news on December 21, 2017, 08:19:05 AM
ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเสวนา “จับตาประมูลคลื่นความถี่ไทยจะเป็นอย่างไรปีหน้า”



นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช., อาจารย์สืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คุณฐิติเทพ นพเกตุ นักวิเคราะห์กลุ่มโทรคมนาคม บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) และ ดร.นิตยา สุนทรสิริพงศ์ นักวิชาการด้านโทรคมนาคม ร่วมงานเสวนา “จับตาประมูลคลื่นความถี่ไทยจะเป็นอย่างไรปีหน้า” ก่อนการจัดสรรประมูลคลื่นความถี่ 900/1800 MHz เพื่ออนาคตประเทศ ในวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2560 ณ ห้อง President 1-2 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ













« Last Edit: December 21, 2017, 08:37:01 AM by news »

news on December 22, 2017, 02:20:42 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์ วงการโทรคมฯแนะจับตาประมูลคลื่น 900/1800 MHz

เนชั่นทีวี จัดเสวนา หัวข้อจับตาประมูลคลื่นความถี่ไทยจะเป็นอย่างไรปีหน้า ผู้ร่วมเสวนาเสนอแนะตรวจสอบความโปร่งใสเพื่อวางหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่อื่นในอนาคต ขณะที่ กสทช.ยอมรับราคาตั้งต้นใบอนุญาตคลื่น 900 และ 1800 MHz จัดอยู่ในกลุ่มแพงสุดในโลก




นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวในเวทีเสวนาดังกล่าวว่า ความหวังที่จะมีผู้ให้บริการมาแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องยาก  และในการประมูลครั้งนี้ ดีแทค เป็นผู้ที่ต้องการคลื่นความถี่มากที่สุด ถ้าพลาดโอกาสนี้อาจส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันในตลาด

“ปัจจุบันการมีผู้ให้บริการ 3 ราย สร้างสภาพการแข่งขันที่ดีพอสมควร แต่ถ้ามีรายหนึ่งที่เสียเปรียบ อาจมีผลต่อสภาพตลาดโดยรวมในอนาคต จึงต้องการให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดประมูลในปี 2561 ใหม่อีกครั้ง ทั้งด้านการตั้งราคากลาง และการใช้กลไก n-1 ที่กำหนดจำนวนใบอนุญาตที่จะเปิดให้ประมูล ซึ่ง กสทช.ใช้หลักการว่า กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มากกว่า 3 ราย จะประมูล 3 ใบอนุญาต กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูล 2-3 ราย จะนำใบอนุญาตออกมาประมูลเท่ากับ n-1”

ทั้งนี้ ตนมองว่าหลักการ n-1 เป็นหลักการที่ดีแต่ไม่ เหมาะสมกับสถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ของไทยในขณะนี้ เนื่องจากราคากลางในการประมูลที่ กสทช. ตั้งไว้มีราคาสูง ทำให้กลไก n-1 ไม่มีผลต่อการแข่งขันในการประมูล เพราะผู้ให้บริการรายใหญ่เท่านั้นที่สามารถแข่งขันได้ โดยคาดการณ์ว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในปี 2561 เป็นไปได้ว่าจะมีผู้เข้าประมูลไม่เกิน 3 ราย ทำให้ กสทช.ขาย ใบอนุญาตได้ไม่ถึง 3 ใบตามที่ตั้งไว้

ขณะที่ นายพิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)  เสนอว่า ในมองมุมนักลงทุนอยากเห็นความโปร่งใส กังวลการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของ กสทช. ควรจัดสรรทรัพยากรให้เท่าเทียม บนต้นทุนที่โอปอเรเตอร์มีเท่าๆกัน เพราะ หลังจากการแถลงหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นฯ ตลาดทุนไม่ได้ตอบรับในทางบวก เห็นได้จากหุ้นสื่อสารที่ลดลง เพราะการประมูลนำมาซึ่งความไม่ ในมุมมองตลาดทุนอยากให้การประมูลเกิดขึ้นแต่ควรให้มีความแน่นอนการประมูลครั้งนี้ความต้องการในการได้คลื่นของผู้ประกอบการ

ด้าน ดร.นิตยา สุนทรสิริพงศ์ นักวิชาการด้านโทรคมนาคม  มองว่า หาก กสทช.ตั้งราคาใบอนุญาตคลื่นสูง เป็นการจำกัดแค่ผู้เล่นรายใหญ่ การแข่งขันอาจยิ่งแย่กว่าระบบสัมปทาน จีงเสนอแนะว่า กสทช. ควรทบทวนหรือไม่ว่าการกำหนดราคาไว้สูงจะเป็นการปิดโอกาสรายใหม่ และเป็นการผูกขาดตลาดให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ กสทช.ควรทำหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆเข้าสู่ตลาดเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม การตั้งราคา

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  มีความเห็นในประเด็นจากที่หลายฝ่ายท้วงติงเรื่องการกำหนดราคาประมูลสูงเกินไปว่าการกำหนดราคา เป็นมติของกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่กำหนดให้ใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้น หากกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นราคาเดิม จะกระทบคนที่ได้ใบอนุญาตไปแล้วและอาจเกิดการฟ้องร้อง ดังนั้นการกลับไปที่ราคาเริ่มต้นคงทำได้ยาก

“ส่วนในเรื่องราคาคลื่นความถึ่ที่กำหนดราคาเริ่มต้นไว้กว่า 3 หมื่นล้านบาท ผมเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้น จึงอยากเสนอให้มีการศึกษาว่าการประมูลคลื่นด้วยราคาสูงมาก จะมีผลกระทบอะไรบ้าง” นายแพทย์ประวิทย์กล่าวสรุป
« Last Edit: December 22, 2017, 02:24:02 PM by news »