enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » ก.วิทย์ สวทช., เครือข่ายพันธมิตร จับมือสถาบันวิจัยเยอรมนี วิจัยและพัฒนาปรับปรุง « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on March 01, 2017, 02:09:16 PM ก.วิทย์ สวทช., เครือข่ายพันธมิตร จับมือสถาบันวิจัยเยอรมนี วิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิต สร้างความยั่งยืนของประเทศตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.027 กุมภาพันธ์ 2560- ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดแถลงข่าวลงนามความร่วมมือ “The Collaborative Bioeconomy International Project” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบัน Forschungszentrum Jülich (ฟอชุมเซนทลัม จูลิช) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิต สร้างความยั่งยืนของประเทศตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สนับสนุนและพัฒนาความร่วมมืองานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพเพื่อความยั่งยืน รวมถึงงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Plant Phenotyping และการประยุกต์ใช้กับสถาบัน Forschungszentrum Jülich (ฟอชุมเซนทลัม จูลิช) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเห็นความสำคัญร่วมกันกับสถาบัน Forschungszentrum Jülich ว่ามันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย มีศักยภาพทางด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจฐานชีวภาพ จึงได้ร่วมกันวางแผนดำเนินงานศึกษาวิจัย เรื่อง "Utilization of genetic and phenotypic variation of storage root development of Cassava (Manihot esculenta Crantz) to improve an important bio-economy crop; CASSAVASTORe" มีเป้าหมายศึกษาข้อมูลฟีโนไทป์ จีโนไทป์ และสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพัฒนาของรากสะสมอาหารของมันสำปะหลัง เพื่อประโยชน์สำหรับการเพิ่มความสามารถของงานการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตของประเทศไทยในอนาคต สำหรับในส่วนของประเทศไทยมีพันธมิตรในการวิจัยจากหลายหน่วยงาน และมีแผนการดำเนินงานทั้งสิ้น 4 แผนงาน ได้แก่ 1. ศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของการสร้างรากมันสำปะหลัง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนอาหารจากใบมาสู่การสะสมแป้งที่รากมันสำปะหลัง ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 2. ศึกษาลักษณะฟีโนไทป์ของการพัฒนาของรากมันสำปะหลัง จำนวน 600 สายพันธุ์ที่เก็บรวบรวมไว้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.ระยอง ดำเนินการโดย ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 3. ศึกษาเพื่อระบุตำแหน่งและเครื่องหมายโมเลกุล และยีนด้วยเครื่องมือทางจีโนม ดำเนินการโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 4. ศึกษาหน้าที่ของยีนที่ควบคุมการสร้างรากมันสำปะหลังในระบบการถ่ายยีนของมันสำปะหลังเพื่อยืนยันหน้าที่ของยีน และใช้สำหรับโปรแกรมการคัดเลือกเบื้องต้นของงานด้านการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง ดำเนินการโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และ สถาบัน Forschungszentrum Jülich ทั้งนี้ในส่วนของงบประมาณได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสถาบัน Forschungszentrum Jülich ด้วยทีมนักวิจัยเยอรมัน และรัฐบาลสหพันธ์รัฐเยอรมนี สนับสนุนงบประมาณจำนวนเงิน 803,356 ยูโร หรือประมาณ 32 ล้านบาท ส่วนงบประมาณสนับสนุนการวิจัยของทีมนักวิจัยไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สวทช. ประมาณ 30 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ระหว่างปี 2560 – 2562รายละเอีดยเพิ่มเติม แผนงานที่ 1 ศึกษาการเทคาร์บอนจากส่วนต้นไปยังส่วนราก และจากส่วนรากดูดซึมไปยังรากสะสมอาหารในระหว่างช่วงการพัฒนาของรากมันสำปะหลัง ผ่านการเปรียบเทียบระหว่างมันสำปะหลัง 3 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 สายพันธุ์ห้านาที และสายพันธุ์ระยอง 9 โดยศึกษาลักษณะทางด้านสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเทคาร์บอนในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต และการพัฒนาของรากสะสมอาหารในมันสำปะหลังทั้ง 3 สายพันธุ์ เพื่อติดตามการใช้คาร์บอนในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต และการพัฒนาของรากสะสมอาหารในมันสำปะหลัง แผนงานที่ 2 สถาบัน Forschungszentrum Jülich ได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เพื่อศึกษาระบบรากของข้าวสาลีไว้แล้ว ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จะดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการตรวจวัดและเก็บข้อมูลพัฒนาการของรากมันสำปะหลัง และนำไปติดตั้งที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร เพื่อประเมินและติดตามพัฒนาการของรากมันสำปะหลังจำนวน 600 สายพันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองปลูกไว้ โดยการเก็บข้อมูลด้านภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหว และมีการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และจัดส่งข้อมูลที่บันทึกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปให้ Jülich เพื่อวิเคราะห์ผล ซึ่งเนคเทคจะมีบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานในตลอดระยะเวลาดำเนินงานร่วมกัน แผนงานที่ 3 และ 4 มุ่งเน้นการสร้างทรัพยากรข้อมูลพันธุกรรมของมันสำปะหลัง ประกอบด้วย ข้อมูลจีโนมิกส์จากการสืบหาและวิเคราะห์ลำดับเบสในจีโนมของมันสำปะหลังกว่า 600 สายพันธุ์ที่มีรวบรวม ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และข้อมูลทรานสคริปโตมิกส์ที่ได้จากกระบวนการ RNA-Seq ของยีนที่แสดงออกในรากสะสมอาหารที่ระยะพัฒนาการต่างๆ ของมันสำปะหลัง 25 สายพันธุ์ ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้สืบพบยีนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ ในระบบการเจริญเติบโตของรากสะสมอาหารมันสำปะหลัง การวิเคราะห์หน้าที่ของยีนที่ถูกคัดเลือกด้วยวิธีทางพันธุวิศวกรรมจะช่วยให้ทราบถึงบทบาทและความสำคัญของยีนเหล่านั้นในการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของรากสะสมอาหาร และอาจนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาเป็นยีนเครื่องหมายในระบบการพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังด้วยการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการปรับปรุงคุณลักษณะสำคัญของรากสะสมอาหาร เช่น ขนาด มีความสำคัญต่อความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังได้ในอนาคต Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » ก.วิทย์ สวทช., เครือข่ายพันธมิตร จับมือสถาบันวิจัยเยอรมนี วิจัยและพัฒนาปรับปรุง