sianbun on January 15, 2010, 12:56:52 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์: หน่วยงานชื่นชมการต้านละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์

หลายฝ่ายชื่นชมความพยายามต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2552 ที่ผ่านมา

และขอให้เดินหน้าต่อในปี 2553

      กรุงเทพฯ  (14 มกราคม 2553) – ปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่การดำเนินงานเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์คืบหน้าไปมาก บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ ทั่วประเทศมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของตนได้รับการคุ้มครองจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์

      เรื่องนี้เป็นหนึ่งในหัวข้อสนทนาเมื่อสมาชิกกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) เข้าเยี่ยมคารวะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

      “เราขอแสดงความขอบคุณและชื่นชมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินงานป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2552” นางสาววารุณี รัชตพัฒนากุล ที่ปรึกษาของบีเอสเอประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำคณะในครั้งนี้กล่าว “เราเชื่อว่าในปี 2552 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยมีผลการดำเนินงานคืบหน้าเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปลูกจิตสำนึกให้ผู้บริโภคตระหนักและเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)”

       

      ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มาสู่ด้านบวกได้ ในครึ่งทศวรรษแรก อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยทรงตัวอยู่ที่ระดับ 80%     อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทั้งภาครัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง จนเป็นผลให้อัตราการละเมิดลดลงมาอยู่ที่ 76% ในปี 2550  บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นสมาชิกของบีเอสเอต่างชื่นชมความพยายามป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2552 ที่ผ่านมาและหวังว่าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปีหน้าจะช่วยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้อีก 

      นายสมพร  มณีรัตนะกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด คือหนึ่งในผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่ได้รับผลกระทบหนักจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์แปลภาษาของบริษัทฯ   ถูกละเมิดและวางขายควบรวมไปกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ตามห้างไอที

      นายสมพร ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของบีเอสเอ  เข้าร่วมคารวะและพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐในครั้งนี้เพื่อแสดงความชื่นชมการดำเนินงานในปี 2552 โดยกล่าวขอบคุณความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อเดิมในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

      “เชื่อกันทั่วไปว่าราคาซอฟต์แวร์ที่สูงเกินไปคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย” นายสมพรกล่าว “ผลิตภัณฑ์ของเราบางตัว เช่น โปรแกรมพจนานุกรมและแปลภาษา ตั้งราคาขายไว้เพียง180 บาท แต่ก็ยังถูกละเมิด บริษัทของเราต้องจ้างโปรแกรมเมอร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์ประจำ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้และเราจ่ายภาษีให้แก่รัฐ การลดราคาผลิตภัณฑ์ลงไม่ใช่คำตอบ เพราะไม่ว่าเราจะลดราคาลงเท่าไร เราก็ยังไม่สามารถแข่งขันกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเสนอซอฟต์แวร์ของเราให้แก่ผู้บริโภคฟรีๆ โดยแถมไปกับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ตัวอื่นๆ”

      ทางด้านตำรวจบก. ปอศ. นั้นมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย ในเดือนตุลาคม 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศสืบสวนคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กว่า 1,000 คดี และจะเดินหน้าต่อในปี 2553


      “เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย” พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการบก. ปอศ. กล่าว “การดำเนินงานป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2552 เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นับว่าเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย  กรมทรัพย์สินทางปัญญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตลอดจนบก. ปอศ. ต่างมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในปีที่ผ่านมาและเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะร่วมมือกันต่อเพื่อความสำเร็จที่ยิ่งขึ้นไปในปี 2553  การตื่นตัวในเรื่องนี้ทำให้มีแนวโน้มว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะลดลง เราจึงต้องเดินหน้าทำงานต่อไป”

      หลายฝ่ายในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชื่อมั่นว่าการดำเนินงานเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในทศวรรษหน้ามีแนวโน้มสดใส

      อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง” นางสาววารุณีกล่าว “แน่นอนว่ายังมีงานต้องทำอีกมาก แต่ความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเดินมาถูกทางแล้ว”


เกี่ยวกับบีเอสเอ

บีเอสเอ (www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส  สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, ออโต้เดสค์,  เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น,  เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแท็บ, เน็ดกราฟฟิกส์, พีทีซี, เควสท์ ซอฟต์แวร์, สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค, เทคล่า และ เดอะ แมธเวิร์กส์ สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทย คือไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์
« Last Edit: January 16, 2010, 04:27:08 PM by sianbun »

sianbun on January 16, 2010, 04:27:25 PM
Key players praise software anti-piracy efforts of 2009,

pledge more efforts and success in 2010


BANGKOK, January 14, 2009—It was a year of significant advances for software intellectual property rights in Thailand, with software entrepreneurs throughout the country getting a sense that their software products were gaining some of the necessary protections from piracy.

These sentiments were among the topics of conversation at a recent year-end gathering of key parties involved in efforts to reduce software piracy in Thailand.  Members of the Business Software Alliance (BSA) paid visits recently to Thai government officials who play an important role in advancing software anti-piracy measures in Thailand.

“There were so many people within the Thai government who deserve credit for advances made in 2009 against software piracy,” said Varunee Ratchatapattanakul, Consultant, BSA Thailand, who organized recent visits to government officials. “In 2009 we believe that the Thai government made significant headway in not only enforcing intellectual property rights for software developers, but also in creating a mind-set that respecting software intellectual property rights is important for the future of the Thai economy under the “Creative Economy” strategy.”

Thailand has demonstrated a positive turn-around this decade in its approach to software piracy.  For the first part of the decade, Thailand’s piracy rate held steady at 80 percent.  However, in 2006, with the government and police authorities strengthening structured programs to reduce software piracy, the rate began falling and stood at 76 percent by 2008.  Software developers with membership in BSA have given positive feedback on software anti-piracy efforts in Thailand during 2009, and there is a hope that the positive efforts will result in a continued decline in software piracy rates.

Somporn Maneeratanakul, Managing Director of Thai Software Enterprise, is among the Thai software developers most impacted by software piracy.  At some IT malls in Thailand, translation products made by Thai Software Enterprises are frequently sold in bundles with other software products.

Mr. Maneeratanakul, a member of the BSA, joined the recent meetings with government officials to express appreciation for their hard work in 2009.  He is thankful for efforts to reduce software piracy by DIP and the Economic and Cyber Crime Division police.  However, he also believes the business community and public need to reconsider the role they play in software piracy.


“It’s a myth that price is a factor in piracy,” said Mr. Maneeratanakul.  “Some of our products sell for as little as 180 baht, yet our dictionary and translation products are still among the most pirated software in Thailand. Our company employs programmers and computer scientists to generate these products and we pay taxes.  Lowering our prices is not the answer, because no matter how low we go we cannot compete with free, which is what many people pay when they buy our products bundled with other software products.”

The Economic and Cyber Crime Division police contribute to creating an environment conducive to intellectual property rights by enforcing the Thai Copyright Act.  Police officers launched more than 1,000 investigations into software piracy in October of 2009 and say they will continue to press for compliance with the law in 2010.

“We are enforcing the Thai Copyright Act on a daily basis,” said Police Colonel Sarayuth Pooltanya.  “Our enforcement efforts against software piracy are continuous and consistent. 2009 was a good year for those who are working to reduce software piracy in Thailand.  The DIP, the IP & IT courts and the Economic and Cyber Crime Police Division have all made significant contributions this past year and we fully expect continued cooperation and success in 2010.  The momentum is in favor of falling software piracy rates, and it is our job to work together and cooperate to maintain this."

Looking ahead to the start of a new decade, some members of the software community are optimistic about the direction of anti-piracy efforts.


“The software community is appreciative of the government’s efforts to make the business community accountable for legal use of software intellectual property,” said the BSA’s Varunee Ratchatapattanakul. “Obviously, there is much more work to do.  But there is no question that Thailand’s software anti-piracy efforts are headed in the right direction.” 

About BSA

-BSA (www.bsa.org) members develop the software, hardware and other technologies that build electronic commerce.  BSA members include Adobe, Agilent Technologies, Altium, Apple, Aquafold, Autodesk, Bentley Systems, CNC Software/Mastercam, Corel, Dassault Systèmes SolidWorks Corporation, Embarcadero, Frontline PCB Solutions - An Orbotech Valor Company, McAfee, Microsoft, Mindjet, Minitab, NedGraphics, PTC, Quest Software, Scalable Software, Siemens, Sybase, Symantec, Tekla, and The MathWorks.  BSA member in Thailand includes Thai Software Enterprise.