MSN on December 06, 2017, 10:03:05 PM
เก็บเงินให้อยู่  ใครว่ายาก… ยกมือขึ้น!! เริ่มต้นวันนี้เลือกแบบไหนที่ใช่ตัวคุณ



ใครเคยรู้สึกแบบนี้บ้าง “อยากใช้ชีวิตให้เต็มที่  แต่ก็อยากมีเงินเก็บด้วย จะทำไงดี เพราะไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาเก็บ”
ก่อนอื่นต้องมองหาวิธี ซึ่งมีอยู่จริงใช่ไหม ?


เงินที่อยากจะเก็บนั้น จริงๆแล้วเก็บไม่อยาก  และยังสามารถใช้ชีวิตได้เต็มที่ตามสไตล์เราอีกด้วย บางคนวางแผนอยากเกษียณแบบเป็นเศรษฐี ทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยการต้องมีจุดเริ่มต้น “การเก็บเงิน” ไม่ใช่เรื่องยากเย็นขนาดนั้น เพียงแค่เรารู้จักวางแผนมีวินัย และตั้งใจจริง เพียงเท่านี้ก็ทำได้ มีเงินเก็บอย่างสบายๆ

คำถามที่ตามมาแล้วก้าวแรกของการเก็บเงินจะทำยังไงดี ? เรื่องนี้ไม่ยากมีเคล็ด (ไม่) ลับมากมายสามารถเลือกใช้กันได้ตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน หรือถ้าจะให้ดีควรมีเป้าหมายกันสักหน่อยว่าเพื่ออะไร จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เดินไปถึงฝันได้ง่ายขึ้น ส่วนใครยังไม่มีเป้าหมาย แถมเก็บเงินไม่เก่ง เป็นนักช้อปตัวยง ลองใช้หลักการง่ายๆ ตามนี้กันไปก่อน

เก็บก่อนใช้
เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการบังคับตัวเองก่อนเลย เงินเดือนออกมาปุ๊ปดึงมาเก็บปั๊ปอย่าได้รีรอ แล้วค่อยนำส่วนที่เหลือมาบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆ อะไรที่ไม่จำเป็นลดทอนได้ก็ตัดออกไป ซึ่งหากทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้จะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น ส่วนเราจะมาเก็บในสัดส่วนเท่าไหร่ก็ลองคำนวณดู แต่อย่าถึงขั้นบีบบังคับตัวเองจนไม่มีความสุข โดยอย่างน้อยๆ ควรเริ่มต้นเก็บออมที่ 10% เช่น มีเงินเดือน 15,000 บาท ก็เก็บไว้เลยเดือนละ 1,500 บาท ครบปีจะทำให้เรามีเงินออมแล้ว 18,000 บาท

คิดง่ายๆ หากเราเก็บออมไปอย่างนี้สม่ำเสมอสัก 10 ปี ก็จะมีเงินเก็บถึง 180,000 บาทแล้ว เห็นมั๊ยว่าเงินก้อนเล็กๆ หากสะสมไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นเงินก้อนโตได้เหมือนกัน และเมื่อเรามีรายได้มากขึ้น ควรจะเพิ่มสัดส่วนการ “เก็บก่อนใช้” นี้ตามไปด้วย จะยิ่งทำให้เรามีก้อนโตมากขึ้นไปอีกในอนาคต

ฝากประจำ
การเปิดบัญชีเงินฝากประจำ ถือเป็นสร้างวินัยในการเก็บออมอีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับคนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่ เพราะเราต้องฝากเงินเข้าแบงก์ในจำนวนเท่าๆ กันทุกเดือนในระยะเวลาที่กำหนด และไม่สามารถถอนก่อนกำหนดได้  ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องถอนก็จะไม่ได้รับสิทธิ์ดอกเบี้ยเงินฝากที่ตกลงไว้ตั้งแต่แรก ส่วนจะเลือกแบบฝากสั้นหรือฝากยาวก็อาจจะดูเรื่องผลตอบแทนจากดอกเบี้ยประกอบการตัดสินใจกันไป หรืออาจจะใช้เป้าหมายเป็นตัวตั้ง เช่น ต้องการเก็บเงินเป็นเวลา 60 เดือน เพื่อให้ได้เงินก้อน 500,000 แสนบาทไปซื้อรถยนต์ ก็ลองคำนวณดูว่าต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ เมื่อครบกำหนดตามเป้าหมายค่อยถอนออกมา

พันธบัตร-สลากออมทรัพย์
การซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือสลากออมทรัพย์ ก็เป็นอีกวิธีเก็บเงินก้อนแบบยาวนานมีระยะเวลาชัดเจนรอชื่นชมกับผลตอบแทนที่งอกเงยมากกว่าการฝากเงินไว้กับแบงก์ที่ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่ถึงบาท  ซึ่งคนที่ชอบลุ้นนิดๆ พอให้หัวใจเต้นแรง แอบซื้อหวยใต้ดิน หรือล็อตเตอรี่อยู่แล้ว เผื่อโชคลาภจะเข้าข้างเราบ้าง ก็ลองหันไปซื้อสลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส. เอาไว้ลุ้นรางวัลเพิ่มเติม นอกเหนือจากผลตอบแทนเรื่องดอกเบี้ยก็น่าจะดีไม่น้อย เพราะเงินต้นยังอยู่ครบไม่ใช่ซื้อแล้วทิ้ง

ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
พอพูดถึงประกันชีวิต หลายคนอาจชะงัก ด้วยทัศนคติติดลบ บ้างก็มองว่ายาวนานเกินไป หรือการเลือกซื้อดูยุ่งยาก เลือกแบบไหนดีแต่จริงๆ แล้ว  จะว่าไปเป็นวิธีที่ดีที่สุด นอกเหนือจากการการันตีให้เรามีเก็บเงินก้อนโตในระยะยาว  และมาพร้อมด้วยนำไปใช้สิทธิในเรื่องการลดหย่อนภาษี  การดูแลคุ้มครองชีวิตและสุขภาพถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนอย่างมาก แล้วจะเลือกประกันอย่างไรดี หากต้องการแบบง่ายๆ ไม่ต้องยุ่งยากและยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามไลฟ์สไตล์ที่ต้องการ ควบคู่ไปกับการเก็บเงิน

ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ไลฟ์ เซฟเว่อร์ 15/9 ที่ TMB เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตพร้อมกับการเก็บเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งสามารถเลือกเก็บแบบรายเดือนหรือรายปีก็ได้ โดยเริ่มต้นแค่เดือนละ1,000 บาทต่อทุนประกัน 50,000 บาท และจะได้รับเงินคืนทุกปี ปีละ 2,000 บาท ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ 1-15 จ่ายเบี้ยประกันเพียง 9 ปี แต่คุ้มครองชีวิตเป็นระยะเวลา 15 ปี พร้อมได้รับเงินก้อนอีก100,000 บาท ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 15

เห็นมั๊ยว่า “การเก็บเงิน” นั้นง่ายกว่าที่คิด เริ่มต้นทำกันได้ทันที โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ บางคนเพิ่งเริ่มทำงานอาจมีเป้าหมายมากมายหลายอย่าง อยากใช้ชีวิตให้เต็มที่ มีไลฟ์สไตล์ในแบบของตัวเอง แต่ต้องฉุกคิดด้วยว่าเราต้องมีเงินเก็บควบคู่กันไปด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราเลือกวิธีการเก็บออมที่มีอยู่หลากหลายวิธีให้เหมาะกับตัวเราเอง และรู้จักสร้างวินัยจนเป็นนิสัย ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า “เก็บออมเงินวันนี้มั่งมีในวันหน้า”
« Last Edit: December 06, 2017, 10:05:09 PM by MSN »