news on October 02, 2017, 09:12:42 AM


ผศ.ดร.สุรพงษ์  เลิศสิทธิชัย ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ศ.ดร. พญ. รวงผึ้ง  สุทเธนทร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล


ผู้เข้ารอบสุดท้ายโครงการ MU Design Thinking Workshop ทั้งหมด 12 ผลงาน



กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขา


โครงการ Pharmaget ผู้ชนะเลิศรางวัลอันดับที่ 1



รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 โครงการ เศษผักจัดการได้



รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3  โครงการ ALCohol Alert



ช่วงถาม-ตอบ


ข่าวประชาสัมพันธ์ มหิดล เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยพัฒนาผู้ประกอบการ จัด MU Design Thinking Workshop หวังปั้นผู้ประกอบการ Startup และเริ่มต้นต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมรับยุค Thailand 4.0



























ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบรางวัล “MU Design Thinking Workshop” ประกาศ 4 สุดยอดไอเดียหรือผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ชนะการประกวด จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 600 คนที่ได้นำเอากระบวนการ Design Thinking มาใช้ในการสร้างสรรค์ไอเดียและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากกว่า 20  ผลงาน ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ และสร้างผู้ประกอบการ Startup รองรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมของรัฐบาลตามนโยบายThailand 4.0

โดยผลงานที่ชนะเลิศได้รับรางวัลอันดับที่ 1 ได้แก่ โครงการ Pharmaget หรือ Pharmacy Marketplace Platform การนำระบบ Website และ Application Platform มาเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทผู้ผลิตยาและร้านขายยารายย่อยเพื่อรองรับพฤติกรรมเจ้าของร้านขายยากลุ่ม Gen-Y สำหรับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่โครงการ “เศษผักจัดการได้” แนวคิดในการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะอินทรีย์ด้วยการนำมาเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ให้สามารถผลิตกรด Citric ซึ่งมีความต้องการจากกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลาย นอกจากจำกัดขยะได้ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขยะได้มากกว่าระบบการจัดการขยะที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้ง ลดการนำเข้ากรดดังกล่าวจากต่างประเทศได้ ส่วนรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 มีจำนวน 2  รางวัลได้แก่ โครงการ The Silent Alert อุปกรณ์สวมใส่พร้อม Mobile Application เพื่อช่วยคนหูหนวกให้รับรู้ถึงสัญญาณเตือนภัยรอบๆ ตัวได้ โดยอุปกรณ์จะทำงานด้วยการจับคู่ ลักษณะคลื่นเสียงที่ได้รับ กับคลื่นเสียงสัญญาณเตือนภั ยมาตรฐานต่างๆ เช่น สัญญาณไฟไหม้ เสียงบีบแตร เสียงนกหวีด พร้อมกับการสั่นและแสดง icon หรือ ข้อความ เพื่อเตือนผู้ใส่ให้รับรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์รอบข้างได้  และโครงการ ALCohol Alert เป็นไอเดียการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับวัดปริมาณแอลกอฮอล์และแอพลิเคชั่นเชื่อมต่อเพื่อคำนวณ ประมวล แปรผล และบันทึกสถิติปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายและพฤติกรรมการดื่ม

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า “MU Design Thinking Workshop” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ Entrepreneurship Education ที่ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ดำเนินการร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (INNOTECH) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ในการก้าวสู่มหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) ในอนาคต

กิจกรรม MU Design Thinking Workshop มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิเคราะห์ (Creative and Critical Thinking) และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกิจกรรมนี้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก นักวิจัยและบุคลากร รวมถึงบุคคลภายนอกที่สนใจ รวม 600 คน โดยจัดเป็น series 4 รอบ และรอบภาษาอังกฤษอีก 1 รอบ โดยวิทยากรหลักคือ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking ซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกๆ ที่จบการศึกษาด้าน Design Thinking จากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีประสบการณ์ด้านนี้มากกว่า 20 ปี

นอกจากนี้ ในกิจกรรมยังได้เชิญวิทยากร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ Startup ที่ได้นำเอากระบวนการDesign Thinking ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจและการทำงาน เช่น Startup กลุ่มนักออกแบบ นักไอที นักวิชาการ เป็นต้น ซึ่งแต่ละรอบผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้จากประสบการณ์ของวิทยากรรับเชิญในบริบทที่แตกต่างกัน

สำหรับเนื้อหาหลักในกิจกรรม มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ค้นหาแนวทางในการสร้างธุรกิจ เริ่มจากปัญหาที่พบ แล้วจึงนำไปสู่การตั้งโจทย์และการหาแนวทางแก้ไข (Solution) โดยผู้จัดได้มี Mentor (ที่ปรึกษา) คอยช่วยแนะนำในการตั้งโจทย์เพื่อหาโจทย์ชัดเจน หรือตั้งโจทย์ให้เป็น โดยแบ่งการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดความหลากหลายในมุมมอง

จากการอบรมที่ผ่านมา ได้เกิดไอเดียหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากกว่า 20 ผลงาน ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้จัดกิจกรรม Pitching และพิธีมอบรางวัล MU Design Thinking Workshop ทั้งนี้เพื่อคัดสรรโครงการที่มีคุณภาพที่พร้อมพัฒนาต่อยอดเพียง 12 ผลงานและมอบรางวัลให้ผลงานที่สุดยอดเพียง 4 ผลงาน โดยโครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลอันดับที่ 1 จะได้รับโล่เกียรติยศพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท  รางวัลชนะเลิศรางวัลอันดับที่ 2 ได้รับโล่เกียรติยศพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท และรางวัลชนะเลิศรางวัลอันดับที่ 3 จำนวน 2 โครงการ  ได้รับโล่เกียรติยศพร้อมเงินรางวัลๆ ละ 10,000 บาท   ซึ่งทั้ง 4 ผลงานที่ได้รับมอบรางวัลนี้สามารถต่อยอดเพื่อนำไปสู่การจดสิทธิบัตรหรือรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ดำเนินการโดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (INNOTECH) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย พร้อมกันนี้ยังอาจจะได้รับคัดเลือกจากผู้ที่เข้าชมงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือนำผลงานไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ได้ต่อไป

จากความสำเร็จเกินคาดสำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งแรกนี้ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยต่อว่า ในเร็วๆ นี้จะมีการเปิดอบรมอีกครั้ง คาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ จากนั้นจะมีการวางแผนการจัดโครงการในปีหน้า ซึ่งมีความตั้งใจจะจัดโครงการให้สมบูรณ์มากขึ้น เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการ Startup ที่สมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยังได้ให้มุมมองเกี่ยวกับกระบวนการคิดของเด็กไทยว่า การศึกษาไทยควรเริ่มพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์มากขึ้น คือการคิดวิเคราะห์และสามารถมองเห็นปัญหา เพื่อตั้งเป็นโจทย์ในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นการสร้างคนให้มีความคิดแบบ Entrepreneur ตั้งแต่ต้นทาง แทนที่จะพัฒนาในช่วงหลังจบอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาบุคคลากรของประเทศสู่กระบวนการคิดแบบ Design Thinking ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับของการสร้างผู้ประกอบการ Startup ในอนาคตนั่นเอง
« Last Edit: October 05, 2017, 08:46:55 AM by news »

news on October 02, 2017, 09:13:44 AM
เอกสารประกอบ รายละเอียด 12 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย และนำเสนอแผนธุรกิจให้คณะกรรมการพิจารณาในรอบ Pitching  เพื่อชิงรางวัลในรอบตัดสินของโครงการ MU Design Thinking Workshop  มีดังนี้

1.ทีม Team Name: 10K
หัวข้อโครงการ Project Topic: อุปกรณ์เตือนความจำ
ชื่อโครงการ Project Title: อุปกรณ์เตือนความจำทางการแพทย์
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 4. กฤตยา ชื่นงูเหลือ
2. สุปรีย์ บูรณะกนิษฐ์ 5. โชคชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์
3. ธีรเทพ ชนไมตรี

การหาโจทย์ Problem Statement:
ผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยเกษียณมักจะมีโรคประจำตัวที่ ต้องการการดูแลและการเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอโดยผู้สูงอายุเอง หากแต่ผู้สูงอายุหลายคนมักมีอาการ หลงลืมหรือไม่ทราบสถานะของสภาวะร่างกายของตนเอง ซึ่งน่าจะมีเครื่องมือเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้สูงอายุทราบว่า สถานะของสุขภาพผู้สูงอายุคนนั้นๆ เช่น การทำงานของหัวใจ การจับชีพจร การตรวจสอบความดันโลหิต หรือแม้แต่การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยที่อุปกรณ์นี้จะต้องสามารถพกพาได้และสามารถส่งข้อมูลนั้นไปยังครอบครัวหรือหน่วยพยาบาลได้
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
การหลงลืมในผู้สูงอายุ และ สภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงทุกวันของชีวิต ท่าให้ผู้สูงอายุหลายท่านไม่สามารถทราบถึงสภาวะทางสุขภาพของตนเอง เนื่องจากในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีนั้นมีความล้าสมัยมากขึ้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถน่ามาใช้ช่วยในการป้องกัน หรือ แจ้งเตือนแก่มนุษย์เพื่อให้ทราบถึงความผิดปกติต่างๆของสภาวะร่างกายที่เป็นอยู่ จากความหลงลืมของผู้สูงอายุ อุปกรณ์นี้สามารถพกพาติดตัวไปได้ทุกที่และมีการแจ้งเตือนที่ได้ผล การแจ้งเตือนทางสุขภาพนั้นจะมีการแจ้งเตือนในภาสวะที่ผิดปกติของร่างกาย เช่น เตือนการรับประทานยา ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ การวัดชีพจรหรือการเต้นของหัวใจว่าปกติหรือไม่ สภาวะผิดปกติต่างๆจะท่าการแจ้งเตือนผู้ใช้หรือครอบครัวและส่งข้อมูลไปยังโรงพยาบาลที่ผู้สูงอายุสังกัดอยู่ อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์แจ้งเตือนการนัดกับแพทย์ในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
ออกแบบอุปกรณ์ IoT ต้นแบบที่ติดกับร่างกาย หรือ พกพา เช่น หูฟังขยายเสียงที่มีรูปแบบเรียบง่ายแต่มี Sensor ที่ตรวจจับชีพจร อุณหภูมิภายนอก การทรงตัว( Gyro/Accelerometer) หรือเป็นนาฬิกาข้อมูลลักษณะแบบ Bracelet ท่าหน้าที่ตรวจจับความดันโลหิต อุปกรณ์ตัวอย่างที่ว่านี้ท่าหน้าที่เป็น Push Notification / Reminder / Health Monitoring / Regular – Emergency Phone Call โดยถือว่าเป็น Wireless IoT Device ที่ท่างานด้วยตัวเองหรือเชื่อมกับแอพก็ได้เช่นกัน โดยทีมได้ออกแบบและผลิตชิ้นงานและพิมพ์ต้นแบบจาก 3D Printer ทั้ง หูฟัง และ ก่าไรนาฬิกา

2. ทีม Team Name: Biomody
หัวข้อโครงการ Project Topic: เศษผักจัดการได้
ชื่อโครงการ Project Title:
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นางสาวกานต์รวี กิจขจรกุลภัทร 4. นางสาวพักตร์ จันทร์สว่างกูล
2. นางสาวประภาวีร์ วรกรรณ 5. นางสาววันนิสา เชื้อคง
3. นายถกล วิทยาธนรัตนา

การหาโจทย์ Problem Statement:
ปัจจุบันเศษผัก และขยะทางอินทรีย์จากการอุปโภคบริโภคในกรุงเทพฯ มีปริมาณมาก และเกิดขึ้นทุกวัน ขยะเหล่านี้ถูกนำไปกำจัดทิ้งด้วยวิธี อาทิ การฝัง การเผา หรือการนำไปทำเป็นปุ๋ย ถึงแม้จะเป็นวิธีการลดขยะอินทรีย์ได้ แต่ถือเป็นการดำเนินการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ท่าให้ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเหล่านี้ เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ดังนั้นหากมีวิธีที่สามารถลดขยะอินทรีย์เหล่านี้ และสามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าทางตลาดได้ ย่อมเป็นการแก้ปัญหาขยะอินทรีย์ในกรุงเทพฯที่ดี และก่อให้เกิดรายได้อีกด้วย
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
1. วิธีการอะไรที่สามารถกำจัดขยะ และสร้างมูลค่าจากการกำจัดขยะนั้นพร้อมๆกัน
2. วิธีการนี้ สามารถนำมาใช้จริงได้หรือไม่ในกรุงเทพมหานคร
3. วิธีการนี้ สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้หรือไม่
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
การออกแบบระบบถังรองรับขยะอินทรีย์จากกรุงเทพมหานคร โดยภายในถังมีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่เติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมภายในถังรองรับขยะ และสามารถผลิตกรดอินทรีย์ในปริมาณมาก ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ใช้พื้นที่แนวตั้ง และสามารถเพิ่มหน่วยการผลิตได้โดยการต่อเติมในแนวตั้ง ทำให้สามารถรองรับขยะได้ทุกวัน และใช้เวลาในการกำจัดขยะเพื่อให้ได้กรดอินทรีย์เป้าหมาย โดยประมาณหนึ่งสัปดาห์ ระบบดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ได้ในโรงอาหาร ครัวเรือน หรือโรงงาน จึงมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ
กรดอินทรีย์ที่ได้จากระบบเมื่อนำไปผ่านขั้นตอนการทำบริสุทธิ์ระดับอุตสาหกรรมแล้ว มีความคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด อีกทั้งประเทศไทยยังนำเข้ากรดอินทรีย์ระดับอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องการความบริสุทธิ์สูง จากต่างประเทศอยู่ จึงมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เป็นไปได้
จึงเป็นวิธีการที่สามารถกำจัดขยะอินทรีย์ และก่อให้เกิดมูลค่าจากการด่าเนินการ ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุง และดำเนินการได้หลากหลาย จึงมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ

3. ทีม Team Name: Care Go (แก่โก)
หัวข้อโครงการ Project Topic: Aging Society
ชื่อโครงการ Project Title: (Develop from Side Car)
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นายสุทธิเกียรติ ช่างเรือนงาม 3. นางสาวนีรชา สุนทรพนาเวศ
2. นางสาววิลาสินี เลิศฤทธิพงศ์ 4. นางสาวศิริเมษ กลีบแก้ว
การหาโจทย์ Problem Statement:
การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ/ การเดินทางของผู้สูงอายุหรือผู้พิการ ที่อยู่ในชุมชนแออัด หรือ มีเส้นทางสัญจรขนาดแคบเกินกว่ารถยนต์เข้าถึง ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า ได้อย่างสะดวก มีคุณภาพและปลอดภัย
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุไม่มีข้อจำกัดในการเดินทาง ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ สามารถที่จะเดินทางไปที่ต่างๆได้อย่าง สะดวก มีคุณภาพ ปลอดภัย
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
หาวิธีให้ผู้สูงอายุเดินทางได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย โดย Side Car ซึ่งออกแบบมาให้มีขนาดพอเหมาะในการเดินทางตามทางสัญจรขนาดเล็ก สามารถถอดเข้า-ออกได้ ง่ายต่อการพกพา รองรับการเดินทางของผู้โดยสารทั้งผู้ที่เดินไม่ไหว และเจ็บป่วย/ฉุกเฉิน มีอุปกรณ์เสริม รองรับผู้โดยสารในกรณีที่ต้องได้รับความดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ข้อจำกัดในการเดินทางไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป

4.ทีม Team Name: Doctor+ (Pronounced “doctor plus”)
หัวข้อโครงการ Project Topic: Using Health IT to Empower Health Education in Ambulatory Care
ชื่อโครงการ Project Title: e-Prescription for Health Education
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. ผศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์ 3. นางสาวนิธิมา นาคทอง
2. นายวิเชียร บุญญะประภา 4. นายมัชฌิมา จันทร์กล้า
การหาโจทย์ Problem Statement:
ปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่มารับบริการสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐส่งผลทำให้แพทย์แต่ละคนอาจจะต้องรับหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยคนต่อวัน ทำให้มีเวลาตรวจรักษาผู้ป่วยแต่ละรายเพียงไม่เกิน 5-10 นาที ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมแล้ว อาจทำให้แพทย์ไม่มีเวลามากพอที่จะอธิบายรายละเอียดของการวินิจฉัยโรค การป้องกันโรค หรือการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรวมทั้งอาจจะไม่สามารถสื่อสารประเด็นซึ่งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยควรเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการเพื่อนำมาสื่อสารกับแพทย์ในการติดตามการดูแลรักษาในครั้งต่อไป แพทย์แต่ละคนย่อมมีทักษะในการอธิบายและการสื่อสารในเวลาจำกัดที่แตกต่างกันไป แต่การสื่อสารด้วยวาจาของแพทย์ย่อมมีโอกาสตกหล่นการสื่อสารข้อมูลสำคัญ หรือผู้ป่วยอาจหลงลืมข้อมูลที่ได้รับการแนะนำ หรือการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนอาจเกิดผู้ป่วยและญาติเกิดความเข้าใจผิดในวิธีการดูแลตนเอง สื่อที่มีอยู่นิยมจัดทำขึ้นในรูปแบบสิ่งพิมพ์ เช่น ใบปลิวแผ่นพับ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดด้านกายภาพท่าให้สื่อสารข้อมูลได้ไม่เพียงพอเสี่ยงต่อการสูญหาย และไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและญาติที่มีข้อจำกัดเรื่องการอ่านออกเขียนได้
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
1. แพทย์และทีมดูแลสุขภาพจะสามารถให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างมีประสิทธิผลสูงสุดภายใต้กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรัฐที่มีอยู่เดิม แต่ใช้เวลาเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิมได้อย่างไร?
2. ผู้ป่วยและญาติจะสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถทบทวนข้อแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับรายละเอียดของการวินิจฉัยโรค การป้องกันโรค การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมของตนเองได้อย่างไร?
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
ทีมงานต้องการพัฒนาช่องทางใหม่ให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเสริมกระบวนการรักษาพยาบาลที่มีอยู่เดิม โดยพัฒนา online multimedia เช่น บทความในภาษาถิ่น, วิดีทัศน์ขนาดสั้น, รูปภาพ, infographic ซึ่งเนื้อหามีความจำเพาะสำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยแต่ละโรค และพัฒนา Mobile IT application ให้แพทย์เลือกคำแนะนำเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การป้องกันโรค และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และสร้าง QR code เป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-prescription) ให้ผู้ป่วยและญาติกลับไปศึกษาหรือทบทวนรายละเอียดของคำแนะนำจากแพทย์ทาง online multimedia ด้วยตนเอง ทดแทนการสื่อสารข้อมูลจำนวนมากในเวลาที่จำกัดในห้องตรวจเพื่อให้แพทย์ได้ใช้เวลาที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาและข้อจำกัดด้านภาษาในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย แก้ไขปัญหาผู้ป่วยและญาติหลงลืมข้อมูลที่แพทย์ได้สื่อสารไปแล้วรวมทั้งอาจช่วยลดปัญหาการที่ผู้ป่วยและญาติได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจนอาจจะเกิดแนวคิดหรือการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในการดูแลรักษาตนเองได้

5.ทีม Team Name: RightSpace
หัวข้อโครงการ Project Topic: RightSpace find the right place for you
ชื่อโครงการ Project Title: RightSpace find the right place for you
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นางสาวมนัสนันท์ สิริกุลสุนทร 4. นายอาทิตย์ นาประดิษฐ์
2. นางสาวดวงหทัย แพงจิกรี 5. นายกษิดิศ ศิริพร
3. นางสาวศุภิสรา สุขกันตะ 6. นายไมตรี บัวศรีจันทร์
การหาโจทย์ Problem Statement:
ปัจจุบันมีคนจำนวนมาก ที่ต้องการทำกิจกรรมแต่ไม่มีพื้นที่ เช่น การอ่านหนังสือ หรือการทำงานกลุ่มของนักศึกษา เมื่อไม่มีพื้นที่ ก็จะไปนั่งตามร้านกาแฟ ต้องซื้อกาแฟทั้ง ที่อาจจะไม่ได้อยากกิน ต้องนั่งทำงานท่ามกลางผู้คนมากมาย ซึ่งทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือในกรณี ของการจัดพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ก็ต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ หาอุปกรณ์ และหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทาพิธีกรรม เช่น งานบวช งานศพ งานบุญ เราพบปัญหาคนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่ามีบริเวณใกล้เคียงที่สามารถจัดกิจกรรมเหล่านั้นได้ ต้องเดินทางไปไกล เพื่อไปยังสถานที่ที่มีชื่อเสียง หรือเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ต้องรอเวลา ต้องจองคิว ทำให้กำหนดการที่วางไว้ต้องล่าช้าออกไปอีก
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
ในทุกๆ วัน เรามีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและกิจกรรมต่างๆ ต้องใช้อุปกรณ์และสถานที่ แต่ในโลกที่มีพื้นที่อยู่อย่างจำกัด หากเพียงแค่คิด สิ่งเหล่านั้นอาจฟังดูง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ทุกสถานที่ ที่ทำได้ทุกกิจกรรม และบางกิจกรรมก็จำเป็นต้องใช้พื้นที่เฉพาะ และคนส่วนใหญ่มักจะไปในที่ๆ เป็นที่รู้จักกันดี ทั้งๆ ที่บริเวณใกล้เคียงของตนก็อาจจะมีสถานที่ หรือบริการที่สามารถใช้งานได้ เราจะทำอย่างไร เพื่อเป็นการใช้พื้นที่เหล่านั้นให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตัวเอง และผู้อื่น แต่จะดีกว่าไหมถ้าหากเราสามารถช่วยคนเหล่านั้นให้ไม่ต้องเสียโอกาสหลายๆ อย่างไป
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
เราได้สร้าง Solution ที่จะช่วยแก้ปัญหาการค้นหาสถานที่ ที่ใช่ หรือจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสม สำหรับทำกิจกรรม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ อีกทั้ง ช่วยประหยัดเวลากระบวนการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้สอยสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้สามารถเลือกค้นหาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.ค้นหาจากสถานที่ 2.ค้นหาจากกิจกรรม
นอกจากจะเป็นการช่วยผู้ใช้บริการแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ให้บริการท้องถิ่น เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงพวกเขาได้ง่ายขึ้น ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการระบบการจอง ดูบัญชีรายได้ ออกใบเสร็จและใบกำกับภาษี และมีระบบประกันอุปกรณ์และสถานที่ ทั้งนี้ เรายังมีระบบประเมินผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เผื่อให้ทุกฝ่ายได้ตัดสินใจก่อนที่จะตกลงชำระเงิน เป็นการป้องกันกลุ่มลูกค้าที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม

6.ชื่อทีม Team Name: Hospital Mate
หัวข้อโครงการ Project Topic: การเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาลได้อย่าง สะดวก ปลอดภัย ไม่เป็นภาระแก่คนใกล้ชิด
ชื่อโครงการ Project Title: Hospital Mate
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นางสาวณัฎฐ์ โฉมวัน 2. นางสาวมนสิการ ใจสุดา
การหาโจทย์ Problem Statement:
1. ผู้ป่วยไม่สะดวกไปโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง
2. ความกังวลที่จะเป็นภาระแก่คนใกล้ชิด และผู้ใกล้ชิดไม่สะดวกได้ในเวลาที่ต้องการ
3. ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่เพียงลำพัง
4. ผู้ป่วยที่ไม่มีพาหนะในการเดินทางมาพบแพทย์ หรือพาหนะไม่เอื้ออำนวยในการมาโรงพยาบาล
5. ปัญหาที่นั่งในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
วัตถุประสงค์: การให้บริการเพื่อความสะดวก มั่นใจ ปลอดภัย ไม่เป็นภาระแก่คนใกล้ชิดในการเดินทางไปโรงพยาบาล
ความแตกต่างของการบริการ: ให้การดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความมั่นใจและปลอดภัยในการเดินทางโดยญาติหรือผู้ใกล้ชิดสามารถติดตามผู้ป่วยตลอดการเดินทางไปโรงพยาบาล
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
การให้บริการที่มีชื่อว่า Hospital-Mate เป็นการให้บริการเพื่อความสะดวก มันใจ ปลอดภัยในการเดินทางไปโรงพยาบาลบริการนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้ใครได้บ้าง/ประโยชน์ที่เกิดขึ้น
1. เกิดความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลด้วยตนเองไม่ได้ ในการเดินทางไปโรงพยาบาล
2. คนใกล้ชิด/ญาติไม่จำเป็นต้องหยุดงานในการพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล และไม่สูญเสียรายได้จากการหยุดงาน
3. เพิ่มช่องทางการหารายได้เพิ่มเติม สำหรับบุคคลที่มีความรู้ความสามารด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Hospital-Mate กับผู้ให้บริการรายอื่น
1. มีการแบ่งระดับการให้บริการแก่ผู้ป่วย และมาตรฐานเรื่อง รถที่ให้บริการในการเดินทางไปโรงพยาบาล
2. การแจ้งเตือนแก่ญาติหรือคนใกล้ชิดเมื่อรับ และ ส่งผู้ป่วยเรียบร้อย
3. การติดต่อกับโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดหรือที่เราเป็น Partner
4. มีแผนที่ รพ.ในกรุงเทพ เพื่อบอกจุดต่าง ๆ ว่าต้องไปรับบริการที่จุดใดตามลำดับ
5. มีรายชื่อแพทย์ / แพทย์เฉพาะทาง รวมถึงโรงพยาบาลที่สามารถหาหมอเฉพาะทางได้
6. บริการเรียกรถ สำหรับผู้ป่วยขั้นฉุกเฉินเพื่อให้ไปถึงโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง และรวดเร็วที่สุด
7. เพิ่มบริการ Mate Care เพื่อดูแลระหว่างรับการรักษา
« Last Edit: October 05, 2017, 08:47:43 AM by news »

news on October 02, 2017, 09:13:56 AM
7.ทีม Team Name: ALCohol Alert
หัวข้อโครงการ Project Topic: Health promotion and disease prevention
ชื่อโครงการ Project Title: ALCohol ALert
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. อ. พญ. ฐานิตา ทองตัน 3. ผศ. ดร. วิชชุดา แสงสว่าง
2. รศ. ดร. เทพมนัส บุปผาอินทร์
การหาโจทย์ Problem Statement:
โรคตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Alcohol related liver disease) ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยประเทศไทยไม่มีเกณฑ์กำหนดระดับการดื่มที่ปลอดภัย (sensible drinking limit) ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ตระหนักถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับ และไม่ทราบว่ามากเกินไปหรือไม่
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
ทำอย่างไรผู้บริโภคจะสามารถทราบถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับ และประเมินได้ว่าปริมาณนั้นมากเกินไปหรือไม่ที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคตับ
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
ทำให้ผู้บริโภคสามารถเห็นได้ว่าแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มที่จะบริโภคมีปริมาณเท่าไหร่ และสร้างความตระหนักถึงโรคตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่ปลอดภัย โดยการสร้างแก้วที่สามารถบอกปริมาณแอลกอฮอล์ที่อยู่ในแก้วได้ โดยมี alcohol sensor ที่จะแปรผลจากปริมาณแอลกอฮอล์ในแก้วเป็นไฟเตือนตามค่ามาตรฐานที่ตั้ง (เช่น ถ้าแอลกอฮอล์ในแก้วเกิน 30 g ไฟจะขึ้นสีเหลืองว่าควรจะหยุดได้แล้ว แต่ถ้ายังดื่มต่อถึง 45 g ไฟจะขึ้นสีแดงว่าต้องหยุด) โดยข้อมูลที่ได้จากการวัดแอลกอฮอล์จะเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาเพื่อคำนวณ ประมวล แปรผล และบันทึกสถิติปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายและพฤติกรรมการดื่ม
นอกจากนี้แก้วจะท่าให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลเสียต่อตับ โดยเมื่อใส่เครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิเย็นลงไป สีเพ้นท์แก้วด้วยเทคโนโลยี Thermochromic จะเปลี่ยนรูปเป็นคนตัวเหลืองตาเหลืองอันเป็นอาการของตับแข็ง

8. ทีม Team Name: Naptime
หัวข้อโครงการ Project Topic: Sleep deprivation
ชื่อโครงการ Project Title: Sleeping pods installation in MUIC
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. Mr.Parth Parmani 3. Ms.Vidhi Jain
2. Mr.Parth Shah 4. Ms.Reshma Kamarudeen

การหาโจทย์ Problem Statement:
Sleep deprivation is one of the biggest issues currently being tackled by university students. It subsequently leads to having decreased levels of focus and concentration, lack of inadequate rest and maybe even irreversible health problems in the future.
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
Having limited sleep hinders not only with your academic performance but can also lead to future problems including mental health issues, increased stress and shorter life span. To keep themselves awake, they ingest unhealthy supplements such as energy drinks, excessive caffeine etc. In an attempt to catch up on their lost sleep, the students end up falling asleep almost anywhere within the university which can be deemed as unsanitary, unethical and immoral. Additionally, this will not only give them a harmful body posture, but will also demotivate the teachers to continue teaching.
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
The installation of nap pods will provide the students with a substantially safe and hygienic place to sleep. The nap timings will vary between 30 to 90 mins and interestingly, research has shown that six-minute naps, can improve declarative memory. The important idea is for the students to get proper sleep and go into REM. These naps will result in positive health benefits and help the students prepare for their day with more energy and enthusiasm. Not only this but we’ll be providing them with good music and aromatherapy to help them fall asleep faster. These pods will be truly mobile. Since everybody has different requirements to fall asleep, these can be personalized on our sky system. The pricing of these pods will depend on the minutes for starters and will be changed according to the increased demand. And finally, every student's feedback will be taken into consideration to make sleeping experience better for them.

9. ทีม Team Name: Chameleon Group
หัวข้อโครงการ Project Topic: Smart textile for the creatures who have to contact with the temperature at which they can’t withstand.
ชื่อโครงการ Project Title: Thermal Balancing Textile
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. Ms. Nandar Nyein Wai 3. Ms. Myo Thiri Kyaw
2. Ms. Mon Myat Swe 4. Ms. Yu Thazin

การหาโจทย์ Problem Statement:
In human, people are facing with the problem of unbalancing the temperature when they go from cold place to hot place and vice visa. These are not only those kind of people, but also the people who have to work in the environment of high temperature at which their body temperature cannot withstand (such as firemen). Likewise, in animals, they are also suffering such a kind of unbalancing in temperature. Especially in furry animals have to live in hot climate and hairless animal have to live in cold climate.
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
Nowadays, unbalancing the temperature between creatures and environment is becoming one of the most important fact to consider. Human and animals are suffering temperature unbalancing depends on their environments condition where they work and live.
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
In order to solve such kinds of problem, we came up the idea of smart textile which can quite balance the temperature upon customers’ choices depends on the outside environment. Smart textile can produce through phase change materials at which we can select the working temperatures depends on what we need. From these textiles we can produce clothes, bedsheets, and blankets for both human and animals.

10.ทีม Team Name: Pharmarget
หัวข้อโครงการ Project Topic: Ageing & Health
ชื่อโครงการ Project Title: Pharmarget
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นางสาวกชพรรณ แก้วภูมิแห่ 4. นายปภณ เมธีวรกุลกิจ
2. นายณภัทร วรรณเพ็ญสกุล 5. นางสาวเปรมใจ กิติคา
3. นางสาวเบญจรัตน์ เวชมนัส 6. นางสาวพรรณทิพา ทองประสาร
การหาโจทย์ Problem Statement:
จากปัญหาที่พบจากคนรอบตัวที่เป็นเจ้าของร้านขายยาและพนักงานในบริษัทผู้ผลิตยาร้านขายยารายย่อย: ปัจจุบันต้องทำการสั่งยาจากร้านส่ง(ยี่ปั๊ว)หรือผู้แทนยาของแต่ละบริษัทด้วยตนเอง ซึ่งทำให้มีความยุ่งยากในการสั่งซื้อยาเพราะต้องติดต่อหลายตัวแทน ทำให้ต้องจัดการบันทึกการสั่งซื้อด้วยตนเอง และการสั่งซื้อยังต้องมีขั้นต่ำ อีกทั้งยังไม่สามารถรับรู้สถานะการจัดส่งสินค้าอีกด้วย
โรงงานผลิตยา: บริษัทยารายใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ sales เพื่อเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมาก คิดเป็นต้นทุนการขายประมาณ 30% ซึ่งจากการที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดราคากลางจากรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบต่อยอดขายและก่าไรที่ได้น้อยลง ส่งผลให้บริษัทยาต้องการที่จะลด cost โดยเฉพาะ cost จากการจ้างผู้แทนยาส่วนด้านบริษัทผู้ผลิตยารายย่อย SME นั้น ต้องอาศัยช่องทางการกระจายสินค้าล๊อตใหญ่ๆกับ Wholeseller ต้องขายราคาต่ำ และขาดช่องทางในการสื่อสารโดยตรงกับร้านขายยา
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
ระบบตัวกลางในการเชื่อมโยงกันระหว่างบริษัทผลิตยาผู้ผลิต และร้านขายยารายย่อยที่ช่วยลด cost ด้านการจัดจำหน่ายของบริษัทผลิตยา และเป็นศูนย์กลางที่ช่วยรวบรวมค่าสั่งการซื้อยาจากร้านขายยารายย่อยเพื่อลดปัญหาในการติดต่อซื้อยาจากหลายแหล่ง
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
Pharmaget จะเป็น Pharmacy Marketplace Platform เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทผู้ผลิตยาและร้านขายยารายย่อย โดยเป็น Website และ Application Platform ที่มีระบบแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. บริษัทผู้ผลิตยาจะสามารถใช้งานระบบ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับร้านขายยา มี customer experience ลด Bullwhip effect ลดต้นทุนการขาย
2. ร้านขายยารายย่อยจะสามารถใช้งานระบบ เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้โดยตรง ทำให้ได้ราคาสินค้าที่ต่ำลงและได้รับ Promotion โดยตรงจากผู้ผลิต เพื่อเป็น SME Drug-store communities ตอบสนองต่อพฤติกรรมของเจ้าของร้านขายยาที่เป็น Gen Y และเพิ่ม Bargaining power
นอกจากนี้ระบบ Pharmarget จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อยาโดยรับชำระค่าสินค้าได้จากช่องทางการโอนเงินบัตรเครดิต/บัตรเดบิต COD และช่องทางอื่นๆที่ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ซื้อในอนาคต

11. ทีม Team Name: JPK
หัวข้อโครงการ Project Topic: Accessibility/ Security
ชื่อโครงการ Project Title: The Silent Alert
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. Ms.Ladasa Tiraviriyapol 3. Ms.Chih-Jau Wang
2. Ms.Pichaya Wattanasaranont

การหาโจทย์ Problem Statement:
ประชากรคนหูหนวกกว่า 6 แสนคน กำลังถูกปิดกั้นจากการรับรู้ถึงสัญญาณเตือนภัยรอบๆตัว
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
ในประเทศไทยนั้นมีประชากรคนหูหนวกกว่า 6 แสนคน ซึ่งคนเหล่านั้นจริงๆแล้วสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติ แต่ทว่า การที่เขาขาดความสามารถในการได้ยินนั้น ทำให้เค้าถูกปิดกั้นจากการรับรู้ถึงสัญญาณเตือนภัยรอบๆ ตัวเขาเอง เพราะว่าสัญญาณเตือนภัยต่างๆ เช่น สัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ในห้าง หรือเสียงบีบแตรรถยนต์ ไม่ได้ถูกแสดงออกมาด้วยลักษณะที่มองเห็นได้เสมอไป
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
Silent Alert เป็นอุปกรณ์สวมใส่ พร้อม Mobile Application ที่จะคอย ฟังเสียงรอบๆผู้ใช้ และจะจับคู่ลักษณะคลื่นเสียงที่ได้รับ กับคลื่นเสียงสัญญาณเตือนภัยมาตรฐานต่างๆ เช่น สัญญาณไฟไหม้ เสียงบีบแตร เสียงนกหวีด พร้อมกับการสั่นและแสดง icon หรือ ข้อความ ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไร หรือหากอุปกรณ์ได้รับเสียงที่ดังผิดปกติอื่นๆ ก็จะแจ้งเตือนผู้ใส่ได้รับรู้เช่นกัน จากนั้นระบบจะเสนอข้อความเสียงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเล่นคลิปเสียงเพื่อถามคนรอบข้างเพื่อที่จะเข้าใจถึงสถานการณ์รอบข้างมากขึ้น

12. ทีม Team Name:-
หัวข้อโครงการ Project Topic: Nutrition
ชื่อโครงการ Project Title: กล้วยกันบูด
รายชื่อสมาชิกทีม Team Members:
1. นางสาวศศิวิมล คำวงษา 4. นางสาวอรวรรณ ชูปัญญานนท์
2. นางสาวเพ็ญนิภา พจน์ศิลป์ 5. นางสาวอรอนงค์ มีดี
3. นางสาวสุขิตา พุทธมณี
การหาโจทย์ Problem Statement:
อาหารเกิดการเน่าเสียได้ง่าย เพราะเกิดการปนเปื้อนและการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของจุลินทรีย์ ทำให้ต้องมีการใส่วัตถุกันเสียเพื่อยืดอายุของอาหาร ซึ่งวัตถุกันเสียนั้นหากได้รับในปริมาณมากหรือสะสมในร่างกายเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น หัวใจเต้นแรง ท้องเสียอย่างรุนแรง หรือเสียชีวิต อีกทั้งจากงานวิจัยหลายชิ้นยังระบุว่าอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้
การตั้งโจทย์ Problem Definition(s):
สารที่สามารถยืดอายุของอาหารได้เช่นเดียวกับวัตถุกันเสียที่ใช้อยู่ แต่ปลอดภัยต่อร่างกายของผู้บริโภค อีกทั้งยังทำจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ง่าย และมีต้นทุนต่ำ
การตอบโจทย์ Creative Solution(s):
ใช้สารแทนนินที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแทนวัตถุกันเสียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสารแทนนินนี้สามารถสกัดได้จากกล้วยดิบซึ่งมีสารแทนนินอยู่มาก อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่ให้ผลตลอดทั้งปี และมีราคาไม่สูง
« Last Edit: October 05, 2017, 08:48:25 AM by news »