news on March 23, 2017, 07:51:14 AM
ก.วิทย์ฯ-สวทช. จับมือพันธมิตร ติดปีกผู้ประกอบการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี IOT ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0



ภาพบรรยากาศแถลงข่าว ความร่วมมือและเปิดตัวโครงการ Smart Thailand


ดร.ณัฐกา สิงหวิลัย ผู้อำนวนการโปรแกรม ITAP สวทช.


ตัวอย่างแผงวงจรของบริษัท ที่ใช้ระบบ IoT


ตัวอย่างโรงเพาะเห็ดอัจฉริยะ


ผลผลิตพริก จากแปลงที่ใช้ระบบ IoT ของ GEN Farm เพื่อควบคุมการปลูกพริก ใช้ระบบบาร์โค้ดที่ตรวจสอบต้านทางการผลิตได้



ระบบ IoT ของ GEN Farm เพื่อควบคุมการปลูกพริกในแปลง



(23 มีนาคม 2560) ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ กลุ่ม Thailand IOT Consortium, สมาคม RFID แห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงานสัมมนาเรื่อง “IOT : ชี้ช่องรวย” เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของเทคโนโลยีให้ทราบถึงแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

ดร.ณัฐกา สิงหวิลัย ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลกมากขึ้น จึงทำให้เกิดธุรกิจและบริการที่หลากหลายนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันตรงกับความต้องการของตนเองมากขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในขณะนี้คือ Internet of Things (IOT) การที่   สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำให้ชีวิตของทุกท่านมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบกล้องวงจรปิด เครื่องจักรและเครื่องมือที่ทันสมัย หรือแม้แต่ระบบการจับจ่ายที่ง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะทำให้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความฉัจฉริยะ ปัจจุบันมีหลายองค์กรหรือหน่วยธุรกิจได้เริ่มลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีด้านนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย

ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ให้ความสำคัญในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดให้สามารถนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง
    
“โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP สวทช. เห็นถึงความสำคัญและโอกาสในด้านการพัฒนาธุรกิจและระบบอุตสาหกรรมที่สามารถตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 นโยบายการพัฒนาประเทศ รวมถึงต้องการผลักดันอุตสาหกรรมด้านนี้ให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อีกทั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม รวมทั้งการสร้างธุรกิจใหม่ที่สามารถส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป” ผู้อำนวยการโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าว

สำหรับภายในงานสัมมนาครั้งนี้ ยังได้มีแถลงข่าวการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความร่วมมือและเปิดตัวโครงการ Smart Thailand ระหว่างหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ  ได้แก่  สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สมาคม RFID แห่งประเทศไทย, เครือข่าย IOT แห่งประเทศไทย (กลุ่ม Thailand IOT Consortium), บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT), บริษัท กสท. โทรคมนาคม (CAT Telecom), สมาคมพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชน อื่นๆ ที่ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ITAP เปิดและยินดีให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ให้เกิด Smart Thailand
« Last Edit: March 24, 2017, 08:20:54 AM by news »