news on February 20, 2018, 11:38:44 AM
ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทยชี้บทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มร. มาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ”ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและจีนมีมานานกว่า 200 ปี แต่การลงทุนในภาคอสังหาฯ จากจีนถูกจำกัดด้วยกฎหมายไทยในการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ 
 
การร่วมทุนซิโน-ไทยมีบทบาทสำคัญในภาคการค้าและภาคอุตสาหกรรมเสมอมา แต่ตัวอย่างความร่วมมือที่สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือความร่วมมือระหว่างฮอลลีย์กรุ๊ปของจีนและบริษัท อมตะ คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ที่ร่วมกันพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมระยอง ไทย-จีนตั้งอยู่แนวโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย( Eastern Economic Corridor) ซึ่งได้รับประโยชน์จากนโยบาย "Go out" ของจีนและได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตชาวจีนกว่า 100 ราย ที่ลงทุนในพื้นที่นี้กว่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปัจจุบันมีแรงงานไทยกว่า 20,000 คน และแรงงานจีนมากกว่า 3,000 คน

จากการประกาศล่าสุดที่ว่า HNA Innovation Finance และ CT Bright จะร่วมลงทุนเท่าๆ กันรวม 20% ของเงินทุน ซึ่งอาจจะสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อลงทุนในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ของไทยที่มีมูลค่า 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้พื้นที่นี้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

บทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทมากขึ้นหลังคณะรัฐมนตรีไทยลงมติอนุมัติงบประมาณ 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินการสร้างทางรถไฟยาว 256 ก.ม.จากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดหนองคายที่คาบเกี่ยวเส้นพรมแดนประเทศลาว โดยเลือกให้ผู้เชี่ยวชาญจากจีนเป็นผู้พัฒนาเครือข่ายรถไฟในขั้นแรกที่ซึ่งจะเชื่อมต่อกับจีน, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ผ่านทางลาวและไทย

นอกจากการเติบโตขององค์กรในภาคการผลิตและอีคอมเมิร์ซของจีนแล้ว เราคาดว่าจะเห็นกิจการร่วมทุนมากขึ้นในภาคการบริการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทย และคาดว่าจะเห็นการร่วมมือของจีนในการพัฒนาโครงการพื้นฐานในเครือข่ายรถไฟหรือแม้แต่โครงการขุดคลอง ( Kra Isthmus Canal ) ที่จะช่วยร่นระยะทางเส้นสายไหมทางทะเล ( Maritime Silk Road ) ให้สั้นลง 1,200 ก.ม.เพื่อช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้าของจีนไปยังทวีปยุโรป”