news on July 18, 2017, 08:12:25 AM
อีริคสันเปิดตัวบริการโครงข่ายสำหรับ Massive IoT

•   แพ็คเกจการให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมให้ผู้ประกอบการนำเสนอแอพพลิเคชั่น Internet of Things ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
 
•   อีริคสันยังนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับ IoT รูปแบบใหม่ เช่น Voice over LTE สำหรับ Cat-M1 สามารถส่งข้อมูลเสียงไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

•   เปิดตัว Automated Machine Learning ของศูนย์ปฏิบัติการโครงข่ายอีริคสัน ที่จะสามารถช่วยจัดการเรื่องต้นทุนค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้แบบเชิงรุก[/b]








สำหรับการเปิดตัวโครงข่าย Internet of Things (IoT) สู่สาธารณะชนครั้งแรก อีริคสันได้นำเสนอ cellular IoT software และ IoT Accelerator พร้อมกับการให้บริการโครงข่ายแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT สำหรับโครงข่าย LTE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การให้บริการด้านเทคโนโลยี Cat-M1 (หรือที่เรียกว่า LTE-M) และ Narrow Band IoT (NB-IoT) นั้น จะครอบคลุมไปถึงการออกแบบโครงข่าย IoT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำเอาไปใช้ การปฏิบัติการและการจัดการทั้งหมด รวมทั้งขยายการให้บริการ Support Services ไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและบริการอื่น ๆ อีกด้วย

ปีเตอร์ ลอริน หัวหน้างานฝ่ายบริการและบริหารธุรกิจของอีริคสันกล่าวว่า “เราคาดหวังว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT จะมีจำนวนมากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจะเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีบริมาณมากที่สุดในปี 2561 ตามรายงานอีริคสัน Mobility Report ได้เผยว่าภายในปี 2565 จำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT จะเพิ่มขึ้นถึง 18 ล้าน ด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้ต้องมีการวางแผนโครงข่าย การออกแบบ และการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการใช้โครงข่าย Mobile broadband แบบเดิม” 

นอกจากนี้อีริคสันยังได้นำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับ IoT รูปแบบใหม่ เช่น Voice over LTE (VoLTE) สำหรับ Cat-M1 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT ในการส่งข้อมูลเสียง นับเป็นการเปิดโอกาสในการขยายการให้บริการทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ระบบสัญญาณเตือนความปลอดภัย เครื่องมือปฐมพยาบาลแบบรีโมท อุปกรณ์เชื่อมต่อที่สามารถสวมใส่ได้ กุญแจระบบดิจิทัล และการให้บริการแบบอื่น ๆ อีกมากมายของแอพพลิเคชั่น IoT 

การออกแบบโครงข่ายและการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยโครงข่าย IoT ที่แตกต่าง ความหลากหลายของการใช้งาน ผนวกกับความต้องการที่ต่างกัน ทำให้ต้องมีการวางแผนและออกแบบโครงข่ายที่เหมาะสม เพื่อที่จะตอบโจทย์ทั้งหมดนี้ อีริคสันจึงได้ทำการประเมินสถานการณ์ จำลองโครงข่าย พัฒนาการออกแบบ และประเมินค่าในการพัฒนาสำหรับโครงข่าย Massive IoT

การปฏิบัติการและการจัดการโครงข่าย เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการในการปฏิบัติการและการจัดการโครงข่ายให้แก่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม อีริคสันได้ทำการเปิดตัว Automated Machine Learning ของศูนย์ปฏิบัติการโครงข่ายอีริคสัน (NOCs) เครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการเรื่องต้นทุนค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลองพบว่าเครื่องมือนี้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของมนุษย์และได้ผลถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้พบว่ามีความถูกต้องถึง 77 เปอร์เซ็นต์ 

เจมี่ มอส หัวหน้าทีมผู้ชำนาญการวิเคราะห์เทคโนโลยีและ IoT สำหรับผู้บริโภคกล่าวว่า “ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องการพันธมิตรที่จะสามารถช่วยนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและราบลื่น โดยเฉพาะการใช้งานของ LTE-M และ NB-IoT ซึ่งต้องใช้การปฏิบัติการในรูปแบบใหม่ทั้งหมด การนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ทำให้ต้องมีการจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้น และการบริหารจัดการบริการที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้โครงข่ายที่ครอบคลุมทุกความสามารถ เครื่องมือและปัญญาประดิษฐ์นี้ไม่ใช่เพียงแค่คำพูดลอย ๆ เท่านั้น แต่มันมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเครื่องมือที่น่าตื่นเต้นที่ผลิตขึ้นโดยอีริคสัน สำหรับการใช้งานเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่จัดการกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาอย่างมากมายในอนาคต”   
การให้บริการโครงข่ายและ VoLTE เพื่อซอฟต์แวร์ IoT สำหรับคลื่นวิทยุและโครงข่ายของอีริคสัน พร้อมที่จะให้บริการแล้ววันนี้

อีริคสันเป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและบริการต่าง ๆ ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2419 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญกว่า 111,000 คน ให้บริการลูกค้าใน 180 ประเทศ ด้วยนวัตกรรมโซลูชั่น อีริคสันสร้างอนาคตให้ทุกคน ทุกอุตสาหกรรม สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด ยอดขายสุทธิของอีริคสันในปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่า 222.6 พันล้านโครเนอร์สวีเดนหรือประมาณ 24.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ อีริคสันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในกรุงสต็อกโฮล์ม และใน NASDAQ กรุงนิวยอร์ค ติดตามข้อมูลข่าวสารของอีริคสันได้ที่ www.ericsson.com
« Last Edit: July 18, 2017, 02:44:29 PM by news »

news on July 18, 2017, 02:45:53 PM
Ericsson launches network services for massive IoT

•   Packages broad range of radio network services together to enable operators to smoothly introduce Internet of Things applications on their networks

•   Ericsson also introduces new IoT software features such as Voice over LTE support for Cat-M1, enabling voice services for IoT devices

•   Introduces automated machine learning to Ericsson’s Network Operations Centers, helping manage delivery cost and enabling proactive incident management








As the first commercial Internet of Things (IoT) networks are being introduced, Ericsson (NASDAQ: ERIC) complements its cellular IoT software and IoT Accelerator offerings with a complete set of network services. These services enable service providers to efficiently address the deployment and operation of the massive number of IoT devices being introduced to LTE networks.

Applicable for Cat-M1 (also called LTE-M) and Narrow Band IoT (NB-IoT) technologies, these services include IoT network design and optimization, deployment, operation and management, and are supported by the recently expanded Support Services offering.

Peter Laurin, Head of Business Area Managed Services, Ericsson, says: “We anticipate IoT devices will surpass mobile phones as the largest category of connected devices as early as 2018 and, according to Ericsson’s latest Mobility Report, there will be 18 billion connected IoT devices in 2022. This massive uptake requires a different approach to network planning, design, operations and capabilities than traditional mobile broadband networks.”

Ericsson is also introducing new IoT software features, such as Voice over LTE (VoLTE) support for Cat-M1. This will enable operators to explore new use cases in which it can be advantageous for IoT devices to support voice services, opening up opportunities to expand enterprise services to areas such as security alarm panels, remote first-aid kits, wearables, digital locks, disposable security garments, and other types of IoT-enabled applications and services.

Network design and optimization: Heterogeneous IoT networks and diverse use cases with varying needs will require a different approach to network planning and design. To support this, Ericsson is introducing scenario assessment, network modelling, design development, and developmental appraisal for massive IoT networks.

Operation and management of network: To address the need for an adapted approach to management and operation of operators’ networks, Ericsson is introducing automated machine learning to its Network Operations Centers (NOCs). These tools will help operators to manage delivery cost and take a proactive approach to event and incident management. In a trial, 80% of all incidents were identified by machine learning only with no human intervention – and the root cause was identified correctly in 77% of cases.

Jamie Moss, Principal Analyst, Consumer Technology and IoT at Ovum, says: “Operators need partners that can help them to introduce new technologies smoothly and quickly. This is especially true in the case of LTE-M and NB-IoT. As enhancements to LTE, they appear to represent the operators’ core competency. But LTE-M and NB-IoT will be used, and will be required to perform, in ways that are completely new. Their rollout, the handling of the traffic they generate and the management of the services they exist to enable require network services that offer a comprehensive portfolio of abilities. Machine learning and artificial intelligence are not just buzzwords, but are vital and exciting tools being employed by Ericsson for use within a network to help operators manage the many new devices they will need to serve in the future.”

The Ericsson network services and VoLTE for IoT software support in radio and core networks are commercially available now.

Ericsson is a world leader in communications technology and services with headquarters in Stockholm, Sweden. Our organization consists of more than 111,000 experts who provide customers in 180 countries with innovative solutions and services. Together we are building a more connected future where anyone and any industry is empowered to reach their full potential. Net sales in 2016 were SEK 222.6 billion (USD 24.5 billion). The Ericsson stock is listed on Nasdaq Stockholm and on NASDAQ in New York. Read more on www.ericsson.com.
« Last Edit: July 18, 2017, 02:47:42 PM by news »