MSN on March 20, 2017, 03:57:08 PM
โครงการเส้นทางสายผ้าทอ : From Weaving Streets to Today Life’s Crafts ภูมิปัญญาผ้าพื้นถิ่น .. สู่ .. หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน



ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดงานFrom Weaving Streets to Today Life’s Crafts“ภูมิปัญญาผ้าพื้นถิ่น .. สู่ .. หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน”ด้วยการต่อยอดคุณค่าและทักษะเชิงช่างจาก 2 ครูช่างและ 3 ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมผสมผสานความคิดของนักออกแบบรุ่นใหม่เพื่อส่งต่อสู่หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบันพบกับ ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ The winner of Innovative Craft Award 2016 ผู้ออกแบบคอลเลคชั่นเสื้อภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเพื่อความยั่งยืนปี 2560(Sustainable Crafts 2017) กับการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ “From Weaving Streets to Today Life’s Crafts” โดยคุณศรีริต้าเจนเซ่นเดินแบบในชุดฟินาเล่

“From Weaving Streets to Today Life’s Crafts” จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 15:00 น. ชั้น 2 บริเวณโถงหน้า Grand Hall 201-202 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา



โครงการเส้นทางสายผ้าทอ : From Weaving Streets to Today Life’s Crafts ภูมิปัญญาผ้าพื้นถิ่น .. สู่ .. หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน

ตามที่รัฐบาลมีเจตนารมย์ในการสร้างความอยู่ดี กินดี อย่างยั่งยืนแก่ประชาชนโดยมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากฐานราก (Local Economy) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการเร่งรัดและกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและนำไปสู่ความยั่งยืนภายใต้โครงการประชารัฐที่เปิดโอกาสให้ภาครัฐ เอกชน และชุมชนได้ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้าง “ฐานรากทางเศรษฐกิจ” ในระดับประชาชนและชุมชนให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จึงได้วางแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยการส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ ผ่านกิจกรรม “เส้นทางสายผ้าทอ : Weaving Streets” ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้โครงการประชารัฐ โดย ศ.ศ.ป. และชุมชนร่วมกันนำเสนอคุณค่าแห่งภูมิปัญญาความวิจิตรงดงามแห่งผ้าทอที่เป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบสานผ่านผืนผ้าซึ่งถูกสร้างสรรค์จาก “มือ .. สองมือ” และส่งผ่าน “มือ” จากรุ่น.. สู่.. รุ่น” (Hand to Hand) นำไปสู่การต่อยอดภูมิปัญญาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการต่อยอดนั้น เกิดจากการส่งต่อ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนทักษะ ประสบการณ์ และความรู้เชิงช่างศิลป์ สู่แรงบันดาลใจ จากประสบการณ์ สู่อนาคต จากภูมิปัญญา สู่ชีวิตประจำวัน (Today Life’s Craft)

ทั้งนี้ ในปี 2560 ศ.ศ.ป. มุ่งขยายผลและผลักดันให้เกิดการต่อยอดกิจกรรมเส้นทางสายผ้าทอ : Weaving Streets โดยเชื่อมโยงการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Crafts) ซึ่งมีแนวคิดที่จะมุ่งเน้นหัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบันในกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น เนื่องจากเสื้อผ้าแฟชั่นเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันและสะท้อนถึงความเป็นตัวตน เสื้อผ้าแฟชั่นถูกเข้าใจและเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายจากการสัมผัสการใช้งาน การชื่นชมและความภูมิใจที่ได้สวมใส่ ดังนั้น เสื้อผ้าแฟชั่นจึงเป็นสะพานเชื่อมงานหัตถศิลป์ มรดกภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่นซึ่งคนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าใช้งานยากและล้าสมัย เมื่อผ่านการออกแบบและการนำเสนอที่ดีงานหัตถศิลป์จะเข้าสู่การใช้งานที่เหมาะสำหรับชีวิตปัจจุบัน

หัตถศิลป์ มรดกภูมิปัญญา + การออกแบบ เสื้อผ้าแฟชั่น   +   ส่งเสริมการบริโภคหัตถศิลป์ในชีวิตปัจจุบัน
(ครูช่าง/ทายาท)         (นักออกแบบชนะเลิศ ICA)          (การนำเสนอแบบมืออาชีพ)

นักออกแบบ ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ The winner of Innovative Craft Award 2016 ผู้ออกแบบคอลเลคชั่นเสื้อภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเพื่อความยั่งยืนปี 2560(Sustainable Crafts 2017)

ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ของ ศ.ศ.ป.5 ท่าน(สำหรับการเปิดตัวโครงการ) ประกอบด้วย

1. คุณไพรัตน์ สารรัตน์ ทายาทศิลปหัตถกรรม 2556 ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านไร่จังหวัดอุทัยธานี
2.คุณนิดดา ภูแล่นกี่ ทายาทศิลปหัตถกรรม 2559 เครื่องทอ(ผ้าไหมแต้มหมี่) จังหวัดขอนแก่น
3.คุณจิตนภา โพนะทา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2558 ผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์
4. คุณธนินทร์ธร  รักษาวงศ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม 2556 ผ้าบาติกจังหวัดกระบี่และนราธิวาส
5. ธัญลักษณ์ ทวีกิตติพันธ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2557 ผ้าฝ้ายย้อมคราม จังหวัดสกลนคร
« Last Edit: March 20, 2017, 11:15:56 PM by MSN »