enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » พบคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนเป็นโรคช้ำรั่ว หรือ โอเอบี เพิ่มขึ้น ชี้80% « previous next » Print Pages: [1] Go Down happy on November 19, 2017, 10:29:38 PM แพทย์รามาฯ ชี้สาวออฟฟิตเสี่ยงเป็นโรคช้ำรั่ว โรคใกล้ตัวกวนใจที่รักษาได้แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีเตือน...สาวออฟฟิตเสี่ยงเป็นโรคภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโรคช้ำรั่ว Overactive Bladder (OAB) พบมากขึ้นถึงกว่า 21.3% ด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานที่เปลี่ยนไปมีความเร่งด่วน การจราจรที่ติดขัด ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้ จึงได้จัดงาน Check in OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้ เจาะลึก รู้จริง เข้าใจเรื่องโรค OAB ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ บริเวณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 7 เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกิน Overactive Bladder (OAB) หรือที่เรียกว่าโรคช้ำรั่ว เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบปัจจุบันทันด่วนเพิ่มมากขึ้นถึง 21.3% โดยส่วนใหญ่จะพบโรคนี้กับผู้สูงอายุที่มากขึ้น มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และสตรีเคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคน แต่ปัจจุบันพบในผู้หญิงวัยทำงานอายุ 30- 40 ปี เพิ่มมากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะมีการแข่งขันสูง มีการทำงานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงหลาย ไหนจะออกนอกสถานที่ ไหนจะต้องเผชิญกับภาวะรถติด ใช้เวลาบนท้องถนนนานเป็นพิเศษ ตามวิถีของคนเมือง บ้างไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติ จนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนั้นคนที่เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อนอาจมีการเสื่อมของหูรูด และการหย่อนยานของผนังช่องคลอดรวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิทจึงเกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมา และในวัยสูงอายุ และประจำเดือนหมดแล้วฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นระบบการปิดกั้นของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกัน และรวมถึง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ปัญหาของโรคนี้คือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองเป็น เพราะมักจะเข้าใจผิดไปเองว่า อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ไปตรวจที่โรงพยาบาล ทำให้อาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เป็นปัญหาในการเข้าสังคม หรือเป็นปัญหาทางสุขภาพและอนามัย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นช้ำรั่วหรือไม่ วิธีสังเกตอาการที่เสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 1.อาการปวดราด คือปวดปัสสาวะรุนแรงจนเล็ดราดออกมา ไม่สามารถรอไปเข้าห้องน้ำได้ทัน ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปต่อวัน 2. ปัสสาวะเล็ดจากการไอ จาม หรือหัวเราะ อาการลักษณะนี้มักพบในผู้หญิงที่เริ่มมีอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวมาก เคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคนไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีธรรมชาติ หรือผ่าตัด เคยมีการผ่าตัดบริเวณรอบท่อปัสสาวะ หรือเคยรับการฉายรังสีรักษาบริเวณนั้นมาก่อน 3. ปัสสาวะราด คือเมื่อปวด ปัสสาวะก็ไหลออกมาเลย โดยไม่สามารถกลั้นได้ โรคช้ำรั่ว ไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ มีผลต่อสุขภาพจิต และการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจที่จะเข้าสังคม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้ฃ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือน่าอับอาย เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หาย หรือทำให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ซึ่งการรักษามีหลายวิธี ทั้งการกินยารักษา การใช้ฮอร์โมนทดแทน การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการขมิบช่องคลอด หรือแม้แต่การผ่าตัด อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การลดน้ำหนัก อย่าให้ท้องผูก งดสูบบุหรี่ งดดื่มกาแฟ โซดา น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายบ่อยนอกจากนี้การสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติซึ่ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ศ.นพ.วชิร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาทีทำให้ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งคือ ผู้ป่วยมีอาการแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี คุณภาพชีวิต ทั้งความเป็นอยู่ การทำงานแย่ลง สูญเสียความมั่นใจ และสิ้นเปลืองกับการซื้อผ้าอ้อม ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้จัดงานเสวนา Check in OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้ เจาะลึก รู้จริง เข้าใจเรื่องโรค OAB โดยมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลรามาธิดีมาให้ความรู้ และ Check List กลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็น และเปิดประสบการณ์ตรงเตรียมพร้อมรับมือกับ OAB จากดารารับเชิญสุดพิเศษคุณตุ๊ก ดวงตาตุงคะมณี และ คุณคัดกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง (เมจิ) พร้อมพบกับกิจกรรมดนตรี “สุขาอยู่หนใด” จากศิลปิน เบล สุพล ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00-16.30 น. ณ บริเวณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 7 เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้ – 18 พฤศจิกายน 2560 โทร. 083-291-1188 ระหว่างเวลา 10.00–18.00 น. หรือลงทะเบียนผ่านอีเมล์ OABThai@gmail.com หรือ https://goo.gl/hxEtGB ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder หรือ OAB) หรือเรียกว่า “ โรคช้ำรั่ว” สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเป็นกลุ่มอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ที่มีอาการทั่วไปอยู่ 4 ลักษณะ คุณอาจมีอาการอย่างน้อยหนึ่งลักษณะ ดังอธิบายไว้ด้านล่างเป็นประจำทุกวัน หรืออาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ไม่แน่นอน ▪ปัสสาวะรีบเร่ง: เป็นความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรง จนไม่สามารถรอได้ (คนปกติจะสามารถกลั้นปัสสาวะและชะลอการขับปัสสาวะได้) ▪ปัสสาวะบ่อย: การที่ต้องปัสสาวะที่บ่อยกว่าปกติ คือ มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน (24 ชั่วโมง) ▪กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ / เล็ดราด: อาจมีการเล็ดราดของปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยการเล็ดราดนี้ไม่สามารถควบคุมได้ จากความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลัน▪ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน: การตื่นขึ้นมาเพื่อไปปัสสาวะตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในช่วงกลางคืนผลกระทบของภาวะโอเอบี (OAB) แม้ว่า OAB จะไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน ทั้งด้านกิจวัตรที่บ้านและความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพกายและจิตใจ สังคม รวมถึงการประกอบอาชีพ หากไม่ได้รับการรักษา อาการเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่ก่อความรำคาญ อาจเลวร้ายลงจนส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ คนที่มีภาวะ OAB มักมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต โดยมักจะวนเวียนอยู่บริเวณห้องน้ำ วางแผนประจำวันเรื่องการเข้าห้องน้ำ และรู้สึกเสี่ยงเกินไปที่จะออกจากบ้านไปทำธุระหรือออกกำลังกาย เพราะกังวลกับการต้องหาห้องน้ำให้ทันเวลา ภาวะ OAB ยังอาจทำให้การทำงานลำบากขึ้น การตื่นนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ ทำให้ประสิทธิผลของการทำงานลดลงผลกระทบทางอารมณ์ คุณอาจเคยรู้สึกวิตกกังวล กระอักกระอ่วน ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เนื่องจากการรบกวนชีวิตประจำวันจาก OAB หรือพยายามซ่อนเร้นอาการไว้ ทำให้อยากหลบเลี่ยงการเข้าสังคม รวมถึงเพื่อนฝูงและครอบครัว ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญในชีวิต ผู้ที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของ OAB อาจกลัวว่าคนอื่นจะได้กลิ่นของปัสสาวะหรือกังวลว่าจะปัสสาวะเลอะเสื้อผ้า ผลกระทบทางร่างกาย ผู้ที่มีภาวะ OAB อาจเกิดการหกล้ม และส่งผลให้กระดูกหักจากการรีบไปเข้าห้องน้ำกลางดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งหากต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกหักในผู้สูงอายุ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์อื่นได้ นอกจากนี้อาจเกิดผื่นผิวหนัง และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ เนื่องจากมีการเปียกปัสสาวะบ่อยโดยบังเอิญ และการทำความสะอาดที่มากเกินไปด้วยน้ำและสบู่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียปัจจัยเสี่ยงของภาวะโอเอบี (OAB) ▪อายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับผลกระทบจาก OAB ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า OAB เป็นเรื่องปกติหรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่ออายุมากขึ้น▪นิสัยการบริโภคอาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารที่ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะในปริมาณมาก เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และอาหารมีเครื่องเทศมาก รวมทั้ง การดื่มน้ำมากเกินไปอาจทาให้อาการ OAB ในบางคนแย่ลง▪การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร มีรายงานว่าหญิงตั้งครรภ์มักมีอาการของ OAB ชั่วคราว อาจพบการเล็ดราดของปัสสาวะได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของอายุครรภ์ และการคลอดทางช่องคลอดอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการ OAB ได้▪วัยหมดประจำเดือน อาการช่องคลอดแห้งที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือนอาจระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และส่งผลต่อการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และนำไปสู่การปวดปัสสาวะรีบเร่งและบ่อยได้▪ภาวะทางการแพทย์ภาวะทางการแพทย์หรือโรคบางชนิด เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis; MS) การบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือ การได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน อาจลดคุณภาพของการควบคุมกระเพาะปัสสาวะจากสมอง ส่งผลให้เกิดการเล็ดราดของปัสสาวะได้▪ การใช้ยา ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับการปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันหรือปวดปัสสาวะบ่อย เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อทางเลือกในการรักษา OABการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต▪ควรดื่มน้ำวันละ 1.5-2 ลิตรต่อวัน ▪ดื่มน้ำให้น้อยลงทั้งก่อนและระหว่างการเดินทางที่ใช้เวลานาน▪ ดื่มน้ำให้น้อยลงในตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงการปัสสาวะในตอนกลางคืน ▪ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากจะเพิ่มการผลิตปัสสาวะและระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ ▪ การลดสารให้ความหวานเทียม อาหารรสเผ็ด ผลไม้และน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวในอาหาร อาจช่วยให้อาการ OAB ดีขึ้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ ▪รักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การลดน้ำหนักตัว อาจทาให้อาการปัสสาวะเล็ดราดทุเลาได้ การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจอ่อนแอลงตามอายุ การขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เรียกว่า การบริหารแบบคีเจล "Kegel" สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดกลับมาแข็งแรงขึ้น แต่ต้องฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ การใช้ยารักษา OABหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว หากอาการของคุณยังไม่ดีขึ้น ในปัจจุบันก็มียาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการของ OAB หลายตัว อย่างไรก็ตาม คุณอาจพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้เช่นกัน เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ปัสสาวะคั่งหรือปัสสาวะไม่ออก ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุดหากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาด้วยยา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคุณได้ ยังมีทางเลือกอื่นๆ ได้แก่- การฉีดสารโบทูลินัม ท็อกซิน (botulinum toxin) หรือโบท็อกซ์ ปริมาณต่ำเข้ากระเพาะปัสสาวะซึ่งจะช่วยหยุดการบีบตัวที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะโดยค่อย ๆ ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง- การกระตุ้นประสาท โดยฝังเครื่องส่งสัญญาณขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกาย เพื่อควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ- การผ่าตัด มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บปัสสาวะและลดแรงบีบในกระเพาะปัสสาวะ โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะถูกเลือกใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเมื่อคุณเข้าใจดีขึ้นเกี่ยวกับภาวะโอเอบี (OAB) และการรักษาแล้ว หากคุณมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะ OABคุณควรรีบปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดรักษา และเชื่อมั่นว่าอาการของคุณจะดีขึ้น ! « Last Edit: November 20, 2017, 03:45:20 PM by happy » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » พบคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนเป็นโรคช้ำรั่ว หรือ โอเอบี เพิ่มขึ้น ชี้80%