันดารของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง และอีกหนึ่งผลงาน คือ โครงการ“การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับครูและนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะตามแนวคิดสะเต็มศึกษา รวมทั้งการฝึกทักษะเกี่ยวกับการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 
โครงการนี้ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนแบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับทักษะสำคัญที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผ่านการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้คำถามแนวสร้างสรรค์เชื่อมโยงให้นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด การตัดสินใจ การทำงานร่วมกัน ผ่านกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งนี้สิ่งที่นักเรียนได้รับจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้นักเรียนระดับประถมศึกษาที่จะสามารถดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข และเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญสูงมาก และทำงานในบริษัทวิจัยข้ามชาติมีโอกาสได้ค่าตอบแทน 6-7 หลักต่อเดือน ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (สวทช.) กล่าวเสริม
 

ด้าน ดร.บัญชา แสนทวี ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท กล่าวว่า การนำแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) โดยผ่านการจัดกิจกรรมของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นอีกงานหนึ่งที่คณะทำงานงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบทซึ่งจัดขึ้นให้แก่ครูประถมศึกษา เพื่อให้ครูผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สำหรับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา รวมทั้งได้รับการฝึกทักษะเกี่ยวกับการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 โดยใช้วิธีการสืบเสาะเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ระดับประถมศึกษา
« Last Edit: March 12, 2018, 08:17:07 AM by news »