news on August 01, 2017, 08:01:15 AM
ทางเลือกที่ดีที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โดย คุณสเตฟาน คูเดนเนค, ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานลูกค้า, แอมดอกซ์ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นประเด็นทางเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องยกระดับประสิทธิภาพทางการทำงานในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการวางแผนเศรษฐกิจของไทยในรูปแบบ Thailand 4.0 จากการรายงานของ IDC เผยว่าการใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทยจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกว่า 415 พันล้านบาท ภายในสิ้นปี 2560
คนส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital transformation) เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถือเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านความแตกต่างในการอัพเดตข้อมูลทางเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านบันเทิง ข้อมูลทางด้านสินทรัพย์และแพลตฟอร์มที่เป็นอันหนึ่งอันเดียว บางข้อมูลมาจากระบบอัตโนมัติและบางส่วนมาจาก customer-facing functions ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นความต้องการของการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล
จากการรายงานการศึกษาของ Microsoft เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า 89 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำทางด้านธุรกิจไทย ตระหนักถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลงขององค์กรของตนเอง ที่จะพร้อมเดินหน้าพัฒนาให้เติบโตในอนาคต มีเพียง 29 เปอร์เซ็นต์ของแบบสำรวจพบว่าจะสามารถนำการดำเนินงานทางด้านดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital transformation) จะครอบคลุมการใช้งานในทุกๆองค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่เฉพาะเจาะจงในธุรกิจโทรคมนาคม รวมทั้งการทำงานใบระบบหลังบ้านไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการให้บริการในธุรกิจต่างๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านไอที ไม่เพียงแต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลจะทำให้ธุรกิจดีขึ้นอีกด้วย
สำหรับประโยชน์ที่แท้จริง: ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัล เป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้อุปกรณ์ทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของแบรนด์ สถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ เพื่อตระหนักถึงประโยชน์ของ DX สำหรับการอัพเกรดของระบบพื้นฐาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการสร้างความก้าวหน้าในกระบวนการของ DX
สำหรับความท้าทายของกระบวนการภาคปฏิบัติ : ถือเป็นการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย แห่งความสำเร็จ เราจำเป็นต้องมองหาข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยจะต้องทราบความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อเทคโนโลยี จากรายงานของ IDC ในนามของแดอมดอกซ์ ได้ทำการสำรวจผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารรายใหญ่ จำนวนกว่า 80 รายในยุโรป อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับการวางแผนของ DX ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับฟังก์ชั่นการทำงานทางเครือข่าย
จากผลการรายงาน แสดงให้เห็นว่า ผู้ให้บริการทางการสื่อสารในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล จากตัวอย่าง พบว่า มีจำนวน 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวเอเชีย และ 27 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภาคพื้นอเมริกาเหนือ คาดว่าจะได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า หากพวกเขาได้รับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อกำหนดที่วางไว้อย่างชัดเจน
สำหรับการกำหนดข้อมูลส่วนบุคคลและการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการจำเป็นต้องลดระยะเวลาในการทำการตลาดเพื่อที่จะเพิ่มการให้บริการ อีกทั้งจำเป็นต้องจัดหาผลิตภัณฑ์และระบบจัดการเกี่ยวกับข้อเสนอในระยะเวลาเดียวกันในได้จำนวนมากขึ้น สำหรับการเสนอผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องนำเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับจำนวนที่เพิ่มขึ้นที่มาพร้อมความสะดวกรวดเร็ว โดยจะต้องมีการทำงานแบบเรียลไทม์เพื่อที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันที ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือผู้ให้บริการในเอเชียแปซิฟิก จำนวนกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ที่จะใช้บริการแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการทางด้านการเข้าถึงคุณลักษณะสำคัญของการใช้งาน ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าในบริเวณอเมริกาเหนือถึง 55 เปอร์เซ็นต์
ระบบการเรียกเก็บเงินแบบผสานกันสามารถให้ชุดข้อมูลการใช้งานที่ครบถ้วนและทันเวลาสำหรับการแบ่งส่วนและการวิเคราะห์ข้อมูล ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสร้างรายได้แบบเรียลไทม์ การเรียกเก็บเงินแบบผสานกันจะกลายเป็นส่วนสำคัญของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลมีอยู่หลายด้านและผู้ให้บริการคาดหวังไว้ว่าการเรียกเก็บเงินแบบผสานรวมจะให้การสนับสนุนได้หลายด้าน ผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจัดอันดับความสามารถที่สำคัญที่สุดในการเรียกเก็บเงินไว้สูงกว่าโดยเฉลี่ยทั่วโลกในแง่ของข้อกำหนดในการสนับสนุนกลยุทธ์ทางดิจิทัล
ผู้ให้บริการทั่วโลกยังเปิดรับที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดส่งมากยิ่งขึ้น ในอดีตนั้น การเรียกเก็บเงินมีความล้าหลังกว่าเครือข่ายและภาคส่วนอื่นของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในการจัดหาภายนอก แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง จากแบบสำรวจ 95.65เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าจะมีการใช้การเรียกเก็บเงินบนระบบคลาวด์ส่วนตัวภายในระยะเวลาสามปีนับจากนี้ ซึ่งจะส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงจากฮาร์ดแวร์เฉพาะและแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมุ่งมั่นที่จะย้ายการเรียกเก็บเงินไปยังระบบคลาวด์
นอกเหนือจากการกำหนดให้เป็นส่วนตัวแล้ว ความสามารถอื่นๆ ที่ผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าพวกเขาคาดหวังที่จะใช้ (มากกว่า 75เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม) การเรียกเก็บเงินแบบผสานกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำหรับตลาดผู้บริโภคและธุรกิจ ความสัมพันธ์แบบใบเรียกเก็บเงินเดี่ยว (เลือกโดย 86เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) มักเป็นที่ต้องการโดยองค์กรต่างๆ ที่ต้องการความโปร่งใสและการบริหารจัดการบริการที่ง่ายสำหรับการสื่อสารของพวกเขา โดย 91เปอร์เซ็นต์ มองเห็นว่าความสามารถใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับผู้ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือการสร้างข้อเสนอพิเศษที่รวมไว้ในแผนครอบครัวและการ รวมกลุ่มหลายแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเรียกเก็บเงินแบบกลุ่มและของพาร์ทเนอร์มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากมายสำหรับตลาดผู้บริโภคและธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มแบบไฮเปอร์สเกลที่ช่วยให้ระบบนิเวศของพาร์ทเนอร์ทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันเพื่อมอบประโยชน์ให้กับฐานลูกค้าที่กำหนดได้
ข้อเสนอของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสามารถเปลี่ยนแปลงไปจากสองอันดับแรกที่มีการจัดลำดับความสำคัญระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งให้บริการด้านการตลาดนั้นส่วนใหญ่เป็นการให้ความบันเทิงและการชำระเงินผ่านมือถือซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ที่มีการเติบโตสูงสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ใช่เรื่องบังเอิญความสำคัญจะไม่ใช่ฟังก์ชันโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม ความบันเทิงและการชำระเงินถือเป็นประเภทบริการดิจิทัลที่ผู้ให้บริการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกและเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการใหม่ๆ สำหรับระบบการเรียกเก็บเงินแบบผสานกัน
กลุ่มผู้ให้บริการทั้ง 80 รายของเราได้กล่าวว่า: การตั้งค่าส่วนบุคคลกำหนดให้มีความรวดเร็วและความรวดเร็วจะต้องมีความสามารถแบบเรียลไทม์ สภาพแวดล้อมของการเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพพร้อมกับขีดความสามารถที่เหมาะสมสามารถรองรับตลาดผู้บริโภคโดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับบริการใหม่ๆ แต่น่าจะต้องการการปรับตัวอย่างมากในการสนับสนุนบริการสำหรับตลาดองค์กร ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
แม้ว่าทิศทางในการเปลี่ยนแปลงจะเป็นระบบดิจิทัลก่อนก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลไม่ได้ใช้เพียงแค่เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีที่จะรองรับธุรกิจต่างๆ ในการดำเนินการเช่นนี้ ผู้ให้บริการย่อมต้องการความช่วยเหลือด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน พวกเขาต้องมีการปฏิรูปที่อยู่ระหว่างดำเนินการ การรักษาหรือลดพนักงาน การจัดองค์ประกอบของ KPI เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้มีความสำคัญต่อทุกระดับขององค์กร ระบบนิเวศของพาร์ทเนอร์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและอื่นๆ อีกมากมาย การเลือกใช้เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการเลือกพาร์ทเนอร์เพื่อที่จะปรับปรุงธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับ แอมดอกซ์
แอมดอกซ์ ผู้นำทางด้านโซลูชั่นซอฟต์แวร์และบริการสำหรับผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสาร และมีเดีย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แอมดอกซ์และพนักงานกว่า 25,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 85 ประเทศ และอยู่ในรายชื่อ NASDAQ Global Select Market ในปีการเงิน 2016 แอมดอกซ์มีรายได้ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com
« Last Edit: August 01, 2017, 08:59:06 AM by news »
Logged