news on August 30, 2017, 08:40:09 AM
กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการ OPOAI ลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคใต้ เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวไปสู่ Industry 4.0
 


นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม


นายสมชาย(ขวา)ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดูงาน


ภาพหมู่โอปอย


นายวีรพัฒน์ ปรางค์ศรีทอง ผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังกราว จำกัด


ต้นเฉาก๊วย


ต้นเฉาก๋วย แห้ง


นายชัยยงค์ คชพันธ์ ผู้จัดการบริษัทเห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด


นายชัยยงค์ คชพันธ์ ผู้จัดการ บริษัท เห็ดทอดนาโหนดฟู้ดส์ จำกัด(ที่2จากซ้าย)


รูปเห็ดทอด


เห็ดบรรจุถึงแล้ว



โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI (โอ-ปอย) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้และนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ  โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม   ให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวสู่    ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ OPOAI ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทางสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการภาคใต้ 2 แห่ง ประกอบด้วย

1. เข้าเยี่ยม บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 45/6 หมู่ 6 ถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน
 
2. เข้าเยี่ยม บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 190 หมู่ 11 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000 ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตเห็ดทอด ผักทอดต่างๆ และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการโอ-ปอย ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนาที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. แผนงานการบริการจัดการโลจิสติกส์  2. แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. แผนการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. แผนการลดต้นทุนพลังงาน 5. แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด 7. แผนการบริหารจัดการด้านการเงิน และ 8. แผนการจัดการสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อดูว่าสมควรที่เข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งคำปรึกษาเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยประมาณ 4-6 เดือนจึงจะ  เสร็จสิ้นโครงการ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2559 ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานประกอบการโดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 326 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา 31.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 10.32 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 135 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ยรายละ 2.41 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2559 สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 4,455 ล้านบาท   จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 354.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.56 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,334 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 3.34 ล้านบาท 

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเอง อาจจะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องนั้นเป็นการเฉพาะจุดจริงๆ

สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการจำนวน 171 ราย จำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยในวันนี้ได้มีการเยี่ยมชมและติดตาม ผลการดำเนินของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด จังหวัดสงขลา และ บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด จังหวัดพัทลุง ทั้ง 2 รายเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายวีรพัฒน์ ปรางค์ศรีทอง ผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด กล่าวว่า  บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจประเภทอุสาหกรรมอาหาร ผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน สำหรับบริษัทเริ่มต้นธุรกิจในปี 2558 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนในประเทศ มียอดจำหน่าย 500,000 ถุงต่อปี (เมื่อปี 2558) โดยมีตลาดในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5%  โดยนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอินโดนีเซีย 80% ภายในประเทศ 20%  มียอดขาย 3,385,000 บาท/ปี เข้าร่วมโครงการ   โอ-ปอยในปี 2560 จำนวน 2 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและการพัฒนางาน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพบว่า การปรับตั้งค่าน้ำหนักเกินของเนื้อเฉาก๊วยบรรจุและน้ำเชื่อมมากเกินไป ทำให้ไหลลงในการบรรจุปริมาณมาก และสาเหตุที่เนื้อเฉาก๊วยมีขนาดใหญ่เกินไปในขั้นตอนการตัด ซึ่งทีมงานได้ทำการแก้ไข และลดค่าปรับตั้งน้ำหนัก และปรับตั้งค่าเนื้อเฉาก๊วยที่ 90 กรัม โดยเฉลี่ยล่าสุดน้ำหนักบรรจุรวมอยู่ที่ 193 กรัม และสามารถบรรจุได้เพิ่มขึ้นประมาณ 200 ถุงต่อวัน สามารถลดต้นทุนได้มูลค่า 378,000 บาท/ปี หรือ 14% นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงปัญหาถุงแตกขณะซีลซึ่งสามารถลดความสูญเสียได้มูลค่า 127,800 บาท/ปี รวม 2 กิจกรรมสามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการได้ 505,800 บาท/ปี

แผนงานที่ 4 ลดต้นทุนพลังงาน โดยจัดทำโครงการลดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำเย็น ตั้งค่าอุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้นจาก 10 องศาเซลเซียส เป็น 15 องค์ศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงจะได้อุณหภูมิน้ำเชื่อมที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งทันต่อการสั่งซื้อในแต่ละวันเฉลี่ย 15,000 ถุงต่อวัน ทําใหลดพลังงานของ Chiller เทากับ 35,164.80 บาท/ป ทําใหลดพลังงานไฟฟาลงได 13.89% และลดเวลาการทำงานของ Boiller ให้มาอยู่ที่ 15 นาที ทำให้ประหยัด 24.55 กิโลกรัม/ครั้งหรือเท่ากับ 537 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่ารวม 193,331.025 หรือลดลง 33.98% รวม 2 กิจกรรมสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการได้ 228,496.05บาท/ปี

นายชัยยงค์ คชพันธ์ ผู้จัดการบริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอด และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป Delong กาแฟข้าว ดำเนินกิจการในปี 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท  มียอดขายผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอดรวมในปี 2559 เท่ากับ 7,800,000 บาท ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ขายว่าจ้างผลิต 90% ขายให้ผู้บริโภคโดยตรง 10% โดยจำหน่ายในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5% โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด โดยเลือกเข้าโครงการโอปอยใน 2 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เลือกปรับปรุงสินค้าเห็ดนางรมทอด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุด และจากการวิเคราะห์พบว่า เดิมไม่ได้มีการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่จะนำมาทอด และการตั้งความแรงของแก๊สจะต้องอาศัยความชำนาญของพนักงาน เพื่อให้สามารถทอดเห็ดให้สุกได้พอดี และเพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน จึงกำหนดให้มีการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบก่อนนำมาทอด ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อลดเวลาในกระบวนการทอดให้สั้นลง และเปลี่ยนหัวเตาแก๊ส เป็น KB-10 ซึ่งกำลังการผลิตก่อนปรับปรุงมีกำลังการผลิต 31,663.99 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่า 2,533,119.05 บาท/ปี หลังการปรับปรุง 35,809.02 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่า 2,864,721.49 บาท/ปี สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ได้คิดเป็นมูลค่า 331,602.43 บาท/ปี หรือเพิ่มขึ้น 11.58 %

ในแผนงานที่ 6 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด สำหรับกาแฟสำเร็จรูป Delong อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จากการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น มีการประชาสัมพันธ์น้อย โดยเฉพาะช่องทางผ่านระบบออนไลน์ ไม่มีเว็บไซต์ ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย ขาดการกำหนดกลยุทธ์ และมียอดขายที่ลดลงกว่า 30% แต่ภายหลังมีมาตรการปรับปรุง โดยทำประชาสัมพันธ์ผ่านภาพยนตร์ “มหาลัยวัวชน” ที่เป็นกระแสของคนภาคใต้ นำผลิตภัณฑ์เข้าจำหน่ายที่ไปรษณีย์ และสร้างการรับรู้ของกาแฟข้าวสังข์หยดไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำ Clip ผ่าน Facebook และ YouTube ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 2,623,316 บาท หรือเพิ่มขึ้น 13.52 %
« Last Edit: August 30, 2017, 10:16:34 PM by news »