เผยผลงานวิจัยของไอเอฟเอส ด้านความแตกต่างทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม
พบอุตสาหกรรมการบินมีความก้าวหน้ามากที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซอยู่อันดับรั้งท้าย
บิ๊ก ดาต้า(ข้อมูลขนาดใหญ่) อีอาร์พี (การวางแผนทรัพยากรองค์กร) และ ไอโอที (อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์)
เป็นส่วนที่มีการลงทุนสูงสุดเมื่อมีการนำแนวทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เข้ามาปรับใช้ แต่มีบริษัทจำนวน 1 ใน 3 ไม่พร้อม เนื่องจากขาดทักษะและความสามารถ
ไอเอฟเอส บริษัทผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจการตัดสินใจจำนวน 750 คนใน 16 ประเทศ เพื่อประเมินความพร้อมด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล) ของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิต น้ำมันและก๊าซ การบิน การก่อสร้างและรับเหมา และการบริการ เต็มใจลงทุนอย่างเต็มที่ บริษัทที่ร่วมทำแบบสำรวจเป็นจำนวนเกือบ 90% ระบุว่ามีเงินทุน ‘เพียงพอ’ หรือ ‘เต็มที่’ สำหรับดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการลงทุนอย่างมากและความต้องการที่จะพัฒนาองค์กรธุรกิจของตนให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อถามว่าการลงทุนในส่วนไหนที่ให้ความสำคัญสูงสุด คำตอบสามอันดับแรกก็คือ ไอโอที อีอาร์พี และข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ “เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีความเข้าใจถึงความเร่งด่วนของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” นายแอนโทนนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส กล่าว และว่า “เทคโนโลยี เช่น ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ การวางแผนทรัพยากรองค์กร และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการแปรรูปองค์กรธุรกิจ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จและได้เปรียบด้านการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรได้” ศรีดาราน อรูมูแกน ด้านนายศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวว่า "ในเวลาที่การแข่งขันระดับโลกรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจการผลิตของประเทศไทยจำเป็นต้องหาหนทางใหม่เพื่อแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก การลงทุนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อาทิ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) จะทำให้เกิดโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคตเพื่อให้แน่ใจว่า บริษัท ต่างๆจะสามารถแข่งขันได้" ขาดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถ เป็นที่น่าตกใจที่องค์กรจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 หรือ 34% รู้สึกว่ายังไม่มีความพร้อมใดๆ เลยหรือมีความพร้อมน้อยมากในการรับมือกับดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น สาเหตุหลักมาจากการขาดบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถในการดำเนินการ เมื่อถามถึงส่วนที่ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 40% ระบุว่าขาดแคลนในด้าน “บิซิเนส อินเทลลิเจ้นซ์” หรือ ระบบอัจฉริยะด้านธุรกิจ และ 39% ระบุว่าในด้าน “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับส่วนอื่นๆ ที่มีความกังวล ได้แก่ “เอไอ และโรบอติกส์” หรือ ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์จำนวน 30% “ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์” จำนวน 24% และ “ระบบคลาวด์” จำนวน 21% นายแอนโทนี บอร์น กล่าวเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่จะเป็นกุญแจสำคัญ ของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนไปและการเข้าถึงบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถที่เหมาะสมเป็นตัวกระตุ้นที่ช่วยผลักดันให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น น่าแปลกใจที่การสำรวจพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจไม่มีพนักงานที่สามารถบริหารจัดการด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอยู่เลย องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับแผนการลงทุนด้านบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะสามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอุตสาหกรรมของตนได้อย่างเห็นผล หลังจากนั้นจะต้องเดินหน้าต่อด้วยการค้นหาและดึงดูดผู้ที่มีทักษะและความสามารถใหม่ๆ เข้ามาในองค์กร รวมทั้งจัดการฝึกอบรมและเสริมสร้างทักษะให้กับพนักงานที่มีอยู่ด้วย” “การลงทุนด้านไอโอที ในเชิงอุตสาหกรรมให้ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่ดีเยี่ยม จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการนำแนวทางนี้เข้ามาปรับใช้ในองค์กร” นายราล์ฟ ริโอ รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์องค์กร บริษัท เออาร์ซี แอดไวเซอรี กรุ๊ป กล่าว และว่า “แต่ทักษะและความสามารถก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจของไอเอฟเอส ดังนั้น ผู้ใช้ไอเอฟเอส จะต้องร่วมมือกับบริษัทต่างๆ อย่างเช่น ไอเอฟเอส ที่พร้อมนำเสนอโซลูชั่นไอโอทีชั้นนำได้อย่างสมบูรณ์”ความแตกต่างที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ เมื่อถามถึงระดับความพร้อมในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น กล่าวคือมีความคืบหน้าไปแล้วมากน้อยเพียงใด พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจให้คะแนนองค์กรของตนที่ระดับ 2 จากระดับ 5 โดยมีอุตสาหกรรมการบินที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดด้วยจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 44% ที่มองว่าองค์กรของตนมีความสามารถในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นอย่างมาก ตามมาด้วยอุตสาหกรรมก่อสร้างและรับเหมาที่ 39% ระบุว่าพวกเขามีความพร้อมในการแปรรูป สำหรับอุตสาหกรรมรั้งท้าย ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีเพียง 19% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่มองว่าองค์กรสามารถได้รับประโยชน์จากดิจิทัล ทรานส์ฟอเรชั่น “ระดับความพร้อมที่แตกต่างกันในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ของอุตสาหกรรมต่างๆ มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงในตลาด มีความพร้อมอย่างมากในการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาปรับใช้ในองค์กรอย่างรวดเร็ว เช่น การซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์และการสั่งพิมพ์แบบ 3ดี สำหรับการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยผลักดันให้การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลประสบความสำเร็จ” นายแอนโทนี บอร์น กล่าวแรงผลักดันและการโฟกัสด้านการลงทุน จากการสำรวจพบว่า 43% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า “ความมีประสิทธิภาพของกระบวนการภายใน” เป็นแรงผลักดันสำคัญอันดับหนึ่งในด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น 29% ตอบว่า “การกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เร็วขึ้น” และ 28% ตอบว่า “โอกาสเติบโตในตลาดใหม่” เป็นแรงผลักดันที่มีความสำคัญอันดับที่สองและสามตามลำดับอุปสรรคของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แม้ว่าจะมีความซับซ้อนทั้งในทางเทคนิคและทางปฏิบัติของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่อุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอันดับหนึ่งเกิดจากมนุษย์ นั่นคือ: “ความไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง” (42%) ขณะที่อุปสรรคสำคัญอันดับที่สองและสามคือ “ความกังวล/ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย” (39%) และ “การไม่มีโมเดลกำกับดูแลและโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม” (38%)เทคโนโลยีใดที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด เมื่อถามว่าเทคโนโลยีใดที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด บิ๊ก ดาต้า (ข้อมูลขนาดใหญ่) ครองอับดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 7.2 จากคะแนนเต็ม 10 อันดับสองคือ ออโต้เมชั่น(ระบบอัตโนมัติ) ด้วยคะแนน 7.0 ตามด้วย ไอโอที คะแนน 6.6 เป็นอันดับสาม แม้ว่าข้อมูลขนาดใหญ่จะครองอันดับสูงสุด แต่ก็ยังมีคนส่วนน้อย (ซึ่งมีนัยสำคัญ) รู้สึกว่าระบบอัตโนมัติสามารถสร้างผลกระทบได้มากที่สุด โดยมากกว่า 40% ให้คะแนนระดับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระบบอัตโนมัติ 8 คะแนนหรือมากกว่าจากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่ 32% ให้คะแนนข้อมูลขนาดใหญ่ในระดับที่สูงเทียบกัน ส่วนอุตสาหกรรมการก่อสร้าง (48%), การบิน (48%) และการผลิต (50%) ให้คะแนนการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากของระบบอัตโนมัติมากกว่า 8 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งทำให้ระบบอัตโนมัติกลายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับคะแนนสูงสุดในอุตสาหกรรมเหล่านี้เกี่ยวกับการสำรวจ การสำรวจในครั้งนี้จัดทำโดยบริษัท ไอเอฟเอส เพื่อประเมินความพร้อมด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก โดยมีบริษัทด้านการวิจัยและเนื้อหาที่ชื่อว่า ราคอนเตอร์ คัสตอม พับลิชชิ่ง (Raconteur Custom Publishing) ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก และได้รวบรวมมุมมองของผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวน 750 คน จาก 16 ประเทศในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ การบิน การก่อสร้างและรับเหมา การผลิต และการบริการ สำหรับประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สวีเดน เยอรมนี ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน โปแลนด์ ตะวันออกลาง และอินเดีย เกี่ยวกับไอเอฟเอส ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้พัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรเพื่อลูกค้าทั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านการดูแลสินทรัพย์ รวมถึงการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการบริการเป็นหลัก ด้วยโซลูชั่นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในอุตสาหกรรม ประกอบกับความมุ่งมั่นในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ไอเอฟเอสกลายเป็นผู้นำตลาดและซัพพลายเออร์ที่ได้รับการแนะนำบอกต่อมากที่สุดในภาคส่วนอุตสาหกรรมที่เรากำลังทำตลาดอยู่ ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงาน 3,300 คนที่พร้อมให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านรายผ่านเครือข่ายสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านระบบเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld
เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/