MSN on November 03, 2017, 02:32:09 PM
“รักลูก Gen Z ? ให้ถูกทาง” กระตุกต่อมคิดพ่อแม่ยุคโซเซียล บททดสอบสถาบันครอบครัวในมุมมอง “Warwick Institute -โรงเรียนเตรียมอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์”


สำนวนกรีกโบราณ ให้คำนิยามของคำว่าโชคดีอย่างน่าขบคิดเอาไว้ว่า
โชคดี = โอกาส + การเตรียมตัวที่ดี
เมื่อพ่อแม่มอบโอกาส ลูกต้องมีการเตรียมตัวที่ดี
เพื่อเป็นผู้นำความโชคดี...มาสู่ตัวเอง


การเตรียมตัวที่ดี จะนำความโชคดีมาสู่ตัว


จุฬา - ธรรมศาสตร์


ตั้งเป้าหมายและทำให้ถึงฝันการสอบเข้ามหาลัย



บรรยากาศงานประชุมผู้ปกครอง ในหัวข้อ Fight for Your Dream


สู้เพื่อฝั่งฝัน


เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิชัย ไชยวินิจ ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวอร์ริค (Warwick Institute - โรงเรียนเตรียมอินเตอร์จุฬา-ธรรมศาสตร์)  ได้กล่าวในงานประชุมสมาคมผู้ปกครองโรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “Fight for Your Dream โปรแกรมอินเตอร์จุฬาฯ -ธรรมศาสตร์” ว่า “สำหรับเด็กนักเรียนแล้ว การสอบเข้ามหาวิทยาลัยถือว่ามีความสำคัญมาก เสมือนเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้งหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการที่เด็กนักเรียนจะสามารถ ไปให้ถึงฝันได้นั้น นอกจากต้องขยันสุดชีวิตแล้ว ความท้าทายและการสนับสนุนอย่าง ชาญฉลาดจากพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการส่ง “รัฐนาวาลำน้อย” นี้ให้ไปถึงฝั่งฝันแรกของชีวิต

 “ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่า 250 คำถามจากผู้ปกครองและนักเรียน ที่มาปรึกษา เรื่องการสอบเข้าโปรแกรมอินเตอร์จุฬาฯ และธรรมศาสตร์กับสถาบัน Warwick Institute เราได้นำคำถามทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่เป็น 4 หัวข้อ แล้วนำมาสร้างเป็น workshop เพื่อให้ความกระจ่างกับ นักเรียน และให้ข้อคิดกับผู้ปกครองครอบคลุมในทุก ๆ แง่มุม

โดยเฉพาะ “สิ่งที่เด็กๆจะต้องรู้ และ เรื่องที่พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วม”

เริ่มจาก “เด็กฝันว่าอยากเป็นอะไรในอนาคต” จุดที่น่าคิดคือเด็กบางคนมีความฝันมากมายจนเลือกไม่ถูก ขณะที่เด็กส่วนหนึ่งยังหาความฝันไม่เจอ พ่อแม่จึงต้องช่วยให้ลูกๆ ค้นหา ให้เจอว่าพวกเขาชอบอะไรและไม่ชอบอะไร และไม่พยายามยัดเยียดความฝันของตนเข้าไปในหัวลูก เพราะนี่คือสิ่งที่จะกำหนดอนาคตของเด็กไปชั่วชีวิต

เมื่อรู้เป้าหมายแล้วจึงเริ่ม “เลือกคณะที่จะสอบเข้าเรียน” คณะไหนตอบโจทย์ความฝัน ได้ดีที่สุด อย่างเช่นเด็กที่ต้องการสอบเข้าภาคอินเตอร์ของจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ควรรู้ว่า มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีโปรแกรมอินเตอร์นับรวมกันได้ 34 คณะ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคณะ อันได้แก่ (1) art and design schools (2) medical, science and engineering schools   (3) language schools (4) business schools และ (5) social sciences school  ซึ่งมีความ เป็นไปได้สูงที่จะมีมากกว่า 1 คณะที่สามารถรองรับความฝันของเด็ก จงเลือกคณะที่ตอบโจทย์ความฝันได้ดีที่สุด และเลือกคณะที่สอดคล้องใกล้เคียงเผื่อไว้ด้วยด้วยรวมเป็น 5 คณะ อย่าเสี่ยงเลือกไปเพียงคณะเดียวเด็ดขาด

จากนั้นดูว่า “แต่ละคณะมีเกณฑ์การรับสมัครอย่างไร และมี requirement อะไรบ้าง” ต้องดูให้ละเอียดว่า requirement มีคะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่ สามารถเอาอะไรยื่นแทนกันได้บ้าง โดยปกติแล้วในกลุ่มคณะเดียวกันจะมี requirement คล้ายคลึงกัน ดังนัั้นเด็กต้องวางแผนจัดกลุ่ม วิชาที่จะใช้ยื่นและเตรียมตัวให้ดี อย่าทำงานหนักเกินกว่าเหตุ คือ สอบหลาย ๆ วิชาอย่างไม่จำเป็น แต่จงจัดกลุ่มให้สอบน้อยวิชา แต่ทำคะแนนให้สูงที่สุด

สุดท้ายคือการ “วางแผนการเรียนให้กับเด็ก” จากประสบการณ์ของ  Warwick Institute ถ้าเด็กเรียนเร็วและทำคะแนนสอบเข้าเกณฑ์แล้ว ก็สามารถเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี ดังนั้น เด็กที่มีคะแนนถึงก่อนก็สามารถไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างสบาย ๆ เพราะการมีคะแนนสูงพอก็ เหมือนกับเรามีโอกาสสูงมากที่จะมีที่นั่งในโปรแกรม อินเตอร์จุฬา-ธรรมศาสตร์เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องมาเครียดเมื่ออยู่ชั้น
ม.6  เด็กส่วนใหญ่มักจะมาเตรียมตัวกันตั้งแต่ ม.4 เพื่อให้ได้คะแนน สูงที่สุดอันนำไปสู่การมีโอกาสเอนท์ติดคณะในฝันได้มากที่สุด ส่วนใครอยากไปเป็นนักเรียน แลกเปลี่ยน AFS ตอน ม.ปลาย ก็ควรเริ่มเตรียมตัวปั่นคะแนนกันตั้งแต่ ม.3

นายอภิชัย เน้นย้ำในการประชุมผู้ปกครองว่า หน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่จบแค่นั้น พวกเขายังมีบทบาทที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก คือ  “การท้าทายลูกๆ ให้รู้จักวางเป้าหมายให้ไกล และไปให้ถึงฝัน” ในชีวิตคนเรามีโอกาสอยู่ไม่กี่ครั้งที่จะพลิกชีวิต หนึ่งในนั้นคือการสอบเข้า มหาวิทยาลัย คุณต้องกล้าท้าทายให้ลูกตั้งเป้าให้สูงที่สุด ให้เขาทำให้ดีที่สุด ให้เขาเปลี่ยนตัวเองเพื่อ โอกาสในชีวิตที่ดีที่สุด

อีกสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ “การสนับสนุนลูกๆอย่างชาญฉลาด” รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะสนับสนุนและเมื่อไหร่ที่ควรให้เขาเอาชนะความท้าทายนั้นด้วยตัวเอง พ่อแม่ต้องรู้จักวิธีให้ความรัก ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ รู้จักกอดลูก ฉุดเขาขึ้นมาจาก คราบน้ำตาและความท้อแท้ เราต้องสอนให้เด็กไม่ยอมแพ้และพยายามสอบต่อไปจน กว่าจะถึงวินาทีสุดท้าย ในช่วงเวลานี้ควรให้เวลาลูกเพิ่มขึ้นและอย่าซ้ำเติมลูกเมื่อคะแนนไม่ดี

   สุดท้ายคือ “การเริ่มโดยไม่รอ” บอกลูก ๆ ว่า พ่อกับแม่ให้ได้แค่โอกาสที่ลูกจะได้เตรียมตัวดี ๆ มีโอกาสได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จงอย่าคิดว่าพ่อแม่มีเงินแล้วจะทำทุกฝันของลูกให้ เป็นจริงได้ โดยเปิดช่องว่าหากเอนท์ไม่ติดจะส่งไปเมืองนอก หากลูกฝันอยากเข้าภาคอินเตอร์จุฬา-ธรรมศาสตร์ ลูกต้องทำด้วยตัวเอง เริ่มต้นจากการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ

ทั้งนี้ นายอภิชัย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ปัจจุบัน Warwick Institute ได้จัด workshop ฟรีเกี่ยว กับการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อโปรแกรมอินเตอร์จุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ แก่นักเรียนและผู้ปกครอง ความยาวประมาณ 2 ชั่วโมง จัดขึ้น 7 รอบต่อสัปดาห์ ทุกคำถามที่เด็กและผู้ปกครองมี จะได้รับคำตอบจนหมดข้อสงสัย และได้ข้อคิดดีๆ ในการท้าทายและการสนับสนุนบุตรหลานในช่วงหัวเลี้ยว หัวต่อแห่งความสำเร็จของชีวิตพวกเขา เพื่อให้เขาสามารถเอนท์ติดได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

Editor Note


ประวัตินายอภิชัย ไชยวินิจ: ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Warwick Institute

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโททางด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารกับผู้เรียนเพื่อการศึกษา และการพัฒนาภาวะผู้นำในผู้ใหญ่  ปัจจุบันเขากำลังทำปริญญาเอกด้าน Adult Learning and Leadership ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
« Last Edit: November 05, 2017, 12:14:56 PM by MSN »