happy on August 19, 2017, 08:19:05 PM
ประโยชน์ 6 ข้อ สำหรับธุรกิจที่จะได้รับจากบล็อกเชน


นายสตีฟ ทรีกัสต์ ผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมการเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการวางกลยุทธ์ บริษัท ไอเอฟเอส

                       บล็อกเชน (Blockchain) ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรับรองความถูกต้องให้กับบิทคอยน์ (Bitcoin) ระบบสกุลเงินที่สร้างปรากฏการณ์ให้กับอุตสาหกรรมการเงินอย่างมากเมื่อปี 2008 (พ.ศ. 2551) แกนหลักของเทคโนโลยีนี้คือการกำจัดระบบควบคุมแบบเบ็ดเสร็จจากส่วนกลางด้วยการนำเสนอเครือข่ายแบบกระจายที่มีข้อกำหนดและกฎระเบียบในแบบฉบับของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึงด้วย จริงๆ แล้วสองสิ่งนี้ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่ากัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำสิ่งไหนไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า



บล็อกเชนคืออะไร

                       BitcoinBlockchain เป็นบัญชีแยกประเภทระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัย โดยเชื่อมต่อกับหลายภาคส่วนบนเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนสินทรัพย์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดังกล่าวด้วย โดยเบื้องต้นแล้ว เทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือของบิทคอยน์ในการรับรองความถูกต้องของสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ในโลกการเงินจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลกเมื่อปี พ.ศ. 2551

                       ทุกธุรกรรมในระบบดิจิทัลจะได้รับการเก็บบันทึกอย่างปลอดภัยในห่วงโซ่ (เชน) ที่เชื่อมต่อกันด้วยคีย์ดิจิทัลที่มีการเข้ารหัสไว้สำหรับใช้แสดงความถูกต้องเมื่อได้รับการตรวจสอบจากเครือข่าย การสร้างสำเนา การแก้ไข หรือการลบธุรกรรมจะได้รับการป้องกันโดยเชนซึ่งมีอยู่ในคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนบนเครือข่าย ยิ่งบล็อกเชนยาวมากเท่าไรและเครือข่ายกว้างไกลมากเพียงใด คีย์ดิจิทัลก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นบล็อกเชนจึงมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นไปอีก

แพลตฟอร์มการค้าขายแลกเปลี่ยนแบบใหม่

                       โดยปกติแล้วรูปแบบของการค้าขายแลกเปลี่ยนจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างกันอย่างน้อยสองคนขึ้นไป (ยกเว้นการแลกเปลี่ยนแบบใช้สินค้าแลกกัน) และมักจะต้องมีคนกลางในการทำให้ข้อตกลงบรรลุผล ตลอดจนช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการซื้อขายโดยแลกกับค่าตอบแทนในการทำหน้าที่คนกลางดังกล่าว (ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวมีมูลค่ามากถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2014 จากข้อมูลของนักเศรษฐศาสตร์)

                       บล็อกเชนได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบค้าขายดังกล่าวด้วยการนำแต่ละคนหรือกลุ่มต่างๆ มารวมเข้าด้วยกันบนเครือข่ายที่เชื่อถือได้และไม่มีบุคคลที่สามเป็นตัวกลาง ทั้งยังสามารถบันทึกการทำธุรกรรมแต่ละรายการได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย โดยภาพรวมการทำงานของบล็อกเชนสามารถดูได้จากคลิปวิดีโอของ MIT ความยาว 2 นาทีที่มีชื่อว่า Blockchain – A short introduction

ข้อดีทางธุรกิจ

                       การใช้ระบบค้าขายแลกเปลี่ยนแบบใหม่นี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถอย่างน้อย 1 ใน 6 อย่างดังนี้:

ข้อดีที่ 1: ประสิทธิภาพ

                       การทำธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้โดยตรงและไม่ต้องมีคนกลาง ทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล จึงทำให้การดำเนินธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ ‘สัญญาอัจฉริยะ’ (Smart Contract) เพื่อผลักดันให้การดำเนินการด้านการค้าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าว แนวทางนี้ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยกำจัดเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรมด้วย บทความเรื่อง “How Utilities Are Using Blockchain to Modernize the Grid” โดย Oliver Wyman Consulting มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์แนวทางนี้ในอุตสาหกรรมพลังงาน

ข้อดีที่ 2: ความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบบัญชี

                       เนื่องจากธุรกรรมแต่ละรายการได้รับการเก็บบันทึกอย่างต่อเนื่องและไม่มีกำหนด ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ตลอดทั้งวงจรชีวิตของสินทรัพย์ สิ่งนี้จะยิ่งมีความสำคัญอย่างมากหากข้อมูลต้นฉบับเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของสินทรัพย์ และข้อดีดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันแล้วจากบริษัท Everledger ในการติดตามตรวจสอบเพชรตามที่มีข้อมูลสรุปไว้ในบทความเรื่อง “How the blockchain is helping stop the spread of conflict diamonds” ในนิตยสาร Wired

ข้อดีที่ 3: ความสามารถด้านการติดตาม

                       การติดตามสินค้าในซัพพลายเชนจะได้รับประโยชน์หากต้องการติดตามตรวจสอบว่าตอนนี้ชิ้นส่วนต่างๆ อยู่ที่ใดบ้าง โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนดังกล่าวจะถูกส่งไปยังหรือได้รับจากเจ้าของใหม่เพื่อดำเนินการในด้านอื่นๆ ต่อไป ข้อดีนี้มีรายละเอียดในบทความของ Harvard Business Review เรื่อง “Global Supply Chains Are About to Get Better, Thanks to Blockchain”

ข้อดีที่ 4: ความโปร่งใส

                       ในบางครั้งการขาดความโปร่งใสทางการค้าอาจนำไปสู่ความล่าช้าในการดำเนินธุรกิจและสามารถทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ซึ่งการให้รายละเอียดของการทำธุรกรรมอย่างชัดเจนจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการค้าขาย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้มั่นคงยิ่งขึ้นตามระดับความโปร่งใสที่มีอยู่ด้วย

ข้อดีที่ 5: ความปลอดภัย

                       ธุรกรรมแต่ละรายการจะได้รับการตรวจสอบภายในเครือข่ายโดยใช้การเข้ารหัสลับที่ซับซ้อนและได้รับการตรวจสอบอย่างอิสระ ดังนั้นจึงสามารถมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลได้ และข้อมูลที่น่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญของการใช้ประโยชน์จากแนวทางอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์  (Internet of Things: IoT) ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานเชื่อมโยงสินทรัพย์ที่ใช้งานอยู่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีการควบคุมในระบบปิด แนวทางนี้กำลังได้รับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมด้านกลาโหมสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งและการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ในบทความของ Ascent เรื่อง “Securing 3D-Printing: Could Blockchain be the Answer?”

ข้อดีที่ 6: ความเห็น

                       ด้วยความสามารถในการติดตามสินทรัพย์ครอบคลุมทั้งวงจรชีวิต ผู้ออกแบบและผู้ผลิตสินทรัพย์จึงสามารถปรับรูปแบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลในด้านต่างๆ ไมว่าจะเป็นการจัดส่ง การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการรื้อถอน



6 BUSINESS BENEFITS OF BLOCKCHAIN


STEVE TREAGUST
Global Industry Director for Finance, HCM & Strategy, IFS


Blockchain was born to provide legitimacy to its Bitcoin master after the financial cataclysm of 2008. At its heart is a rebellious disdain for central authoritative control, offering instead a decentralized network of self-compliance and regulation. But the servant has become the master, offering business benefits not envisaged during its conception. In fact, it’s nothing short of a game changer for those who can master it.



WHAT IS BLOCKCHAIN?

BitcoinBlockchain is a secure distributed electronic ledger, connecting multiple parties in a network of trust and integrity, facilitating the transfer of assets and the information pertaining to those assets. It was initially created as the means by which Bitcoin could be legitimized as genuine electronic currency after the seismic events in the financial world that lead to the global financial crisis in 2008.

It does this by securely recording digital transactions in a sequential chain using cryptographic digital keys, which are verified by the network as authentic. Duplication, editing or removal of transactions is prevented by the chain, which is held on everyone’s computer on the network. The longer the Blockchain and the wider the network the more complex the digital key, and hence the more secure the Blockchain.


A NEW TRADING PLATFORM

Any type of trade requires exchanging assets between two or more parties, and unless the trade follows the bartering system, there is always at least one central third party that is brokering the deal, providing trust into the trade and seeking their own compensation for the role that they undertake ($1.7Tn in 2014 according to the economist).

Blockchain alters this trading platform by bringing parties together in a trusted network without a third party and by recording each transaction sequentially and securely. This is illustrated succinctly in this two-minute MIT video, Blockchain – A short introduction.


BUSINESS BENEFITS

Utilizing this new trading platform can bring many business benefits, but most are centered on delivering one or more of six competencies:

Benefit #1: Efficiency

As transactions are completed directly between the relevant parties with no intermediary and with digitized information, settling the transaction can be quick. Added to this is the ability to operate ‘smart contracts’ which automatically trigger commercial actions based on satisfying the criteria laid out in the contract. This can dramatically streamline processes and in doing so, remove time and cost from transacting. The article, “How Utilities Are Using Blockchain to Modernize the Grid,” by Oliver Wyman Consulting outlines how this is being utilized currently in the energy industry.

Benefit #2: Auditability

As each transaction is recorded sequentially and indefinitely, it provides an indelible audit trail for the life of an asset even between parties. This is especially important if source data is essential in verifying an assets authenticity. Currently, this benefit is being realized by the company Everledger to track diamonds as summarized in this article in Wired magazine, “How the blockchain is helping stop the spread of conflict diamonds.”

Benefit #3: Traceability

Tracking goods forwards in a supply chain can be advantageous when seeking to trace where components are currently residing. Information relating to the component can then relayed to or from the new owner for possible action. This benefit is succinctly described in this Harvard Business Review article, “Global Supply Chains Are About to Get Better, Thanks to Blockchain.”

Benefit #4: Transparency

Lack of commercial transparency can sometimes lead to delays in commerce and a breakdown in relations. By providing details of transactions against the commercial construct, further trust can be enlisted within the process and so provide a more stable relationship based on transparency rather than negotiation.

Benefit #5: Security

As each transaction is verified within the network using independently verified complex cryptography, the authenticity of the information can be assured. Assured information is one of the fundamental keys to unlocking the benefits of the Internet of Things (IoT), which is a closed loop cyber autonomous process linking assets to actions. A version of this is currently being used in the defense Industry for verification of instructions and protection of IP, as illustrated in this article by Ascent, “Securing 3D-Printing: Could Blockchain be the Answer?”

Benefit #6: Feedback

With full traceability throughout the lifecycle of an asset, the asset designers and manufacturers can accommodate through-life asset management into their products to make them more effective. This can allow for information returning from shipping, installation, maintenance and decommissioning.
« Last Edit: August 19, 2017, 08:27:11 PM by happy »