happy on April 03, 2017, 06:43:33 PM
ผลสำรวจจากแมนูไลฟ์เผย นักลงทุนชาวไทยเผชิญค่าใช้จ่าย
หลังเกษียณที่สูง แม้จะมีการวางแผนการเงินที่ดี
· ราวครึ่งหนึ่ง (51%) ของนักลงทุนเชื่อว่าพวกเขาออมเงินได้ตามเป้าหรือเกินเป้าที่ตั้งไว้
· นักลงทุนส่วนใหญ่ (79%) เชื่อว่า เมื่อเกษียณแล้วพวกเขาจะสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนปัจจุบันหรือดีกว่าเดิม
· แต่ทว่า นักลงทุนเกือบครึ่ง (49%) คาดการณ์ว่าหลังพวกเขาเกษียณ ค่ารักษาพยาบาลจะสูงขึ้นจนไม่สามารถจ่ายได้จากซ้ายไปขวา
· คุณชัยเกษม วัฒนศิริพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานบริหารช่องทางจัดจำหน่าย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
· คุณไมเคิล พาร์คเกอร์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
· นายกีรติ โกสีย์เจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการหัวหน้ากลุ่มงานบริการลูกค้าและช่องทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
· คุณไมเคิล รีด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัดผลสำรวจจากแมนูไลฟ์เผยว่า นักลงทุนชาวไทยให้ความสำคัญอย่างมากกับการวางแผนการเงินสำหรับการเกษียณ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความกลัวว่าเงินออมจะไม่เพียงพอเนื่องจากค่าใช้จ่ายในอนาคตที่สูงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ประจำภูมิภาคเอเชีย หรือ MISI* ได้ทำการสำรวจกลุ่มนักลงทุนในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา และพบว่า แม้นักลงทุนส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญวางแผนเงินออมอย่างจริงจัง แต่พวกเขาก็ยังกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งด้านครอบครัวและสุขภาพ
เกือบ 1 ใน 5 ของนักลงทุน (18%) จัดอันดับให้การออมเงินเพื่อการเกษียณอายุมีความสำคัญเป็นอันดับต้น และเกือบ 1 ใน 3 ของนักลงทุน (30%) ระบุว่า หากพวกเขาได้รับเงินก้อนเทียบเท่ากับเงินเดือนรวม 3 ปี พวกเขาจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณอายุเป็นอันดับแรก ในขณะที่นักลงทุนราวครึ่งหนึ่ง (51%) เชื่อว่าพวกเขาจะสามารถออมเงินได้ตามเป้าหรือเกินเป้าที่ตั้งไว้สำหรับการเกษียณอายุ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ (79%) ยังแนวคิดมองโลกในแง่บวกว่า ในวัยเกษียณพวกเขาน่าจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือดีขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังมีความกังวลว่าทรัพย์สินที่เก็บสะสมไว้ยามเกษียณจะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเกือบครึ่ง (49%) ของนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว รู้สึกว่าพวกเขายังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายทางการเงินของตนเอง และ 12% จากกลุ่มนี้เชื่อว่าหากเกิดความขาดแคลนในช่วงบั้นปลายพวกเขาไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ พวกเขาจะไม่สามารถรับมือได้ สิ่งที่น่าตกใจคือ ผลสำรวจเผยว่า 2 ใน 5 ของนักลงทุนทั้งหมด (40%) คิดว่าเงินออมทั้งหมดที่สะสมมาจะหมดไปในช่วงเกษียณ และนักลงทุนเกินครึ่ง (52%) ระบุว่า พวกเขายังคงมีภาระหนี้สินหรือค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ที่จะต้องจ่ายในช่วงบั้นปลายอีกหลังจากที่ตนเองเกษียณแล้ว ซึ่งตัวเลขจำนวนนี้ของประเทศไทยนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพและครอบครัวในอนาคต ถูกคาดการณ์ว่าจะสูงเกินกว่าเงินออมยามเกษียณสำหรับหลายคนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพและครอบครัวเป็นตัวสะท้อนภาระบางอย่างทางสังคม นักลงทุนส่วนใหญ่ (69%) เชื่อว่าสุขภาพของตนเองจะแย่ลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และเกือบครึ่งของนักลงทุน (46%) เชื่อว่าสุขภาพจะแย่ลงเรื่อยๆ จนถึงจุดที่พวกเขาไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป นี่คือประเด็นสำคัญเพราะเกือบครึ่ง (46%) ของนักลงทุนที่มีงานประจำ ต่างมีรายได้ทางอื่นจากธุรกิจส่วนตัว ซึ่งอาจเป็นรายได้ที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาได้ในยามเกษียณ นักลงทุนส่วนใหญ่ (63%) คาดว่าในช่วงเกษียณอายุพวกเขายังคงต้องให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่พ่อแม่ ในขณะที่อีก 27% ก็คาดว่าพวกเขาจำเป็นต้องสนับสนุนด้านการเงินแก่รุ่นลูกต่อไปโดยไม่มีผลตอบแทน
ไมเคิล พาร์คเกอร์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นักลงทุนชาวไทยมีมุมมองและมีการวางแผนสำหรับการเกษียณอายุแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งทำสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือทำงานพาร์ทไทม์ หรือช่วยธุรกิจของครอบครัว อย่างไรก็ตาม พวกเขายอมรับว่าแผนสำหรับวัยเกษียณดังกล่าวนี้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพในอนาคต และด้วยแนวโน้มด้านการพัฒนาทางการแพทย์และระบบการดูแลสุขภาพ ทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นด้วย ทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการมีชีวิตวัยเกษียณที่สะดวกสบายนั้น มีอัตราเติบโตเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้การปรับเปลี่ยนการวางแผนทางการเงินเพื่อรองรับวัยเกษียณ จึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อความมั่นคงของชีวิตในอนาคต”คุณไมเคิล รีด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณไมเคิล พาร์คเกอร์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณชัยเกษม วัฒนศิริพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานบริหารช่องทางจัดจำหน่าย การศึกษาด้านการเงิน เป็นกุญแจสำคัญสู่การเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุนผลสำรวจเปิดเผยว่า นักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มขีดจำกัดของกองทุนสำหรับการเกษียณ เมื่อถามถึงการจัดการปัญหาขาดแคลนทางการเงินเมื่อถึงวัยเกษียณ กลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่ (64%) ซึ่งคาดว่าจะใช้ชีวิตอย่างประหยัดในบั้นปลายระบุว่า พวกเขาจะเพิ่มการออมให้มากขึ้น ในขณะที่ส่วนน้อย (24%) ระบุว่าจะเลือกลงทุนมากขึ้นในหุ้นและพันธบัตรซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า ยิ่งไปกว่านั้น 13% ของนักลงทุนเหล่านี้ระบุว่า พวกเขาไม่รู้เลยว่าควรทำอย่างไร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการรับรู้เกี่ยวกับทางเลือกของการลงทุนแบบต่างๆ
เหล่านักลงทุนอาจจะได้รับประโยชน์จากการวางแผนที่มีประสิทธิภาพเพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยในกลุ่มผู้ที่มีการออมเงิน เกือบ 1 ใน 3 (32%) ของเงินออม จะอยู่ในรูปแบบเงินฝากที่ไม่ได้วางแผน หรือนำไปลงทุนโดยไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งถ้าหากมีการวางโครงสร้างและตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น พวกเขาน่าจะมีโอกาสที่ดีขึ้นที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินระยะยาว
สุดท้าย ความระมัดระวังของนักลงทุนด้านความเสี่ยงก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคตของพวกเขา ส่วนมาก (60%) ต้องการลงทุนในระดับความเสี่ยงต่ำ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนักลงทุนอายุน้อย ซึ่งมีเวลารับมือกับความผันผวนของตลาด ซึ่งจากการสำรวจโดยเฉลี่ยแล้ว 35% ของสินทรัพย์ของนักลงทุนมักจะอยู่ในรูปแบบของเงินสดหรือเงินฝาก แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ (63%) ยังคงเชื่อว่าวิธีนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่ดีที่สุดแล้ว
ไมเคิล รีด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในภาวะดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบัน การพึ่งพาระบบเงินฝากอาจจะไม่สามารถให้ผลตอบแทนนักลงทุนได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ทุกคนควรจะสร้างพอร์ตการลงทุนที่สะท้อนความสามารถในการรับความเสี่ยง รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดหุ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่แน่ใจว่าควรจะลงทุนอย่างไร ผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุนสามารถเป็นผู้ช่วยที่ดี เพราะการวางแผนสำหรับการเกษียณเปรียบได้กับการเดินทาง ไม่ใช่การแข่งขัน และไม่มีใครควรจะรู้สึกว่าพวกเขาต้องทำด้วยตัวเองเพียงคนเดียว”###
*เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ประจำภูมิภาคเอเชียดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย เป็นการสำรวจประจำปี เพื่อประมวลความคิดเห็นนักลงทุนในตลาดหลักของภูมิภาคเอเชียทั้ง 8 ตลาด โดยถามเกี่ยวกับมุมมองการลงทุนในสินทรัพย์หลักประเภทต่างๆ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดัชนีนี้คำนวณโดยใช้คะแนนสุทธิเป็นร้อยละ (% ของเวลาที่ดีที่สุด และเวลาที่ดี หักออกด้วย % ของเวลาที่ไม่ดี และเวลาที่ไม่ดีที่สุด) สำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท ดัชนีโดยรวมจะคำนวณโดยค่าเฉลี่ยของตัวเลขดัชนีของสินทรัพย์ ตัวเลขที่เป็นบวก หมายถึงความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นที่เป็นบวก ศูนย์ หมายถึงความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นที่เป็นกลาง และตัวเลขติดลบ หมายถึงความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นที่เป็นลบ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ออนไลน์จากนักลงทุนจำนวน 500 คนในแต่ละตลาด คือ ฮ่องกง จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนใน อินโดนีเซียนั้น ใช้การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวจากนักลงทุนจำนวน 500 คน ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นนักลงทุนระดับคนชั้นกลางถึงนักลงทุนที่มีฐานะดี ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปเป็นผู้ตัดสินใจการลงทุนของครอบครัว และมีการลงทุนอยู่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ เป็นรูปแบบงานวิจัยจากอเมริกาเหนือที่ได้มีการจัดทำขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน โดยได้มีการวัดค่าความรู้สึกและความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศแคนาดามากว่า 18 ปี โดยมีการขยายการดำเนินงานไปยังส่วนงาน จอห์น แฮนคอกในสหรัฐฯ เมื่อปี 2554 และในภูมิภาคเอเซียเมื่อปี 2556 สินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่ ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ประจำภูมิภาคเอเซีย นำมาคำนวณคือ ตราสารหุ้น/ ตราสารทุน อสังหาริมทรัพย์ (บ้านที่พักอาศัยหลัก และอสังหาฯ เพื่อการลงทุนอื่นๆ) หน่วยลงทุนในกองทุนรวม ตราสารหนี้/ตราสารทางการเงิน และเงินสด
การสำรวจครั้งล่าสุดจัดทำขึ้นระหว่างเดือนกันยายน และตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยบริษัท TNS บริษัทผู้ให้บริการด้านการวิจัยชั้นนำระดับโลก
รายงานฉบับนี้ ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้แก่ผู้รับเท่านั้นภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของเขตอำนาจศาลที่เกี่ยวข้อง และจัดทำโดยความต้องการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ จำกัด ตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2560 และอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับตลาดและเงื่อไขอื่นๆ ข้อมูล และ/หรือ การวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ถูกนำมารวบรวมหรือมาจากแหล่งข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์และน่าเชื่อถือ แต่ไม่ได้เป็นแสดงความถูกต้อง แม่นยำ เป็นประโยชน์หรือสมบูรณ์จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ จำกัด และจะไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญเสียใดๆหากมีการนำข้อมูลหรือการวิเคราะห์ดังกล่าวมาใช้ ข้อมูลในเอกสารในเอกสารฉบับนี้รวมถึงคำแถลงการณ์เกี่ยวกับเทรนด์ตลาดการเงินนั้นอ้างอิงกับสภาวะตลาดในปัจจุบัน ซึ่งอาจประสบภาวะผันผวน และอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ของตลาด หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนุไลฟ์ จำกัด จะไม่รับผิดชอบต่อการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าว บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ จำกัด หรือ บริษัทในเครือ หรือกรรมการพนักงาน หรือลูกจ้างใด ๆ ของ บริษัท ต้องรับผิดหรือความรับผิดชอบใด ๆ ต่อความสูญเสียหรือความเสียหายโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือผลกระทบอื่นใดของบุคคลใด ๆ ที่ทำหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติตามข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารนี้ ภาพรวมและความเห็นทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นความเห็นลักษณะทั่วไป และเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามความเห็นเหล่านี้ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับคำแนะนำด้านภาษี การลงทุน หรือกฎหมาย ได้ ลูกค้าควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Manulife Financial หรือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ จำกัด หรือ บริษัท ในเครือ หรือ ตัวแทนของ บริษัท ไม่สามารถให้คำแนะนำด้านภาษีการลงทุนหรือคำปรึกษาด้านกฎหมาย ผลงานที่ผ่านมาไม่สามารถรับประกันผลงานในอนาคต เนื้อหานี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการเสนอหรือคำเชิญในนามของ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ จำกัด ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ และไม่มีการแสดงเจตนาในการลงทุนในกองทุนหรือบัญชีใด ๆ ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ ไม่มีกลยุทธ์การลงทุนหรือเทคนิคการบริหารความเสี่ยงสามารถรับประกันผลตอบแทนหรือลดความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมทางการตลาดใด ๆ ข้อมูลทั้งหมดมาจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ จำกัด เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับแมนูไลฟ์ ประเทศไทยแมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 (โดยเป็นที่รู้จักจากชื่อเดิม บริษัทอินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอก ประกันชีวิต จำกัด) ผู้ให้บริการในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการคุ้มครองและเก็บออมสำหรับลูกค้าของแมนูไลฟ์ในประเทศไทยทุกคน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครฯ และให้บริการแก่ลูกค้าในประเทศไทยผ่านทางเครือข่ายสาขาทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศเกี่ยวกับแมนูไลฟ์แมนูไลฟ์ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น เป็นกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำจากประเทศแคนาดาที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้ผู้คนสามารถบรรลุตามความฝันและความปรารถนา โดยการยึดเอาความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อมอบคำแนะนำและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้กับพวกเขา เราดำเนินงานในนาม จอห์น แฮนคอก ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในนามแมนูไลฟ์ในประเทศอื่นๆ เราให้บริการคำแนะนำในการวางแผนทางการเงิน การประกันชีวิต รวมทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับการบริหารความมั่งคั่ง รวมถึงกองทุนรวม ให้กับทั้งลูกค้ารายย่อย รายกลุ่ม รวมถึงลูกค้าแบบสถาบัน ณ สิ้นปี 2559 เรามีพนักงานถึงกว่า 35,000 คน ตัวแทนกว่า 70,000 คน และพันธมิตรทางธุรกิจนับพันราย ที่พร้อมให้บริการลูกค้าของเรากว่า 22 ล้านคนทั่วโลก ในสิ้นเดือนธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา เรามีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมสูงถึง 977,000 ล้านเหรียญดอลลาร์แคนาดา หรือกว่า 728,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และใน 12 เดือนที่ผ่านมา เรามีการจ่ายผลประโยชน์ ดอกเบี้ย และอื่นๆ ให้กับลูกค้าของเราถึงกว่า 26,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ แมนูไลฟ์ดำเนินธุรกิจให้บริการลูกค้ามากว่า 100 ปี โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา เราซื้อขายในนาม ‘MFC’ ในตลาดหลักทรัพย์โทรอนโต นิวยอร์ก ฟิลิปปินส์ และในรหัสหลักทรัพย์ ‘945’ ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
« Last Edit: April 03, 2017, 06:50:23 PM by happy »
Logged