enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » พนัส แอสเซมบลีย์ ประกาศผลสุดยอดสตาร์ทอัพ LogTech พร้อมเปิดตัวกองทุนนวัตกรรมโลจิส « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on October 30, 2017, 02:05:28 PM พนัส แอสเซมบลีย์ ประกาศผลสุดยอดสตาร์ทอัพ LogTech พร้อมเปิดตัวกองทุนนวัตกรรมโลจิสติกส์ ลงทุนจริง ต่อยอดธุรกิจจริงผ่านโมเดล Corporate Venture Capital (CVC)พนัส แอสเซมบลีย์ ประกาศผลการประกวดโครงการ Panus Thailand LogTech Award 2017 พร้อมติดสปีดเคลื่อนไหวต่อเนื่องด้วยการตั้งกองทุนนวัตกรรมโลจิสติกส์ PANUS Logistics Innovation Fund หนุนส่งผู้ประกอบการ LogTech ไทยให้แจ้งเกิด และร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างจริงจัง ล่าสุดนำร่องร่วมทุนแล้ว 2 บริษัท ก่อนตกผลึกไอเดียสุดเจ๋งเป็นนวัตกรรมอัจฉริยะ ‘LogiSenses’ โดยมี AIS ให้การสนับสนุนเทคโนโลยี NB IoT พร้อมต่อยอดให้บริการระบบบริหารอุปกรณ์ภาคพื้นในสนามบิน เตรียมเริ่มทดลองให้บริการ ในพื้นที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ โครงการ Panus Thailand LogTech Award 2017 ริเริ่มดำเนินการโดยบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ผู้นำตลาดในภาคธุรกิจขนส่ง และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพด้านธุรกิจโลจิสติกส์ (LogTech) เป็นรายแรกของประเทศไทย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไปที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการได้คัดเลือก ทีมที่ผ่านเข้ารอบเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม LogTech Boot Camp พร้อมมอบคำแนะนำเพื่อให้ทุกทีมนำไปปรับปรุง ผลงานและแผนธุรกิจ ก่อนนำเสนอผลงานในการแข่งขันรอบพิชชิ่งที่จัดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานายพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการ Panus Thailand LogTech Award 2017 ซึ่งเป็นเวทีประกวดแนวคิดธุรกิจและโครงการด้านธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ทำให้ได้เห็นถึงศักยภาพของคนไทยในการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ เช่น หุ่นยนต์ลำเลียงสินค้า ซอฟต์แวร์บริหารระบบสินค้าคงคลัง อากาศยานไร้คนขับสำหรับขนส่งสินค้า ระบบบริหารการขนส่งและเก็บรักษาสินค้าแบบ Cold Chain เป็นต้น “สิ่งที่เราภูมิใจคือ นิสิตนักศึกษาไทย รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่เข้าร่วมประกวด ล้วนมีแนวคิดที่ล้ำหน้า ทันสมัย ไม่แพ้ต่างประเทศเลยทีเดียว แต่ละทีมต่างเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมาช่วยแก้ปัญหา ด้านโลจิสติกส์ให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งนี้ ทุกทีมที่เข้าร่วมการประกวดมีโอกาสที่จะได้เจรจา ร่วมทุนทางธุรกิจด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งถือเป็นเจตนารมณ์ของบริษัทในการสร้างสตาร์ทอัพพันธุ์ใหม่ ที่จะมาช่วยกันผลักดัน นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ให้เป็นไปได้จริงในเชิงธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ภาคการขนส่งของประเทศให้แข็งแกร่ง”ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเสริมว่า การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ด้าน LogTech ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้กลไกการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ เพื่ออนาคตดำเนินไปอย่างราบรื่นตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้ จากผลการประกวดโครงการ Panus Thailand LogTech Award 2017 ปรากฏว่าทีม อินเท็นติก ชนะเลิศประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร ทั้งยังได้รับโอกาสในการไปดูงานโลจิสติกส์โลกที่ประเทศเยอรมนี ส่วนที่สอง คือ ทีม Jump up ได้รับเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาท ได้รับโอกาสในการไปดูงานโลจิสติกส์โลกที่ประเทศเยอรมนี และที่สาม คือ ทีม HexSense ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท ได้รับโอกาสในการไปดูงานโลจิสติกส์โลกที่ประเทศเยอรมนี ประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีม 360 Truck ชนะเลิศ รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตรการเข้าร่วมแข่งขันประกวดผลงาน ส่วนที่สอง คือ ทีม Smat Wheel ได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตรการเข้าร่วมแข่งขันประกวดผลงาน และที่สาม คือ ทีม BPT ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตรการเข้าร่วมแข่งขันประกวดผลงานพร้อมกันนี้ เพื่อวางรากฐานอนาคตของสตาร์ทอัพด้านธุรกิจโลจิสติกส์ พนัส แอสเซมบลีย์ฯ จึงได้เปิดตัวโครงการ PANUS Logistics Innovation Fund หรือ กองทุนนวัตกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อพิจารณาร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการด้าน LogTech ทั้งที่มาจากเวทีการประกวดและผู้ประกอบการภายนอก ในวันดังกล่าวด้วยนายอัครพงศ์ ผ่องสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ (CCO) บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ในฐานะผู้ก่อตั้งโครงการกองทุนนวัตกรรมฯ กล่าวว่า จากความตื่นตัวของผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมโลจิสติกส์ และด้วยตระหนักในศักยภาพความเป็นไปได้ทางด้านธุรกิจ ทางบริษัทจึงได้ก่อตั้งกองทุน PANUS Logistics Innovation Fund หรือ กองทุนนวัตกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Corporate Venture Capital (CVC) ขึ้นมา เพื่อเป็นการต่อยอด สนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีวิสัยทัศน์ มีนวัตกรรม และมีแนวคิดที่ดีที่สามารถผลักดันผลงานออกสู่ตลาด ในเชิงธุรกิจได้ แต่อาจขาดปัจจัยสำคัญ เช่น แหล่งเงินทุน แผนการตลาด รวมถึงพี่เลี้ยงคอยชี้แนะและวางแผนธุรกิจ กองทุน PANUS Logistics Innovation Fund จะเข้ามาตอบโจทย์และปิดจุดอ่อนดังกล่าว ถือเป็นการสนับสนุนให้วงการ สตาร์ทอัพไทยพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงต่อยอดสินค้าและบริการ ในอุตสากรรมโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนในระยะยาว“กองทุน PANUS Logistics Innovation Fund ของ พนัส แอสเซมบลีย์ฯ ให้ความสำคัญอย่างมากต่อ Logistics Intelligence (LI) ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์และเป็นการนำศักยภาพสูงสุดของเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มาเป็นกลไก ในการให้บริการด้านโลจิสติกส์ โดยสร้างระบบนิเวศน์ที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Metrics Reference Model) การใช้เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Big Data Analytics) การนำเสนอข้อมูลและระบบแนะนำอัจฉริยะ (Intelligent Visualization and Recommendation System) การสร้างซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Groupware) การวิเคราะห์โลจิสติกส์ย้อนกลับอัตโนมัติ (Automatic Reverse Logistics) และการจัดการองค์ความรู้เพื่อการความยั่งยืน (Knowledge Managements) นอกจากนี้ ยังสร้างกลยุทธ์ในการนำลูกค้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานผ่านการสื่อสารด้วยโมบายแอปพลิเคชั่น และประยุกต์ เทคโนโลยีกำเนิดใหม่ (Emerging Technology) อาทิ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) การตรวจวัดสภาพรถแบบเรียลไทม์และพฤติกรรมผู้ขับขี่อัจฉริยะ (Fog-Computing Based Track and Human Analysis) และโซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้ส่งและผู้รับทั่วโลกสามารถเลือกรูปแบบการส่งจากตัวเลือกมาตรฐานให้ตรงกับความต้องการ (On-Demand Delivery) Logistics Intelligence ถือเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มาเป็นกลยุทธ์และวิธีการ ในการยกระดับโลจิสติกส์ให้ทันสมัยตั้งแต่การสินค้าแวร์เฮ้าส์จนถึงมือลูกค้า”ปัจจุบัน กองทุนนวัตกรรมฯ ได้พิจารณาร่วมลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพด้าน Logistics Intelligence (LI) ไปแล้วจำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท โลจิเซ้นส์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์โลจิสติกส์ (Hardware Logistics Intelligence) สำหรับบริหารรถขนส่งด้วยกล่อง IoT GPS และบริษัท เครส เคอร์เนล จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจด้านซอฟต์แวร์โลจิสติกส์ (Software Logistics Intelligence) สำหรับการบริหารธุรกิจขนส่งประสิทธิภาพสูง โดยทั้งสองบริษัท ได้ร่วมมือกันเปิดตัวบริการ ‘LogiSenses’ ซึงเป็นบริการ IoT GPS พร้อมระบบซอฟต์แวร์ บริหารธุรกิจขนส่งประสิทธิภาพสูง ภายใต้คอนเซ็ปท์ ‘LogiSense – all senses of logistics’ นับเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย ที่ให้บริการ GPS รถขนส่งด้วยเทคโนโลยี NB IoT ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก AIS ผู้นำด้านนวัตกรรมการสื่อสารไร้สายอันดับ 1 ของประเทศไทย โดย ‘LogiSenses’ และ AIS NB IoT ได้ร่วมทำการออกแบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่เหมาะสมในการใช้งาน พร้อมทั้งได้ทดสอบด้านเทคนิคขั้นต้นร่วมกันแล้ว และจะเริ่มทดลองให้บริการแก่อุปกรณ์ภาคพื้นในสนามบิน (Ground Support Equipment, GSE) ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นแห่งแรก และจะขยายไปยังทุกสนามบินหลัก พร้อมทั้งรถขนส่งประเภทอื่นๆ ต่อไป « Last Edit: October 30, 2017, 02:09:52 PM by news » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » พนัส แอสเซมบลีย์ ประกาศผลสุดยอดสตาร์ทอัพ LogTech พร้อมเปิดตัวกองทุนนวัตกรรมโลจิส