enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » ไบโอเทค สวทช. ยกระดับ “สิ่งทอไทย” ด้วย “เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวัน”ประหยัดพลังงาน « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on July 21, 2017, 11:18:14 PM ไบโอเทค สวทช. ยกระดับ “สิ่งทอไทย” ด้วย “เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวัน”ประหยัดพลังงาน รักษ์สิ่งแวดล้อมผ้าที่ผ่านกระบวนการใช้เอนอีซแก้ปัญหาการย้อมห้อมสีติดสม่ำเสมอมากขึ้นเทียบสีผ้าที่ใช้เอนอีซกับไม่ใช้(21กรกฎาคม 2560)ที่ อำเภอเมือง และสูงเม่น จังหวัดแพร่ : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ชมการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมทดสอบการใช้เอนไซม์เอนอีซ เอนไซม์อัจฉริยะ ทูอินวัน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นักวิจัยจากศูนย์ไบโอเทค สวทช. ผลิตและนำไปใช้ในกระบวนการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวแทนการใช้สารเคมี 100% ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเนื้อผ้านิ่มเหมาะสำหรับการสวมใส่ ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560 ณ ร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ แหล่งผ้าทอหม้อห้อมพื้นเมือง ที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ @เอนไซม์เอ็นอีซนวัตกรรมวิจัยยกระดับสิ่งทอดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ในฐานะผู้วิจัยเอนไซม์เอนอีซ (ENZease)“เอมไซม์อัจฉริยะ ทูอินวัน” ได้สำเร็จ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ โรงงานสิ่งทอธนไพศาล ร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้ในสหสาขาวิชาต่างๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อพัฒนา “เอนไซม์เอนอีซ (ENZease)” ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดเลือกจากศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center: TBRC) ซึ่งจุลินทรีย์นี้สามารถสร้างเอนไซม์ได้ทั้งอะไมเลส และเพคติเนส ในเวลาเดียวกันเรียกได้ว่าเป็น “เอนไซม์อัจฉริยะ” ที่สามารถทำงานได้ดีในช่วงค่าพีเอช (pH) และอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกัน คือ pH 5.5 และที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงมีจุดเด่นคือ ไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพความแข็งแรงของผ้าสามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียวภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการผลิตและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของผ้าฝ้ายให้มีคุณภาพสูงมากกว่าที่ใช้สารเคมี เนื่องจาก เอนไซม์เอนอีซจะทำปฏิกิริยาแบบจำเพาะเจาะจง ต่างจากสารเคมีที่ทำลายเส้นใยผ้าซึ่งจะส่งผลให้ผ้ามีความแข็งแรง น้ำหนักลดลง และเนื้อผ้านิ่ม เหมาะสมสำหรับการสวมใส่ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับ บริษัท เอเชียสตาร์ เทรด จำกัด ซึ่งมีความชำนาญในการผลิตเอนไซม์ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตเอนไซม์เอนอีซเพื่อจำหน่ายได้มากกว่า 10 ตันต่อเดือน นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ให้กับผลงานวิจัยนี้ร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ แหล่งผ้าทอหม้อห้อมพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลงานวิจัยในการผลิตหม้อห้อมอีกด้วย@ข้อจำกัด อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยนายปิลันธน์ ธรรมมงคล กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ธนไพศาลผู้ประกอบการโรงงานสิ่งทอรายใหญ่ ใน จังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยถึงปัญหาในกระบวนการผลิตสิ่งทอว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยนั้นมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเป็นหนึ่งในธุรกิจขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศอันดับต้นๆและเป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนการทางอุตสาหกรรมสิ่งทอมักจะใช้สารเคมีในปริมาณมาก รวมไปถึงการใช้พลังงานสูงในกระบวนการ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการลอกแป้ง (Desizing) และกำจัดสิ่งสกปรก (Scouring) บนผ้าฝ้ายที่ต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างอย่างรุนแรง อาทิ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และโซดาไฟที่สำคัญกระบวนการทั้งสองต้องทำแยกกันเพราะมีการใช้สารเคมีในสภาวะที่แตกต่างกัน ทำให้ใช้พลังงานสูง สิ้นเปลืองเวลา และน้ำที่ใช้ในระบบอย่างไรก็ตามที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้เอนไซม์ในกระบวนการทางสิ่งทอของประเทศไทย ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้ประกอบการสิ่งทอไทยต้องสั่งซื้อเอนไซม์บางชนิดมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเอนไซม์เพกติเนสนั้นมีราคาค่อนข้างแพงในท้องตลาด อีกทั้งเอนไซม์สำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าในท้องตลาด ยังขายแยกกันเพราะมีข้อจำกัดคือไม่สามารถทำร่วมกันได้ในขั้นตอนเดียวกัน ส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการผลิตผ้าที่ใช้สารเคมีสูงกว่าการใช้เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งนักวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้วิจัยและสามารถทำงานได้ทั้งสองขั้นตอนในครั้งเดียวแล้ว ประหยัดเวลา พลังงานและต้นทุน@ทดแทนสารเคมี100% ลดต้นทุนการผลิตนายปิลันธน์ กล่าวต่อว่าทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัยเพื่อนำความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะ “เทคโนโลยีเอนไซม์” ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการทางสิ่งทอมากยิ่งขึ้น เช่น การนำเอนไซม์อะไมเลสสำหรับการลอกแป้ง และเอนไซม์เพกติเนสสำหรับกำจัดสิ่งสกปรก ซึ่งผ่านมาได้ใช้ “เอนไซม์เอนอีซ” ทดสอบภาคสนามในโรงงานสิ่งทอธนไพศาล จังหวัดสมุทรปราการ และประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิกระบวนการแบบจุ่มอัดหมัก (Cold-Pad-Batch: CPB) และแบบจุ่มแช่ (Exhaustion) โดยใช้เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมของโรงงานและไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องจักรและสายการผลิตแต่อย่างใด นอกจากนี้ผ้าที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโรงงาน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟอกย้อมและพิมพ์ลาย ก่อนนำส่งลูกค้าของโรงงานจากการใช้ “เอนไซม์เอนอีซ” นั้นสามารถทดแทนการใช้สารเคมีในระบบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้น้ำ ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย ลดขั้นตอนในกระบวนการเตรียมผ้า พลังงาน และต้นทุนการผลิตโดยรวมได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกระบวนการดั้งเดิม@ ช่วยการย้อมห้อมสีติดเสมอทั้งผืนผ้านางประภาพรรณ ศรีตรัย ตันแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ตำบลทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า จากการใช้เอนไซม์เอนอีซในกระบวนการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวทั้งแบบแช่ และแบบต้ม ทำให้ผ้าที่ได้มีระดับการลอกแป้งและการซึมน้ำของผ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐานและเหมาะสมต่อการนำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ โดยเมื่อนำผ้าผืนที่ได้จากการทดสอบด้วยเอนอีซมาผ่านกระบวนการพิมพ์ลาย และย้อมสีห้อม พบว่ามีการย้อมสีห้อมติดสีสม่ำเสมอกันทั้งพื้น ดูดซึมน้ำสีได้ดีและเร็วโดยไม่ต้องออกแรงขยี้ และมีสัมผัสที่นุ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การใช้เอนอีซยังช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถเพิ่มคุณภาพของผ้าฝ้ายและช่วยลดพลังงานในกระบวนการต้มด้วยผงซักฟอกลงได้ และช่วยลดเวลาในกระบวนการแช่ผ้ากับน้ำหมักจากน้ำผักผลไม้จาก 3 วัน เหลือเพียงแค่ 18 ชม. เท่านั้นด้าน นางชวัลณัฏฐ์ ถิ่นจอมธ์ ผู้ประกอบการร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น เปิดเผยว่า เริ่มนำเอมไซม์เอนอีซมาใช้ในการลอกแป้งและทำความสะอาดผ้าฝ้ายแล้วพบว่าลดขั้นตอนการทำความสะอาดได้มาก ใช้เวลาเพียง1 วัน จากเดิมใช้เวลา 3 วันที่ แลยังช่วยลดกลิ่นเหม็นของแป้งที่ติดอยู่บนผ้าได้ดีมาก นอกจากนั้นแล้วยังขจัดคราบสกปรกบนผ้าได้หมดจดทำให้ผ้านิ่มขึ้นและสีของห้อมสังเคราะห์ซึมผ่านผ้าได้ดีขึ้น ช่วยให้สีย้อมติดสม่ำเสมอทั้งผืนผ้าได้เป็นอย่างดี@เปิดโอกาสผู้ประกอบการเข้าถึงนวัตกรรมอย่างไรก็ดีจากความสำเร็จของงานวิจัยเอนไซม์อัจฉริยะ ที่นำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการสิ่งทอไทยครั้งนี้ สวทช. ขอเชิญชวนและเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการสิ่งทอไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งสัมผัสผลงานวิจัยและนวัตกรรม “เอนไซม์อัจฉริยะ” ในงานสัมมนา “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ แหล่งที่มาของเอนไซม์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เอนไซม์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสิ่งทอที่มุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยงานดังกล่าวฯ จัดขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2560 เวลา 12.30 - 16.30 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค กรุงเทพมหานคร ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับฟังได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสอบถามรายละเอียดได้ที่0 2644 8150 ต่อ 81889 (คุณอริสรา) และ81896 (คุณนพดร)และwww.nstdaacademy.com/enz หรือ www.facebook.com/enzeasetextile « Last Edit: July 21, 2017, 11:22:24 PM by news » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » ไบโอเทค สวทช. ยกระดับ “สิ่งทอไทย” ด้วย “เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวัน”ประหยัดพลังงาน