MSN on December 20, 2017, 07:49:49 AM
ข่าวประชาสัมพันธ์ นักลงทุนตลาดเงินตราต่างประเทศ และนักการกุศลระดับโลก เคนเน็ธ คัม กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมองค์การยูเนสโก ในนครปารีส


รูปภาพ จากซ้าย ไปขวา
นายอามุคุม ปาร์สุราเมน ประธานมูลนิธิโกบอลเรนโบว์ นายเก็ตาชิว อิงกิดา รักษาการผู้อำนวยการทั่วไป องค์การยูเนสโก นางสาวเจน คอนสแตน ศิลปินสาขาสันติภาพแห่งยูเนสโก นางสาวฟรองซัวส คอนสแตน มารดาของเจน และ เคนเน็ธ คัม ประธานมูลนิธิเคนน์


กรุงเทพมหานคร – 19 ธันวาคม 2560 ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ เคนน์ ร่วมเวทีเวนาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ณ องค์การยูเนสโก

เคนเน็ธ คัม ผู้นักลงทุนผู้ชำนาญด้านตลาดเงินตราต่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้นำประสบการณ์อันยาวนานของเขา บอกเล่าผ่านสุนทรพจน์ในเวทีเสวนาครั้งที่ 8 ของกลุ่มพันธมิตรเอ็นจีโอขององค์การยูเนสโก ในมหานครปารีส โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก

สุนทรพจน์ของเขาส่งไปยังกลุ่มเอ็นจีโอ รวมทั้งองค์กรต่างๆ เพื่อให้ทุกคนก้าวเข้ามามีบทบาท เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่เกี่ยวกับการดูแลสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก (Climate change) โดยระบุว่านี่คือ “ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่งในยุคสมัยของพวกเรา”

เขากล่าวว่า “ในฐานะนักลงทุน ผมมองเห็นโอกาสในทุกๆ สถานการณ์ และผมเชื่อมั่นว่า เราสามารถพลิกเรื่องราวด้านลบของอุณหภูมิโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงในวันนี้ให้เป็นโอกาสได้ ซึ่งเราต้องปรับตัว ร่วมมือกัน และสร้างอนาคตที่เต็มความเขียวสดและความสะอาด ในขณะเดียวกัน เราเองจะได้เรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆ วิธีการใช้ชีวิตแบบใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกหลานของเราจะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ขอให้พวกเราได้ให้โอกาสโลกใบนี้คืนสู่ชีวิตบทใหม่อีกครั้ง

“เป้าหมายในการทำกิจกรรมการกุศลของผม อยู่บนแนวทางเดียวกับองค์กรยูเนสโก ผมจึงอยากจะขอใช้โอกาสนี้ในการเน้นย้ำความเชื่อมั่นของผมที่มีต่อพันธกิจขององค์กรแห่งนี้อย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และความปรารถนาของผมในการให้การสนับสนุนกิจกรรมของยูเนสโกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลุ่มองค์กรเอ็นจีโอ ที่เป็นสมาชิกขององค์การยูเนสโกด้วย

เคนเน็ธ คัม กล่าวเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง และเราต้องร่วมด้วยช่วยกันปฏิบัติ มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องคอยเฝ้ามองประชากรในดินแดนที่ห่างไกลออกไปที่ได้รับผลกระทบในเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การต่อสู้ในครั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน และการระดมความพยายามจากทั้งภาครัฐ และประชาสังคม”

องค์การยูเนสโก และหน่วยงานเอ็นจีโอที่เป็นพันธมิตร มีส่วนสำคัญในการเผชิญหน้าต่อกรณีต่างๆที่เกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ทั้งในแง่ของการให้ความรู้ การค้นคว้าและวิจัย รวมทั้งยังต้องมองเรื่องนี้ว่าเป็นเสาหลักต้นหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์กรเหล่านี้มีหน้าที่ต้องติดตามในประเด็นดังกล่าว จากแนวทางในที่ประชุมประชาคมนานาชาติ ในการประชุมว่าด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกขององค์การสหประชาชาติ ที่รู้จักกันในนาม COP21 ในนครปารีส ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม ปี 2558

พันธมิตรทั้งหมดมีส่วนร่วมกับหลากหลายโครงการที่นำไปสู่การพูดคุยกันที่ปารีสเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่าง เอ็นจีโอ และ คณะกรรมการด้านความสัมพันธ์ของยูเนสโก ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสำนักเลขาธิการองค์การยูเนสโก ตลอดการประชุม 2 วันมีการพูดคุยกันในหลากหลายประเด็น รวมไปถึงบทบาทขององค์กรเอ็นจีโอ ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค จนถึงระดับนานาชาติ  เพื่อการประชุม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้หัวข้อของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขากำลังมองไปที่มหาสมุทร โดยระบุว่าเป็นแหล่งของนวัตกรรมเชิงนิเวศวิทยา และการมีส่วนร่วมของพลเมือง บทบาทของมหาสมุทรที่มีต่อสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจและชุมชน ร่วมกันทำให้สังคมดีขึ้น และเรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายแห่งอนาคตสำหรับทุกคน
 
เกี่ยวกับมูลนิธิเคนน์
มูลนิธิเคนน์เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลโดยสภาผู้นำของอุตสาหกรรม เป้าหมายของมูลนิธิคือการให้การสนับสนุนองค์กร สถาบัน หรือบุคคลทั่วไปในด้านการศึกษาของผู้ยากไร้ การขจัดความยากจน และการสนับสนุนด้านการศึกษาทางการแพทย์ และการวิจัยพัฒนาทางด้านศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รวมทั้งเป้าหมายอื่นๆ ที่ทางสภาของมูลนิธิเป็นผู้พิจารณาร่วมกันในการสร้างประโยชน์แก่สาธารณะ วิสัยทัศน์ของมูลนิธิคือการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันให้กับชุมชน และทำให้เกิดความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม สุขภาพที่ดี และที่สำคัญที่สุด คือมีอิสรภาพทางการเงิน

เกี่ยวกับองค์กรยูเนสโก
ยูเนสโกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ดูแลรับผิดชอบด้านการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสังคม รวมทั้งระดมความคิดเห็นต่อสาธารณชนในวงกว้างเพื่อให้เด็กและพลเมืองแต่ละคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และเป็นความจำเป็นเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ประชากรเหล่านั้นอาจเติบโตและอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย โดยพวกเขาจะมีมรดกที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนแต่ละรุ่นกับประชาชน ซึ่งทุกคนสามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสามารถมีเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยการพัฒนาและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์