Movie Guide: บทสัมภาษณ์ผู้กำกับ โคเรเอดะ ฮิโรคสึ จาก The Third Murder กับดักฆาตกรรมครั้งที่ 3 เข้าฉาย 7 ธันวาคม
ใครกันแน่คือ ฆ า ต ก ร ตัวจริง!!! #TheThirdMurder #กับดักฆาตกรรมครั้งที่3
ส่งตรงจากญี่ปุ่น 3 นักแสดงจาก #TheThirdMurder ชวนแฟนๆ เมืองไทยมาดูหนังด้วยกัน
รีวิวเฉียบ! หนังของโคเรเอดะที่ห้ามพลาดของปีนี้ #TheThirdMurder #กับดักฆาตกรรมครั้งที่3
ภาพยนตร์โดย โคเรเอดะ ฮิโรคาสึ
นำแสดงโดย
ฟูคุยาม่า มาซาฮารุ
ยาคุโช โคจิ และ ฮิโรเสะ ซึสึ
กำหนดฉาย 7 ธันวาคม 2017
124 นาที / Cinemascope / ญี่ปุ่น / 5.1 / 2017
เรื่องย่อ
ทนายความ ชิเกโมริ เป็นผู้รับผิดชอบคดีของ มิซูมิ ผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม-ปล้นชิงทรัพย์ ซึ่งติดคุกจากข้อหาฆาตกรรมในอีกคดีหนึ่งเมื่อ 30 ปีก่อน โอกาสที่ ชิเกโมริ จะชนะคดีได้นั้นค่อนข้างน้อย เพราะลูกความของเขายอมรับผิดโดยสดุดี แม้จะต้องได้รับโทษประหารก็ตาม แต่เมื่อเขาขุดลึกลงไป ได้ฟังคำให้การของครอบครัวฝั่งเหยื่อและฝั่งของ มิซูมิ มากเท่าไหร่ ชิเกโมริ ผู้เปี่ยมด้วยความมั่นใจก็เริ่มเอะใจขึ้นทุกขณะว่าลูกความของเขาเป็นฆาตกรตัวจริงอย่างนั้นเหรอ...
คุยกับผู้กำกับ โคเรเอดะ ฮิโรคาสึ
คุณได้แรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ระทึกขวัญแนวขึ้นโรงขึ้นศาล The Third Murder มาจากไหน
เริ่มต้นเลย ผมอยากเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาชีพทนายความอย่างถูกต้อง พอผมได้คุยกับทนายหลายๆ คน รวมถึงผู้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายจาก Like Father, Like Son ทุกคนต่างบอกกับผมว่า "ศาลไม่ใช่สถานที่ตัดสินความจริง" พวกเขาบอกว่าไม่มีใครรู้หรอกว่าความจริงเป็นยังไง ผมคิดว่ามันน่าสนใจมากทีเดียว เลยเกิดความคิดว่า ถ้าอย่างนั้น เรามามาทำหนังดราม่าขึ้นโรงขึ้นศาล ที่ไม่สามารถเปิดเผยความจริงได้ดีกว่า
ตอนเขียนบท คุณไปนั่งฟังการพิจารณาคดีความหลายรอบด้วย
เมื่อก่อน ผมเคยทำหนังที่เล่าเรื่องราวจากมุมมองที่ว่า ตัวละครจะไม่ถูกตัดสิน พูดอีกอย่างก็คือ ผมทำหนังโดยปราศจากมุมมองที่หยั่งรู้ได้รอบด้าน อย่างไรก็ตาม การทำหนังดราม่าระทึกขวัญขึ้นโรงขึ้นศาล มันไม่สามารถใช้มุมมองแบบนั้นได้ ถึงอย่างนั้น ผมก็ไม่อยากให้มันออกมาเป้นอย่างนั้นครับ มันเลยเกิดปมดังกล่าวขึ้นมา
คนดูสัมผัสได้ถึงตึงเครียดที่สมจริงมากตอนเห็นทนาย (มาซาฮารุ ฟูคุยาม่า) ซักไซ้สอบถามฆาตกร (โคจิ ยาคุโช)
ก่อนจะเริ่มถ่ายทำ เราเคยลองซ้อมอ่านบทกับ ฟูคุยาม่า และ ยาคุโช ฉากการสอบสวนในห้องเป็นฉากที่น่าทึ่งมากครับ ตอนแรกจริงๆ ผมไม่อยากให้มีฉากแบบนี้มากเท่าไหร่ เพราะมันจะดูนิ่งเกินไป ในหนังดราม่าแนวครอบครัวเรื่องก่อนๆ ผมเลยพยายามขยับให้ตัวละครไม่อยู่นิ่งๆ ติดที่ ในหนังเรื่องนี้ ฉากในห้องสอบสวนมันมีกระจกกั้น มันเลยทำให้ตัวละครต้องนั่งลงคุยกัน อย่างไรก็ตาม ตอนที่ผมเห็นปฏิกิริยาของพวกเขาทั้งคู่ ผมคิดว่าฉากนี้น่าจะเร้าอารมณ์มากๆ เลยเติมมันเพิ่มเข้าไป หลังจากผมเห็นนักแสดงเข้าฉาก ผมเลยพอจะมองเห็นโครงร่างของหนังทั้งเรื่องได้ครับ
การกำกับภาพทรงพลังมาก เป็นการนำวิชวลแบบหนังฟิล์มนัวร์มาใช้ในเนื้อหาที่เป็นของตัวเอง
ครั้งนี้ผมตั้งใจทำหนังอาชญากรรมเต็มตัว ผมให้ความสำคัญกับการตัดกันของแสงและเงา มันไม่ใช่การจัดแสงตามธรรมชาติแบบที่ผมเคยใช้มาโดยตลอด ผมได้รับคำแนะนำจากผู้กำกับภาพ คุณมิกิยะ ทากิโมโต้ และเราถ่ายทำด้วยขนาดภาพแบบ CinemaScope ภาพลักษณะนี้ การโคลสอัพ จะมีประโยชน์มากๆ ตัวอย่างเช่น ฉากที่ทนาย 3 คนเดินไปพร้อมๆ กันมันดูเท่มากครับ ผมคิดว่ามันออกมาดีทีเดียว
คุณวางแผนเรื่ององค์ประกอบภาพยังไงบ้าง
ผมมีภาพในหัวเป็นภาพของหนังอาชญากรรมจากอเมริกายุค 1950s ตอนแรกผมบอกให้ ทากิโมโต้ ไปดู Mildred Pierce (ของผู้กำกับ ไมเคิล เคอร์ติซ, 1945) จากนั้นเราก็มาคุยกันถึงหนังที่ใช้ภาพแบบ CinemaScope แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่าง Seven (ของผู้กำกับ เดวิด ฟินเชอร์, 1995) และหนังหลายๆ เรื่องของผู้กำกับ พอล โทมัส แอนเดอร์สัน รวมถึง High and Low (1963) ของ อากิระ คุโรซาว่า เรานั่งดูว่าจะจับภาพสิ่งต่างๆ แบบ CinemaScope ยังไงโดยไม่ให้บรรยากาศตึงเครียดลดน้อยลง
หนังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การตัดสินผลของคดี นั้นไม่ได้คำนึงถึง ความจริง เลย
ปกติแล้วหนังแต่ละเรื่องจะพาคนดูไปพบกับความจริงในตอนจบ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ เราจะได้เห็นแค่กระบวนการตัดสินของศาล โดยที่ตัวละครไม่ได้พบกับความจริง มันแสดงให้เห็นว่า สังคมของเราให้อภัยระบบที่ไม่สมบูรณ์แบบนี้ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง นอกเสียจากผู้คนจะตัดสินผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับรู้ความจริงเลย
ไม่กี่ปีหลังมานี้ คุณสร้างหนังโดยขุดเอาประสบการณ์ของตัวเองมาใช้ ใน The Third Murder คุณทำอะไรแปลกใหม่บ้างรึเปล่า
ทำครับ ผมอยากทำอะไรที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง เวลาจะบอกเองว่าผมไม่สามารถทำอะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ดังนั้นมันจึงสนุกมากที่ผมยังสามารถทำหนังแบบนี้ ในช่วงเวลาแบบนี้ได้อยู่
ฟูคุยาม่า มาซาฮารุ รับบทเป็น โทโมอากิ ชิเกโมริ
เกิดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1969 ที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เขาเริ่มต้นอาชีพในฐานะนักร้อง-นักแต่งเพลงในปี 1990 ฟูคุยาม่า มีความสามารถหลากหลายทั้งด้านดนตรีและการแสดง เขาครองสถิติเป็นนักร้องชายเดี่ยวชาวญี่ปุ่นที่มีซิงเกิ้ลเพลงครองอันดับ 1 มากที่สุดในประวัติศาสตร์
ในปี 2015 เขาปล่อยซิงเกิ้ลออกมาในวาระครบรอบ 25 ปีชื่อ I am a Hero และในปีเดียวกันเขายังปล่อยอัลบั้มรวมฮิตตลอด 25 ปีชื่อ Fuku no Oto ออกมาแล้วกลายเป็นอัลบั้มขายดีขึ้นอันดับ 1 ประจำสัปดาห์ของ Oricon ด้วย
ในฐานะนักแสดง เขาได้รับบทนำเป็น เรียวมะ ซากาโมโต้ ในซีรี่ส์ดราม่าประวัติศาสตร์ของสถานีโทรทัศน์ NHK เรื่อง Ryomaden – The Legend ในปี 2010 เขายังได้รับคำชมจากฝีมือการแสดงในหนังหลายๆ เรื่องอาทิ Suspect X (2008), Midsummer's Equation (2013), Like Father, Like Son (2013) ซึ่งได้รับรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมืองคานส์, Ruroni Kenshin: Kyoto Inferno และ The Legend Ends (2014) และ Scoop! (2016) ผลงานเรื่องต่อไปที่กำลังจะเข้าฉายของเขาคือ Manhunt กำกับโดย จอห์น วู ซึ่งจะฉายรอบพรีเมียร์สาย Out of Competition ที่เทศกาลหนังนานาชาติเวนิซ ครั้งที่ 74
ยาคุโช โคจิ รับบทเป็น ทาคาชิ มิซูมิ
เกิดวันที่ 1 มกราคม 1956 ที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1996 ยาคุโช ครองความยิ่งใหญ่ในแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นด้วยการรับบทนำในหนังเรื่อง Shall We Dance?, Sleeping Man, และ Shabu Gokudo ซึ่งได้รางวัลมาครองมากมาย ในปี 1997 เขารับบทนำในหนังชนะเลิศรางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลหนังเมืองคานส์เรื่อง The Eel ส่วนการรับบทนำใน Cure ทำให้เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังนานาชาติโตเกียว ก่อนที่ในปี 2001 จะได้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมอีกครั้ง คราวนี้จากเทศกาลหนังนานาชาติชิคาโก จาก Warm Water Under a Red Bridge ซึ่งฉายเปิดตัวในเทศกาลหนังเมืองคานส์ เขายังได้เล่นหนังที่น่าจดจำในระดับโลกอย่าง Memoirs of a Geisha (2005) และBabel (2007) ด้วย
ปี 2009 เขาผันตัวมาเป็นผู้กำกับเป็นครั้งแรกในหนังเรื่อง Toad's Oil จากนั้นเดือนมิถุนายนปี 2012 เขาได้รับเหรียญเกียรติยศจากจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากความสามารถอันหลากหลาย เขายังได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจาก The World of Kanako (2014) จากเทศกาลหนังนานาชาติซิทเกส ผลงานเรื่องเด่นเรื่องอื่นๆ ของเขายังประกอบด้วย The Kiyosu Conference (2013), A Samurai Chronicle (2014), The Emperor in August (2015) และ Sekigahara ซึ่งเข้าฉายไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับ The Third Murder ถือเป็นครั้งแรกที่เขาได้ร่วมงานกับผู้กำกับมากฝีมือ ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ
ฮิโรเสะ ซึสึ รับบทเป็น ซากิเอะ ยามานากะ
เกิดวันที่ 19 มิถุนายน 1998 ที่เมือง ชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ฮิโรเสะ เริ่มต้นอาชีพในฐานะนางแบบเมื่อปี 2012 ในนิตยสารแฟชั่นรายเดือน Seventeen และในปี 2013 เธอฝากฝีมือการแสดงครั้งแรกในซีรี่ส์เรื่อง Kasuka na Kanojo ในปี 2015 ก่อนจะได้รับบทนำครั้งแรกในซีรี่ส์เรื่อง Gakkou no Kaidan ปีเดียวกันนั้นเอง เธอยังได้รางวัล Newcomer of the Year จากเวที Japan Academy Prize จากหนังเรื่อง Our Little Sister ซึ่งเข้าฉายรอบพรีเมียร์ที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ หนังเรื่องเด่นๆ ของเธอยังมี Chihayafuru (2016), Rage (2016), Your Lie In April (2016) และ Let's Go, Jets! From Small Town Girls To U.S. Champions?! (2017) ในปี 2017 นี้เธอยังมีหนังอีกหลายเรื่องออกฉายด้วย ได้แก่ Fireworks, Should We See It From the Side Or the Bottom? และ My Teacher
ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ ผู้กำกับ / เขียนบท / ลำดับภาพ
เกิดปี 1962 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะในปี 1987 โคเรเอดะ ได้ไปร่วมงานกับ TV Man Union ซึ่งทำให้เขาได้กำกับสารคดีแล้วคว้ารางวัลมาครองมากมาย ก่อนที่ในปี 2014 เขาก่อตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมาชื่อว่า BUN-BUKU ในปี 1995 เขากำกับหนังขนาดยาวเรื่องแรก Maborosi ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายของ เทรุ มิยาโมโต้ แล้วได้รับรางวัล Golden Osella จากเทศกาลหนังนานาชาติเวนิซครั้งที่ 52 จากนั้นผลงานเรื่องต่อมา After Life (1998) ยังถูกซื้อไปฉายถึง 30 ประเทศทั่วโลก สร้างชื่อเสียงระดับโลกให้กับเขา ในปี 2001 หนังเรื่อง Distance ได้รับเลือกให้เข้าฉายในสายประกวดของเทศกาลหนังเมืองคานส์ ก่อนที่ในหนังเรื่องที่ 4 Nobody Knows (2004) จะส่งให้ ยูยะ ยากุระ กลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมไปครองจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ จากนั้นในปี 2006 Hana หนังที่ว่าด้วยการล้างแค้นถือเป็นหนังแนวพีเรียดย้อนยุคเรื่องแรกของเขาด้วย ปี 2008 เขาได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตัวเองออกมาผ่านหนังดราม่าครอบครัว Still Walking ซึ่งได้รับคำชื่นชมอย่างสูงจากทั่วโลก
ในปี 2009 หนังเรื่อง Air Doll ของเขาได้เข้าฉายรอบพรีเมียร์ในสาย Un Certain Regard ที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งที่ 62 แล้วได้กวาดคำชมไปครองอีกครั้ง จากการหันไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับความรักเหนือจินตนาการสุดวาบหวาม ในปี 2011 หนังเรื่อง I Wish ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังซานเซบาสเตียน ครั้งที่ 59 จากนั้นในปี 2011 เขาหันมากำกับซีรี่ส์ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในเรื่อง Going Home ก่อนจะกลับมาทำหนัง Like Father, Like Son (2013) แล้วคว้ารางวัล Jury Prize จากคานส์ไปครอง รวมถึงรางวัลขวัญใจผู้ชมจากเทศกาลหนังที่ ซานเซบาสเตียน, แวนคูเวอร์ และเซาเปาโล พร้อมกับทำลายสถิติหนังทำเงินสูงสุดในหลายพื้นที่ๆ ไปฉาย ในปี 2015 เขากลับมาพร้อม Our Little Sister หนังได้ฉายในสายประกวดที่คานส์อีกครั้ง แล้วยังได้รางวัล Japan Academy Prize ไปครองถึง 4 รางวัลนำโดย หนังยอดเยี่ยม และผู้กำกัลป์ยอดเยี่ยม สมทบด้วยรางวัลขวัญใจคนดูที่เทศกาลหนังซานเซบาสเตียน ในปี 2016 เขายังส่ง After the Storm เข้าฉายในสาย Uncertain Regard ในเทศกาลหนังเมืองคานส์อีกครั้ง
นอกเหนือจากงานกำกับ โคเรเอดะ ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างในหนังของผู้กำกับรุ่นใหม่ ทั้ง Kakuto ของ ยูสุเกะ อิเซยะ ซึ่งได้ไปฉายที่เทศกาลหนังรอตเทอร์ดาม ปี 2003 รวมถึง Wild Berries (2003) ซึ่งเขียนบทและกำกับโดย มิวะ นิชิคาว่า โดยผลงานเรื่องที่ 2 ของเธออย่าง Sway ได้เข้าฉายเปิดตัวในสาย Director's Fortnight ที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ในปี 2006 และ Ending Note: Death Of Japanese Salesman (2011) ผลงานที่ได้ใจคนดูไปครองทั่วโลกของผู้กำกับ มามิ สุนาดะ
ผลงานในฐานะผู้กำกับ
1991 However… (Shikashi…) – สารคดีโทรทัศน์
1991 Lessons from a Calf (Kougai ha Doko he Itta) – สารคดีโทรทัศน์
1994 August Without Him (Kare no Inai Hachigatsu ga) - สารคดีโทรทัศน์
1995 Maborosi (Maboroshi no Hikari)
1996 Without Memory (Kioku ga Ushinawareta Toki) – สารคดีโทรทัศน์
1998 After Life (Wonderful Life)
2001 Distance (Distance)
2004 Nobody Knows (Dare mo Shiranai)
2006 Hana (Hana yorimo Naho)
2008 Still Walking (Aruitemo Aruitemo)
2008 Wishing You're Alright – Journey Without an End by Cocco (Daijoubu de Aruyouni Cocco Owaranai Tabi)
2009 Air Doll (Kuuki Ningyo)
2010 The Days After (Nochi no Hi) – ละครโทรทัศน์
2011 I Wish (Kiseki)
2012 Going Home (Going My Home) – ซีรี่ส์โทรทัศน์
2013 Like Father, Like Son (Soshite Chichi ni Naru)
2015 Our Little Sister (Umimachi Diary)
2016 After the Storm (Umi yorimo Mada Fukaku)
2016 Carved in Stone (Ishibumi) – สารคดี
ผลงานในฐานะ ผู้อำนวยการสร้าง
2003 Wild Berries (Hebi Ichigo) กำกับโดยมิวะ นิชิคาว่า
2003 Kakuto (Kakuto) กำกับโดย ยูสุเกะ อิเซยะ
2009 Beautiful Islands กำกับโดย โทโมโกะ คานะ
2011 Ending Note กำกับโดย มามิ ซูโนดะ
2012 That Day – Living Fukushima (Anohi - Fukushima ha Ikiteiru) กำกับโดย โคเฮย์ อิมานากะ
ลูโดวิโก เอนัวดี้ ดนตรีประกอบ
เกิดปี 1955 ที่ประเทศอิตาลี จากผลงานที่ขายได้เป็นปรากฏการณ์และสามารถขายบัตรคอนเสิร์ตทัวร์รอบโลกได้จนหมด คือสิ่งที่ยืนยันเป็นอย่างดีว่า ลูโดวิโก เอนัวดี้ คือหนึ่งในนักดนตรีคลาสสิคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงหลายปีมานี้ หลังจากศึกษาที่ Conservatorio Verdi ที่เมืองมิลาน และได้เรียนรู้จาก ลูเซียโน่ เบริโอ เขาใช้เวลาหลายปีไปกับการแต่งเพลงในรูปแบบดั้งเดิม ก่อนที่ช่วงปี 1980s เขาจะเริ่มมองหาพื้นที่สำหรับให้เขาได้ถ่ายทอดอารมณ์ศิลปินออกมามากยิ่งขึ้น ผ่านงานเต้นรำและงานมัลติมีเดีย รวมถึงการบรรเลงเปียโนในเวลาต่อมา ดนตรีสิงสถิตอยู่รอบตัวเขา มันอยู่ในฌาน และมักจะมาพร้อมความล่องลอย เขานำดนตรีแนวมินิมัล, ดนตรีระดับโลก และดนตรีป็อปร่วมสมัยมาผสมผสานกัน งานของเขายังมีอิทธิพลอยู่ในหนังทั่วโลก การันตีจากรางวัลระดับนานาชาติถึง 4 รางวัล
ทีมนักแสดง
โทโมอากิ ชิเกโมริ มาซาฮารุ ฟูคุยาม่า
ทาคาชิ มิซูมิ โคจิ ยาคุโช
ซากิเอะ ยามานากะ ซูสุ ฮิโรเสะ
ทีมงาน
เรื่องตั้งต้น / บทภาพยนตร์ / ลำดับภาพ / กำกับ
ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ
ดนตรีประกอบ ลูโดวิโก เอนัวดี้
กำกับภาพ มิกิยะ ทากิโมโต
แสง โนริกิโยะ ฟูจิ
เสียง คาสุฮิโกะ โทมิตะ
ออกแบบงานสร้าง โยเฮย์ ทาเนดะ
งานสร้าง FILM, INC.
ผู้อำนวยการสร้างบริหาร ชินอิจิ โอกาว่า, ชิอากิ ฮาราดะ, ทอม โยดะ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง เมกุมิ โอซาว่า, ซาโตมิ โอดาเกะ
ผู้อำนวยการสร้าง คาโอรุ มัทสึซากิ, ฮิจิริ ทากุจิ