enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ร่วมวงเสวนาวิชาการ รัฐบาลใหม่!คอร์รัปชันเก่า? ปลุกพลังประชาชนไม่เลือกคนทุจริต « previous next » Print Pages: [1] Go Down MSN on September 06, 2017, 07:57:11 AM ร่วมวงเสวนาวิชาการ รัฐบาลใหม่!คอร์รัปชันเก่า? ปลุกพลังประชาชนไม่เลือกคนทุจริตเข้าสภาฯดร. มานะคุณประมนต์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)จัดเสวนาวิชาการรัฐบาลใหม่!คอร์รัปชันเก่า?ระดมความคิดเห็น-ยุทธวิธีภาคประชาชน หวังสร้างจิตสำนึกคนรุ่นเก่า-คนรุ่นใหม่ ลุกขึ้นป้องกันและร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบอย่างยั่งยืน นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACTกล่าวว่า ในช่วงนี้มีคดีทุจริตคอร์รัปชันหลายคดีที่ได้ตัดสินไปแล้ว ทั้งนักการเมืองข้าราชการ และนักธุรกิจซึ่งผู้กระทำผิดก็ได้รับบทโทษและติดคุกไปตามๆ กันซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์แห่งการกระทำ ทุกวันที่ 6 กันยายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งในปีนี้ ACT ได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสถานศึกษาต่างๆ จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อรัฐบาลใหม่!คอร์รัปชันเก่า?เพื่อปลุกพลังประชาชนให้การปฏิรูปสำเร็จโดยเร็วก่อนที่จะมีรัฐบาลใหม่โดยประเด็นหลักมี 3 ประเด็น คือ1.รัฐบาลปัจจุบันควรส่งมอบระบบบริหารที่มีส่วนดีและยังปฎิบัติอยู่ หรือที่ได้ปฎิรูปไปแล้ว หรือที่กำลังจะปฏิรูปเพื่อความยั่งยืนให้รัฐบาลใหม่ได้อย่างไร ยุทธศาสตร์ 20 ปีและติดตามการปฎิรูปของคณะกรรมการ 11 คณะที่แต่งตั้งแล้วมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร2. การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปราบโกงจะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจว่าจะได้นักการเมืองที่ดีได้แค่ไหนมีอะไรที่เราจะช่วยทำให้ได้นักการเมืองที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมาบริหารบ้านเมือง3. ประชาชนควรมีบทบาทอย่างไร ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิและส่วนร่วมในการตรวจสอบรัฐบาลมากขึ้นสำหรับวัตถุประสงค์การจัดเสวนาวิชาการในวันนี้ ต้องการให้สังคมไทยได้ตระหนักและรับรู้ถึงผลจากการเลือกคนดีเข้าไปนั่งในสภาฯ พร้อมกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังการทุจริตคอร์รัปชัน ที่เป็นมหันตภัยร้าย ที่มีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยกว่า 65 ล้านคน รวมถึงภาคเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อันนำไปสู่การล่มสลายของประเทศ พร้อมทั้งปลุกเร้าสังคมไทยทุกภาคส่วนให้ลุกขึ้นมาร่วมกันต่อสู้ไม่ให้เกิดการโกง และต่อต้านคนโกง ควบคู่กับการระดมความคิดเห็นถึงยุทธวิธีของแต่ละภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และทุกขนาดอย่างยั่งยืน การจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน เริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมาได้บรรลุเป้าหมายระดับหนึ่ง สำหรับการปลูกผังจิตสำนึกที่จะมารวมพลังเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยปีที่แล้วได้จัดงานภายใต้ชื่อ “กรรมสนองโกง” ที่ต้องการเตือนสติผู้ที่กำลังคิดกระทำผิด ให้รับรู้ถึงผลแห่งกรรมที่นำไปสู่บทลงโทษต่างๆนายประมนต์ กล่าว แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ทุกคนในประเทศจะต้องช่วยทำให้เกิดเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำพร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีกระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็วและเป็นธรรม นอกจากนี้จะต้องขับเคลื่อนให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานของราชการ ที่ให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและลดการใช้ดุลพินิจเพื่อป้องกันการเรียกและรับสินบนควบคู่กับการรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเยาวชนไทยให้รังเกียจการทุจริตและไม่ยอมรับการทุจริต เพราะเยาวชนถือว่าเป็นพลังที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศในอนาคตนายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการรณรงค์เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าประสบผลสำเร็จเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นได้จากค่าดัชนีคอร์รัปชันของประเทศที่ยังสูงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากต้องการให้การทุจริตคอร์รัปชันหมดจากประเทศไทย จะต้องเน้นในเรื่องของการปลูกผังคุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดหลักคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเสียเปรียบมาปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่ผลสำเร็จในการรงณรงค์การทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด ซึ่งจะทำให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดเกิดความสำนึกในสิ่งที่กำลังจะทำหรือทำไปแล้ว ควบคู่กับการลดอำนาจของหน่วยงานภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้งบประมาณปีละ 2.9 ล้านๆ บาท โดยกว่า 70-80% ถูกใช้ไปกับการดำเนินการในเรื่องต่างๆ และอีก 20% ใช้ไปกับงบสวัสดิการของประชาชนเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ ซึ่งต่างจากการใช้งบประมาณของกลุ่มประเทศยุโรป ที่กว่า 50% ใช้งบประมาณสวัสดิการ “มิติที่อยากเสนอแนะคือ “กระบวนการเทพ” ซึ่งจะต้องมีความโปร่งใสในข้อมูลแบบโปรแอททีฟ ซึ่งเป็นการเปิดเผยข้อมูลแบบมาตรฐานเดียวกับการจดทะเบียนของภาคเอกชน คอบคู่กับการสร้างกลไกต่างๆ และส่งเสริมภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วม” นายบรรยง กล่าว นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของโครงสร้างต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐรวมถึงรัฐบาลโดยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันนอกจากนี้ จะต้องกำหนดคุณสมบัติของนักการเมืองที่ชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน หากทำการทุจริตคอร์รัปชัน และหากได้รับบทลงโทษก็ให้ตัดขาดจากการเป็นนักการเมืองทันที ขณะที่เรื่องของกฎหมายหาเสียงที่นะเกิดขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า มองว่าจะส่งผลกระทบต่อการเมืองและการคลังของประเทศ ซึ่งจะต้องมีข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่ชัดเจนในกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบที่จะต้องนำไปพิจารณาต่อไปนายภัทระ กล่าวว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการอยู่มี 4 หัวข้อหลักคือ เรื่องของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนเพราะประชาชนมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลดังกล่าว เรื่องของการคุ้มครองพยาน เรื่องการชี้เบาะแสการทุจริตคอร์รัปชัน และเรื่องมาตรการชี้เบาะแสให้สินบน ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “การจัดอบรมหลักสูตรต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน หรือหน่วยงานต่างๆ มองว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเป็นการสร้างเครือข่ายที่จะไปสร้างหรือไปหาผลประโยชน์ร่วมกัน”นายภัทระ กล่าวนายนิติพงษ์ ห่อนาค กล่าวว่าเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในเรื่องของความโลภและผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งหากตัดทั้ง 2 ส่วนนี้ออกจากจิตสำนึกของคนได้ก็จะไม่เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นตามมา ทั้งนี้ จะต้องรณรงค์และสร้างจิตสำนึกของคนโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ให้เกิดกาละอายต่อการทุจริตคอร์รัปชัน โดยทำให้เกิดเป็นรูปธรรมเช่นเดียวกับการรณรงค์เรื่องการสูบบุหรี่และการไม่ทิ้งขยะในช่วงที่ผ่านมานายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าจะต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันได้นั้น จะต้องเปิดเผยข้อมูลในที่สาธารณะ เพราะที่ผ่านมาระบบการตรวจสอบข้อมูลของประเทศไทยนั้นทำได้ยาก ปัจจุบันภาคเอกชนให้ความสำคัญและมีการตื่นตัวในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น เนื่องจาการการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่เป็นระบบทุนนิยมที่แสวงหาแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวขณะที่ประเทศไทยมีกฎหมายมากเกินไปจะนำสู่การทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักลงทุนชาวต่างชาติที่อยากเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยเพราะต้องผ่านขั้นตอนของกฎหมายต่างๆ เมื่อเทียบกับประเทศอินเดียที่มีกฎหมายไม่มากแต่เขานำเทคโนโลยีมาใช้จึงทำให้เกิดความรวดเร็วของขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ดังนั้นจะต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันตามมา นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา กล่าวว่า ดัชนีตัวเลขคอร์รัปชันของไทยไม่ได้ลดลง เพราะประชาชนคิดว่าการคอร์รัปชันที่เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว รวมถึงการครองอำนาจของเจ้าหน้าที่พนักงานในท้องถิ่นที่ยาวนานเกินไป ทำให้เกิดการสร้างฐานอำนาจในท้องถิ่น ขณะที่การกุ่มอำนาจที่เยอะของรัฐบาลทำให้การตรวจสอบข้อมูลต่างๆ นั้นทำได้ยาก “เรื่องมาตรา 44ของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา พบว่าไม่มีความโปร่งใสในเรื่องโครงการต่างๆ อาทิ การผูกขาดโครงการโซลาร์ฟาร์มขององค์ขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก(อผศ.) มูลค่า 4,000 ล้านบาท โครงการอุทยานราชภักดิ์ รวมถึงเรื่องการจัดซื้อเครื่อง GT200 มูลค่าหลายพันล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่คาใจประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพราะไม่ได้รับรู้ถึงความโปร่งใสและบทลงโทษที่ชัดเจน” นายประสงค์ กล่าว ทั้งนี้ ตนมีแนวทางแก้ไขเพื่อเสนอเป็นทางออกในเรื่องของลดการทุจริตคอร์รัปชัน อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างโดยเสนอให้รื้อระบบกรมบัฐชีกลาง ซึ่งเคยเสนอให้ทางนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมาตรีในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งไม่ทราบไปตกหล่นในขั้นตอนไหน ขณะที่วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) มองว่าเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนี้ระบบภาษีการเก็บภาษีโรงเรือนปัจจุบันพบว่าการเรียกเก็บขึ้นอยู่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่นอกจากนี้ เรื่องของงบประมาณควรจะปรับปรุงให้เป็นระบบแบบเรียลไทม์ เพราะจะทำให้รับรู้และสามารถตรวจถึงข้อมูลในการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการโปร่งใสในการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งนำไปสู่การไม่ทุจริตคอร์รัปชัน และสุดท้ายคือเรื่องของระบบยุติธรรม ที่ปัจจุบันอำนาจการสอบสวนถูกทำลายด้วยมาตรา 44 เช่นเรื่องของการรวบอำนาจการจัดตั้งมาที่ผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ จะต้องเปิดเผยโอกาสควบคู่กับการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยอยากให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลในทุกๆ เรื่องที่สามารถเปิดเผยได้ ยกเว้นก็แต่เรื่องที่เป็นความลับ อาทิ เรื่องของค่าเงินบาท เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุดและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ « Last Edit: September 07, 2017, 08:04:37 AM by MSN » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ร่วมวงเสวนาวิชาการ รัฐบาลใหม่!คอร์รัปชันเก่า? ปลุกพลังประชาชนไม่เลือกคนทุจริต