ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด
ชี้ความเชื่อมั่นด้านรายได้ของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี
- ตลาดหุ้นขาขึ้น ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วเอเชียแปซิฟิกขึ้นตาม
กรุงเทพฯ (22 สิงหาคม 2560) – ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence) ที่ได้รับการเปิดเผยในวันนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 66.9 จุด เป็นการปรับขึ้นมาเล็กน้อยจากระดับ 62.7 จุดของเมื่อหกเดือนที่แล้ว คะแนนความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นมา 4.2 จุดนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากแนวโน้มที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของตลาดหุ้นและภาวะการจ้างงาน โดยสูงขึ้น 7.3 จุด และ 5.1 จุด ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้บริโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิกจำนวนถึง 11 ประเทศจากทั้งสิ้น 18 ประเทศ ยังคงมีความเห็นไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งก่อนมากนัก (+/- ไม่เกิน 5 จุด) อนึ่ง ดัชนีนี้รวมถึงรายงานอ้างอิงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดได้ ทั้งนี้ ผู้บริโภคในประเทศไทยมีความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะความเชื่อมั่นด้านรายได้ โดยผู้บริโภคชาวไทยเชื่อมั่นว่า ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าจะได้รับรายได้ประจำและผลตอบแทนจากการทำงานเพิ่มขึ้นเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการปรับตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประชากรมีความคาดหวังสูงมากว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังไปได้ดี กระตุ้นให้ความเชื่อมั่นของเกาหลีใต้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ พศ. 2538 และผลักดันให้เกาหลีใต้กระโดดข้ามจากการอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นต่ำมาอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นสูงมากได้ภายในช่วงระยะเวลาเพียงหกเดือน เช่นเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีการปรับระดับความความเชื่อมั่นสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นตลาดที่มีระดับความเชื่อมั่นลดลง มากที่สุดในภูมิภาค โดยมีคะแนนต่ำลงถึง 9.3 จุด แม้ว่าจะยังคงอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ความเชื่อมั่นสูงมากด้วยคะแนน 86.0 จุดก็ตาม เช่นเดียวกับพม่าที่มีระดับคะแนนความเชื่อมั่นลดลงเล็กน้อย (ลดลง 6 จุด) ซึ่งจากการสำรวจของดัชนีมาสเตอร์การ์ดพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ระดับความเชื่อมั่นทั้งในอินเดียและพม่าลดลงก็คือทัศนคติที่แย่ลงในเรื่องคุณภาพชีวิต
ช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พศ. 2560 ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 9,153 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปีจาก 18 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกได้รับการสอบถามให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจห้าประการในอีกหกเดือนข้างหน้า อันได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง ภาวะตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยดัชนีนี้ได้มาจากการคำนวนระดับคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยที่ 0 หมายถึง รู้สึกแย่ที่สุด และ 100 หมายถึงรู้สึกดีที่สุด ส่วนคะแนนระหว่าง 40 ถึง 60 จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง วิธีการวิจัยผู้ตอบแบบสำรวจต้องตอบคำถามห้าข้อ เพื่อแสดงความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอีกหกเดือนข้างหน้าในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ ภาวะตลาดหุ้นในประเทศ โอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตของพวกเขา คำตอบทั้งหมดที่ได้รับจะถูกแปลงให้เป็นดัชนีห้าประการที่จะนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อสร้างดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Consumer Confidence, MICC) โดยดัชนี MICC และดัชนีประกอบทั้งห้ารายการนั้นจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 – 100 โดยที่ 0 หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่แย่ที่สุด 100 หมายถึงระดับความเชื่อมั่นที่ดีมากที่สุด และ 50 หมายถึงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับปานกลางเกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ดการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index™ of Consumer Confidence) มีมายาวนานถึง 20 ปี เป็นผลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์กว่า 200,000 ราย จึงถือได้ว่าเป็นงานสำรวจวิจัยที่ไม่มีใครเทียบชั้นได้ ทั้งในแง่ของขนาดข้อมูล และระยะเวลาในการสะสมข้อมูลที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การสำรวจนี้มีมายาวนานที่สุดและมีความครอบคลุมที่สุดเมื่อเทียบกับการสำรวจรูปแบบเดียวกันในภูมิภาคนี้ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ดัชนีนี้ได้เผยให้เห็นถึงระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ค่าเงินบาทจะอ่อนตัว จนเกิดเป็นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคในลำดับถัดมา และอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ที่ดัชนีนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นด้านภาวะการจ้างงานในฮ่องกงนั้นมีระดับคะแนนลดต่ำลงเหลือเพียง 20.0 ซึ่งต่อมาได้สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการว่างงานของฮ่องกงที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 8% ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
การสำรวจนี้เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2536 และได้ถูกจัดทำเรื่อยมาตลอดนับแต่บัดนั้น โดยจะแสดงผลปีละสองครั้ง ปัจจุบันมีตลาด (ประเทศ) ในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การสำรวจจำนวนถึง 18 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม มาสเตอร์การ์ดและชุดผลสำรวจต่างๆมาสเตอร์การ์ดจัดทำดัชนีผลสำรวจมากมายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ MasterCard Index of Consumer Confidence ที่มีมายาวนาน รวมถึง MasterCard Index of Women’s Advancement, MasterCard Index of Financial Literacy และ MasterCard Index of Global Destination Cities นอกจากดัชนีต่างๆเหล่านี้แล้ว งานวิจัยของมาสเตอร์การ์ดยังรวมถึงการสำรวจผู้บริโภคต่างๆอย่างหลากหลาย อาทิ Online Shopping, Ethical Spending และการสำรวจมากมายด้านการจัดลำดับปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อของผู้บริโภค (ครอบคลุมถึงเรื่องท่องเที่ยว อาหาร & สิ่งบันเทิง การศึกษา การบริหารทางการเงิน สินค้าฟุ่มเฟือย และการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป) ###
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ดMasterCard (NYSE: MA เว็บไซต์ www.Mastercard.com) เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับสากล บริษัทฯ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายกระบวนการชำระเงินที่รวดเร็วที่สุดในโลก เชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ค้า หน่วยงานรัฐบาล และ ธุรกิจในกว่า 210 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ได้ทาง ทวิตเตอร์ที่ @MasterCardAP และ @MasterCardNews ร่วมสนทนากับบริษัทฯ ผ่านทาง Beyond the Transaction Blog และ สมัครที่นี่ เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau