news on August 23, 2017, 03:30:52 PM
ITAP สวทช. - สภาหอการค้าฯ เผยผลรุกมาตรฐาน ThaiGAP หนุนผู้ประกอบการผักและผลไม้ไทยรับรองเพิ่มสูงขึ้นเพื่อขยายตลาด




อบรมมาตรฐานสำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไป



อบรมที่ปรึกษาเกษตรกร (Train the trainer)



เยี่ยมชมไร่ในเชียงราย


เยี่ยมชมไร่ในสกลนคร


เยี่ยมชมไร่ในหาดใหญ่



สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดำเนินโครงการพัฒนาระบบการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐานThaiGAP และ Primary ThaiGAPจัดโรดโชว์อบรมเชิงปฏิบัติการแล้วทั่วประเทศรวม 8แห่ง สนับสนุนผู้ประกอบการผักและผลไม้ให้ได้รับรอง ThaiGAP จำนวน 34ราย และ Primary ThaiGAP จำนวน 2 ราย โดยแห่งล่าสุดที่เชียงราย เกิดความร่วมมือกับวิสาหกิจในชุมชนผู้ผลิตผลิตผลทางการเกษตร3 รายซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงรายที่มุ่งเป้าเป็นฮับภาคเหนือตอนบนด้านสินค้าเกษตรเพื่อรุกตลาดต่างประเทศและสร้างรายได้ให้ชุมชน

นางสาวชนากานต์ สันตยานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโส โปรแกรม ITAP สวทช.
เปิดเผยว่า“การดำเนินโครงการพัฒนาระบบการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน ThaiGAP และ Primary ThaiGAP ของโปรแกรม ITAP สวทช. ที่ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (2557-2560) ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการผักและผลไม้ไทยได้รับการรับรองไปแล้วทั้งสิ้น 36 ราย แบ่งเป็นมาตรฐาน ThaiGAP จำนวน 34 รายและPrimary ThaiGAP จำนวน 2 ราย โดยผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ที่เข้าร่วมโครงการมีความหลากหลายกว่า 70 ชนิด อาทิ เมล่อน มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม แคนตาลูป แตงโม กล้วยหอม พริก ทุเรียน มังคุด เงาะ และมะเขือเทศ เป็นต้น”

“ภาพรวมการดำเนินงานพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการให้ได้มาตรฐาน ThaiGAP และ Primary ThaiGAP พบว่าผู้ประกอบการมียอดขายหลังการได้รับการรับรองเพิ่มมากขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้สามารถเข้าไปขายในโมเดิร์นเทรดได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขณะที่ในปีถัดไปการสนับสนุนมาตรฐาน Primary ThaiGAP จะมีทางหอการค้าจังหวัดทั้ง 75 แห่งรับช่วงดูแลและดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการผักและผลไม้เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ ตลอดช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา ได้จัดโรดโชว์อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อมาตรฐาน ThaiGAP และ Primary ThaiGAP ตามภูมิภาคต่างๆ รวม 8 แห่ง ได้แก่ ภาคกลางที่กรุงเทพฯและจังหวัดนครปฐม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดสกลนคร ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี และภาคเหนือที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดตาก และล่าสุดที่จังหวัดเชียงราย โดยแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอบรมมาตรฐานสำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไป ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 700 คน และหลักสูตรอบรมที่ปรึกษาเกษตรกร (Train the trainer) ซึ่งมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ร่วมอบรมกว่า 40 คนเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อันจะสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรการเกษตรด้านผักและผลไม้ มีผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยตามข้อกำหนด ตลอดห่วงโซ่ของการผลิตจากเกษตรกรถึงผู้บริโภค”



นางสาวชนากานต์ สันตยานนท์ กล่าวต่อว่า “ในส่วนของจังหวัดเชียงราย โปรแกรม ITAP สวทช. ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทางจังหวัด ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ในการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 50 คน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย สหกรณ์การเกษตรเมืองเชียงราย โครงการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข กลุ่มข้าว อ.เวียงชัย สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ฟ้าหลวง บริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัดเป็นต้น ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาระบบการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน ThaiGAP และ Primary ThaiGAP มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย (พ.ศ. 2557 - 2560)ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งตั้งเป้าจำนวนแปลงที่ได้รับใบรับรอง GAP เพิ่มขึ้น เช่น แปลงหรือฟาร์มข้าว ชา กาแฟ ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้นเพื่อมุ่งเป้าเป็นฮับภาคเหนือตอนบนสำหรับการเป็นศูนย์กลางผลิตผลทางการเกษตรที่ขายไปยังตลาดต่างประเทศและในโอกาสนี้ โปรแกรม ITAP และหอการค้าจังหวัด ได้นำคณะผู้เข้าร่วมอบรมเยี่ยมชมไร่สิงห์ปาร์ค ของบริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัดชมแปลงตัวอย่างไร่พุทราที่มีความสนใจเข้าร่วมพัฒนาเพื่อรับรองมาตรฐาน และสวนผักแม่หมูรัฐวิสาหกรรมชุมชนบ้านแม่สาด ของนายพงษ์ศักดิ์ ทูลอินทร์ แปลงปลูกลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มะม่วง และผลไม้ตามฤดูกาล ที่อยู่ระหว่างการตรวจประเมินเพื่อรับรองการได้มาตรฐาน ThaiGAPโดยในภาพความร่วมมือของโครงการและจังหวัดเชียงราย จะเน้นการหาพันธมิตรเพื่อร่วมจัดทำมาตรฐาน เบื้องต้นมีวิสาหกิจจำนวน 3 กลุ่มที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนชาพญาไพรเล่ามา อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายวิสาหกิจชุมชนสับปะรดแม่ปูคา ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย และวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรบ้านแม่สาด รวมถึงเน้นการสร้างผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นโดยเฉพาะอาจารย์เพื่อสร้างให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นที่จะให้คำแนะนำผู้ประกอบการผักและผลไม้ในเชียงรายในการดำเนินการตามมาตรฐานต่อไป”
« Last Edit: August 23, 2017, 09:35:43 PM by news »