MSN on May 29, 2017, 02:39:43 PM
จับพิรุธ ทีโออาร์สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ตรวจรับรถยนต์โดยสารเอ็นจีวีจำนวน 390 คัน ที่ บริษัท ซุปเปอร์ซาร่า จำกัด ผู้นำเข้าวางประกันภาษีอัตราสูงสุด 40 เปอร์เซนต์ เพื่อให้ บริษัท เบสทริน กรุ๊ป จำกัด ส่งมอบให้ ขสมก.ปฏิบัติตามสัญญาไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ส่วนกรณีเรื่องถิ่นกำเนิดจะเป็นจีนหรือมาเลเซีย ในคำสั่งศาลปกครองกลางยังระบุว่าไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมีการกำหนดขึ้นภายหลังในสัญญา ไม่ได้กำหนดในทีโออาร์ตั้งแต่ต้น
แต่ปรากฏหว่านายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะรักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.อ้างว่าทำทุกอย่างตามคำสั่งศาลแล้วแต่ไม่สามารถรับรถได้เนื่องจากผู้ชนะการประมูลส่งมอบไม่ตรงตามกำหนดเวลาและกรมศุลการกรยืนยันว่ารถมาจากจีนทั้งคันไม่ใช่ประกอบที่มาเลเซีย จึงต้องยกเลิกสัญญาจัดซื้อจัดจ้างและต้องประกาศให้บริษัทเบสทรินเป็นผู้ทิ้งงานหรือขึ้นแบล็คลิสไม่สามารถร่วมประมูลงานกับราชการได้อีก
นายสันติ ปิยะทัต ทนายความผู้รับมอบอำนาจบริษัทเบสทริน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมีข้อสังเกตอยู่หลายประเด็นคือ
1.สัญญาระหว่างขสมก.กับบริษัทเบสทรินขณะนี้ยังไม่ถือว่ายกเลิกหรืออาจยกเลิกโดยมิชอบเนื่องจาก ขสมก.ทำผิดขั้นตอนทางกฎหมายคือ ขสมก.ได้บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12เมษายน ว่าเบสทรินทำผิดสัญญาพร้อมประกาศออกสื่อมวลชนต่างๆ ว่าได้ขึ้นบัญชีให้เบสทรินเป็นผู้ทิ้งงานแล้วและมีหนังสือแจ้งไปที่ธนาคารที่ค้ำประกันเพื่อขอริบหลักประกัน300 กว่าล้านบาท แต่ปรากฏว่า ขสมก.อาจสับสน ในวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขสมก.มีหนังสือมาถึงบริษัทเบสทรินให้ช่วยชี้แจงด้วยว่า เป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่? ซึ่งเรากำลังทำหนังสือชี้แจงอยู่ ซึ่งไม่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ นั่นย่อมแสดงว่า ขสมก.บอกเลิกสัญญาโดยผิดขั้นตอน
หากเบสทรินชี้แจงได้ว่าเขาไม่ได้ทิ้งงาน ก็ย่อมไม่ได้ทำผิดสัญญา ดังนั้นการบอกเลิกสัญญาไปก่อนหน้านี้ของขสมก.และการแจ้งให้เบสทรินเป็นผู้ทิ้งงานที่ประกาศไปแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเกิดผลกระทบต่อบริษัทฯอย่างมหาศาลไปแล้ว
2.คำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้ ขสมก.ตรวจรับรถและปฏิบัติตามสัญญาต่อไปนั้นทุกวันนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่
3.รักษาการ ขสมก.ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทางเบสทรินร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไปทางรัฐบาลใช้อำนาจทางการปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามคำสั่งศาลเพื่อคงไว้ซึ่งความเคารพและความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจศาล ซึ่งเมื่อมีคำสั่งแล้วทุกคนต้องยอมรับ
4.การแจ้งหนังสือริบหลักประกันผิดขั้นตอนเพราะยังรอผลการชี้แจงว่าทิ้งงานหรือไม่และผิดสัญญาหรือไม่อย่างไร?
5.การประกาศขึ้นแบล็คลิสก็ผิดขั้นตอนไม่ชอบ
6.การเดินหน้าร่างทีโออาร์ จัดให้มีการประกวดราคาอาจไม่ชอบธรรมเสี่ยงต่อหลักเกณฑ์ของ ปปช. เราคงต้องร้องขอความเป็นธรรมจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุกจริตแห่งชาติ (ปปช.) ต่อไป
ส่วนทีโออาร์ที่ ขสมก.เปิดโอกาสรับฟังข้อเสนอแนะและวิจารณ์ของสาธารณะชนระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีสาธารณะชนเสนอแนะและวิจารณ์จำนวน 4 ราย แต่ที่น่าสนใจคือข้อเสนอแนะของบริษัท ช.ทวี จำกัด(มหาชน) เสนอให้ ขสมก.ใช้ราคาที่ตนเองเคยเป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อปี 2558 คือราคา1,784,850,000 บาทรวม 489 คันหรือราคาคันละ 3,650,000 บาท
ส่วน ขสมก.ได้ชี้แจงว่าราคากลางต้องยึดหลักเกณฑ์ของปปช.โดยจะต้องใช้ราคาที่เคยลงนามสัญญาจัดซื้อไว้กับบริษัทเบสทริน เมื่อปี 2559 เป็นราคากลางคือ 1,735,550,000 บาท หรือราคาคันละ 3,549,182 บาท ซึ่งจะถูกว่าคันละ 100,818 บาท เมื่อรวมจำนวนรถ 489 คันราคาจะถูกกว่า 49,300,002 บาท
ซึ่งดูเหมือนว่า ขสมก.จะรักษากรอบกติกาของปปช.แต่ก็ต้องมาสะดุดตรงที่การกำหนดราคากลางค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา 10 ปีซึ่งผู้ประมูลจะต้องเคาะราคารวมกันทั้งก้อน ไม่แยกค่ารถค่าซ่อมบำรุง แต่เมื่อพบทีโออาร์.ฉบับล่าสุดเลขที่09/2560ที่เพิ่งออกมาสดๆ ร้อนๆ และเปิดจำหน่ายซองไปแล้วนั้น หน้า42 ในตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลาง (ราคาอ้างอิง) การจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสาร จำนวน 489 คัน ปรากฏว่าที่ข้อ 3.1 ราคากลางซื้อรถ 489 คัน 1,735,550,000 บาท ซึ่งแน่นอนเป็นราคาที่จัดซื้อจากเบสทรินครั้งหลังสุดตามระเบียบ ปปช.แต่พอมาถึงข้อ 3.2 ราคากลางจ้างซ่อมบำรุงรถ 489 คันระยะเวลา10 ปีเป็นเงินประมาณ 2,286,160,819.50 บาท น่าสงสัยว่าเหตุใดค่าซ่อมบำรุงราคาจึงได้ห่างกับที่เคยทำสัญญาไว้กับบริษัทเบสทรินเป็นจำนวนเงินถึง 631,999,998.5 บาท แล้วจึงได้เข้าใจเมื่อได้อ่าน 2 บรรทัดถัดมา ในทีโออาร์กำหนดให้ค่าซ่อมบำรุงปีที่ 1ถึงปีที่ 5 อัตราเฉลี่ยไม่เกิน 925.91 บาทต่อคันต่อวันเป็นเงิน 826,305,231.75 บาท ตรงกันกับราคาที่บริษัท ช.ทวี และ บริษัท เบสทริน เคยประมูลไว้ตรงนี้ก็ยังถือว่าปกติดี
แต่พอมาถึงค่าซ่อมบำรุงปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 อัตราเฉลี่ยไม่เกิน 1,635.83 บาทต่อคันต่อวันเป็นเงิน1,459,855,587.75 บาท กลับไม่ตรงกับที่บริษัทเบสทรินทำสัญญาจัดซื้อกับ ขสมก.ครั้งหลังสุดที่ทำไว้ 927.65 บาทต่อคันต่อวัน เป็นเงิน 827,855,589.75 บาทเท่านั้น นั่นคือเงินจำนวน 631,999,998บาทที่หมกเม็ดซุกซ่อนหลบอยูในทีโออาร์ตรงค่าซ่อมบำรุงปีที่ 6 ถึงปีที่ 10
« Last Edit: May 30, 2017, 01:42:26 PM by MSN »
Logged