รพ. กรุงเทพ รับมือกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ตั้ง Spinal Injury Fast Track
พร้อมทีมแพทย์สหสาขาดูแล รักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม
อุบัติเหตุนำมาซึ่งการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต หรือความพิการ แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเอง คนในครอบครัว หรือแม้แต่คนรู้จัก โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับกระดูกและไขสันหลัง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดและรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังและไขสันหลัง(Spinal Cord Injury) โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมรณรงค์เนื่องในวัน Trauma Day เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาลสหสาขา และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย และรับมือกับอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบ พร้อมแนะวิธีการช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างถูกวิธี ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความสูญเสียในช่วง 7 วันอันตรายทีมแพทย์ Truma Day 2017 นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึง สถิติข้อมูลอุบัติเหตุล่าสุด(วันที่22 พ.ย. 60) ของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พบว่า ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 13,424 คน บาดเจ็บ 884,494 คน รวมทั้งสิ้น 897,918 คน โดยวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี กำหนดเป็นวันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน (World Day of Remembrance for Road Traffic Victims) ตามหัวข้อที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยมีประเด็นหลักว่า "เป้าหมายปี 2563 ลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่รุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนนลง 50 เปอร์เซ็นต์" เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกๆ ภาคส่วนตระหนักถึงสภาพปัญหา ความสูญเสีย และผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงแสดงถึงความมุ่งมั่นในการรวมพลังและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังตามเป้าหมายที่กำหนด และเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายของประเทศไทยในการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 ขณะที่สถิติผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรุงเทพ ปรากฎว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยแต่ละเคสมีความซับซ้อนของการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ ต้องใช้ทีมแพทย์สหสาขาในการรักษา การเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง วิธีการช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน มีการประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุว่าอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำได้หรือไม่ และการสังเกตอาการของผู้บาดเจ็บในเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อวางแผนการเคลื่อนย้ายและดูแลได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการดูแลผู้บาดเจ็บ ก่อนนำส่งยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมอย่างรวดเร็ว ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการ โรงพยาบาลกรุงเทพมีความพร้อมด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่ซับซ้อน รุนแรง หรือมีการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ เช่น สมอง กระดูก ไขสันหลังและอวัยวะภายในช่องอก ช่องท้อง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุอื่นๆ โดยศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ (Bangkok Trauma Center) เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ รวมทั้งการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยทั้งทางบก และทางอากาศ พร้อมรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์โทร 1724 หรือ 1719 เพราะสิ่งสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บคือ ความปลอดภัย นายแพทย์สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึง ไขสันหลังเป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งต่อเนื่องลงมาจากก้านสมอง การบาดเจ็บไขสันหลัง คือ อาการบาดเจ็บไขสันหลังรวมถึงรากประสาทที่อยู่ในโพรงของกระดูกสันหลัง ซึ่งการบาดเจ็บนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอัมพาตขึ้นกับผู้ป่วยได้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยคือเกิดจากอุบัติเหตุทั้งบนถนนหรือพลัดตกหกล้มจากที่สูง สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จัดทำ Spinal Injury Fast Track โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ เกิดความพร้อม ในทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและไม่ติดขัด เปรียบได้กับการเกิดช่องทางด่วนเพื่อให้รถฉุกเฉิน ได้เข้าทำการรักษาผู้ป่วยโดยสะดวกและรวดเร็ว โดยความหมายของ Spinal Injury Fast Track คือ code หรือสัญญาณภายในโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมมือกันของบุคลากร ตลอดจนแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังและไขสันหลัง โดยจะให้ลำดับความสำคัญเหนือกว่าภาวะปกติ โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังและไขสันหลังประกอบไปด้วย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ศัลยแพทย์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ (ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว) อุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการทำผ่าตัด ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย เพื่อทำให้เกิดความพร้อมในการให้การรักษาที่มีมาตรฐาน ตลอดจนการผ่าตัดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น การทำการผ่าตัดจะกระทำเมื่อทุกอย่างพร้อม นั่นคือ 1.ผู้ป่วยจะต้องถูกเตรียมพร้อม โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยสูงสุด 2. ความพร้อมในส่วนของโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเอกซเรย์ CT Scan หรือ MRI โดยละเอียด บุคลากรในห้องแล็บ และธนาคารเลือด จะจัดเตรียมความพร้อมอย่างครบถ้วน บุคลากรในห้องผ่าตัด จะจัดเตรียมอุปกรณ์ทำการผ่าตัด โดยให้ลำดับความสำคัญของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังก่อน เมื่อทุกอย่างพร้อม ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด ตามที่ศัลยแพทย์วางแผนการรักษาไว้ การประเมินอาการของผู้บาดเจ็บ จะใช้การประเมินตามรูปแบบของ American Spinal Injury Association (ASIA) โดยมีการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.การตรวจระบบประสาทสั่งการ เพื่อประเมินระดับกำลังของกล้ามเนื้อมัดหลัก ข้างละ 10 มัด ทั้ง 2 ข้างของร่างกายในท่านอนหงาย 2.การตรวจระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทไขสันหลังทั้ง 2 ข้างของร่างกาย 3.การตรวจทวารหนัก เพื่อประเมินการทำงานของประสาท ของผู้ป่วยว่ายังสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักได้หรือไม่ ในกรณีที่มีการกดทับไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังแตก หัก เคลื่อน ไม่มั่นคง จะเกิดการกดทับไขสันหลัง การรักษาที่เหมาะสม คือ แก้ไขการกดทับ และยึดตรึงให้กระดูกสันหลังมั่นคง ไม่กลับมากดทับไขสันหลังซ้ำอีก ผู้ป่วยจะได้รับ การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่รอช้า เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน นายแพทย์พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เส้นทางการร่วมดูแลรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง เริ่มต้นที่การเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่ระยะวิกฤตในไอซียู ต่อเนื่องถึงหอผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกจนถึงการดูแลที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการพึ่งตนเองได้มากที่สุดในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกลับเข้าทำงานประกอบอาชีพ กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพประกอบด้วย 1.การดูแลและจัดการให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง spinal stability โดยการใช้อุปกรณ์พยุงเสริมความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง spinal orthosis 2. การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านระบบประสาทและกล้ามเนื้อFunctional recovery training เช่นการทำกายภาพ กระตุ้นไฟฟ้า ออกกำลังกาย ฝึกนั่งยืนเดินโดยใช้เครื่องพยุงกระดูกสันหลังและข้อเท้าข้อเข่า 3. การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แผลกดทับ ข้อติดเสมหะค้างในปอดหรือสำลักทำให้ปอดอักเสบ 4. การส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานใหม่ตามศักยภาพของตนเอง Return to work as work functional capacity ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาที่มีประสบการณ์ประจำโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุหนักจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ทั้งก่อนการรักษาหรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาแล้ว โดยแพทย์เฉพาะทาง เพราะแต่ละวินาทีที่ผ่านไปอาจหมายถึงชีวิต หรือความพิการของผู้บาดเจ็บ สามารถแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์โทร. 1724 หรือ 1719