happy on November 13, 2017, 02:59:39 PM


วีซ่าประกาศรับใบอนุญาตเป็นเครือข่ายจัดการ
ธุรกรรมการเงินผ่านบัตรเดบิตในประเทศไทย



วีซ่าเดบิต จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน ส่งเสริมระบบความปลอดภัย และนำนวัตกรรมการชำระเงินที่ทันสมัยสู่ประเทศไทย เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National ePayments Plan)


จากซ้ายไปขวา:
   คริส คลาร์ก รองประธานบริหาร และ กรุ๊ปเอคเซ็คคิวทีฟ เอเชียแปซิฟิค วีซ่า
   ฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
   ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย

กรุงเทพฯ, 13 พฤศจิกายน 2560 – วีซ่า บริษัทผู้ให้บริการด้านการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลระดับโลก ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเครือข่ายบัตรเดบิต ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด วีซ่าจะสามารถให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านผลิตภัณฑ์วีซ่า เดบิต แก่ธนาคาร สถาบันการเงิน และร้านค้าในประเทศไทยเพื่อขยายการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลให้แก่ลูกค้าชาวไทยอย่างครอบคลุม

บัตรวีซ่าเดบิตช่วยให้ผู้ถือบัตรสามารถบริหารจัดการและชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารของพวกเขาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยยังสามารถใช้ในการชำระเงินไปผ่านจุดชำระเงินต่างๆ ที่รับบัตรวีซ่าได้ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบออนไลน์หรือมากกว่า 40 ล้านร้านค้าทั่วโลก



สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคต้องการความรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัยต่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในประเทศไทย ทำให้เราเล็งเห็นถึงความต้องการการใช้โซลูชั่นการชำระเงินอย่าง วีซ่า เดบิต มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการที่โลกแห่งการค้าขายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วีซ่า เดบิตจึงเหมาะแก่การใช้ชำระเงินได้ทั้งในรูปแบบบัตรพลาสติก นำไปผูกกับบัญชีในระบบดิจิตอลสำหรับรองรับการใช้ QR Code หรือการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น โดยผู้ถือบัตรยังคงได้รับสิทธิพิเศษและสิทธิประโยชน์เช่นเดิม”

ใบอนุญาตเดบิตที่วีซ่าได้รับ ช่วยให้วีซ่าสามารถเข้าร่วมในตลาดเดบิตในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่และยังสามารถช่วยสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National ePayment Plan)

“ด้วยการถือใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจบัตรเดบิตในประเทศไทย วีซ่าสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและขยายการเข้าถึงการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อสร้างระบบการชำระเงินแบบครบวงจรและเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน วีซ่าเดบิตจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนระบบการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ และช่วยให้คนไทยมีความมั่นใจในเรื่องการวางแผนและใช้เงินมากขึ้น” สุริพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม

ในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา วีซ่า พร้อมด้วยสถาบันทางการเงิน และพันธมิตรร้านค้าได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มจำนวนบัตรและขยายจุดรับบัตร การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคและร้านค้าเกี่ยวกับประโยชน์ของการการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำเสนอนวัตกรรมการชำระเงินในรูปแบบใหม่ๆ

วีซ่าดำเนินธุรกิจในรูปแบบเครือข่ายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  มีการประมวลผลการชำระเงินมากกว่า 9.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  ผ่าน VisaNet (วีซ่าเน็ท) ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนาเพื่อป้องกันการโจรกรรมทางการเงินให้แก่ผู้ถือบัตรและสร้างความมั่นใจว่าการชำระเงินส่งถึงมือร้านค้า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากวีซ่าทั้งในเรื่องความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างระบบการชำระเงินแบบยั่งยืน ที่สั่งสมมามากกว่าครึ่งศตวรรษ


###

เกี่ยวกับวีซ่า

วีซ่าคือบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก แก่ลูกค้าบุคคล ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ตลอดจนองค์กรรัฐ ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีด้านเงินตราดิจิตอลที่รวดเร็ว ปลอดภัย และวางใจได้  โดยมี VisaNet หนึ่งในระบบเครือข่ายการทำงานด้านเงินตราดิจิตอลที่ทันสมัยมากที่สุดระบบหนึ่งของโลกเป็นรากฐาน ซึ่งสามารถประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมได้กว่า 65,000 รายการในหนึ่งวินา  ที พร้อมด้วยระบบป้องกันการปลอมแปลงสำหรับลูกค้าบุคคล และการรับประกันการชำระเงินสำหรับร้านค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและมิได้มีบริการการออกบัตร เพิ่มวงเงินเครดิต หรือกำหนดอัตราค่าบริการแก่ผู้ถือบัตร หากแต่ให้บริการนวัตกรรมซึ่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น บริการชำระเงินจากยอดเงินในบัตรเดบิตหรือการใช้จ่ายด้วยวงเงินล่วงหน้าผ่านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตต่าง ๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่า อ่านได้ที่: www.visa.co.th www.visaapnewsroom.com และ @VisaNews บนทวิตเตอร์

ข้อมูลจากยอดรวมการชำระเงิน ยอดรวมทั้งหมด จำนวนธุรกรรมทางการเงินและจำนวนบัตรพลาสติกที่หมุนเวียนในระบบ
ข้อมูล VisaNet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560