MSN on January 20, 2017, 08:26:54 AM
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนรองรับการขยายธุรกิจ

•   ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นขออนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มซีไอเอ็มบีที่ให้ความเชื่อมั่นในการเพิ่มทุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งเงินกองทุนให้เพียงพอต่อการขยายธุรกิจ

•   โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 5,505,495,928 บาท จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) ในอัตราจัดสรร 2 หุ้นใหม่ต่อ 9 หุ้นเดิม ในราคาเสนอขาย 1 บาทต่อหุ้น

•   ผลการดำเนินงานธนาคารมีรายได้เติบโตดีในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ NPL ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์บางกลุ่มในระหว่างปี ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของ NPL ตามปกติตามภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัว ทั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาโครงสร้างคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร

•   ยุทธศาสตร์หลัก 5 C’s คือ Customer, Culture, Compliance, Cost และ Capital โดยธนาคารตั้งเป้าหมายขยายสินเชื่อและเงินฝากในระดับปานกลางที่ร้อยละ 5-10 ตามภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัว

•   แผนการเติบโตของธุรกิจและการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารโดยตั้งเป้าหมายที่จะกลับมามีผลกำไรในปี 2560

•   ธนาคารยังคงเป็นตลาดหลักเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี ในการเสริมและสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคอาเซียน จากการที่กลุ่มซีไอเอ็มบีมีเครือข่ายธุรกิจอยู่ในหลายประเทศเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคนี้



คุณกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย



ขออนุมัติเพิ่มทุน
นายกิตติพันธ์  อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 อนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนของธนาคารอีกจำนวน 2,752,747,964.00 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 12,387,365,839.50 บาท เป็นจำนวน 15,140,113,803.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 5,505,495,928 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท (“หุ้นที่เสนอขาย”) เพื่อรองรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) รวมทั้งอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของธนาคาร

“อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2559 ของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 16.1 และร้อยละ 10.7 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าระดับที่ทางการกำหนด หลังจากการทำ Rights Offering ครั้งนี้ จะทำให้ธนาคารมี BIS ratio แข็งแกร่งขึ้นเป็นร้อยละ 18.5 ซึ่งจะเป็นการเสริมความมั่นคงของฐานเงินกองทุนและงบดุลของธนาคารมากยิ่งขึ้นพร้อมรับการเติบโตของธุรกิจในปี 2560 โดยธนาคารจะเน้นยุทธศาสตร์หลัก 5 C’s คือ Customer (ลูกค้า) Culture (วัฒนธรรม) Compliance (การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์) Cost (ค่าใช้จ่าย) และ Capital (เงินทุน) โดยตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อในระดับปานกลางที่ร้อยละ 5-10 จากแนวทางที่คณะกรรมการธนาคารได้กำหนดและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มซีไอเอ็มบี ธนาคารมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถกลับมามีผลประกอบการกำไรในปี 2560 นี้” นายกิตติพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารจะเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารจำนวน 5,505,495,928 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) ในอัตราจัดสรร 2 หุ้นใหม่ต่อ 9 หุ้นเดิม ในราคาเสนอขาย 1 บาทต่อหุ้น อนึ่ง ธนาคารกำหนดจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 ขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560

กรณีที่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรรอบแรกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ธนาคารจะดำเนินการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เหลือดังกล่าวให้กับผู้ถือหุ้นเดิมที่ประสงค์จะซื้อหุ้นเกินสิทธิตามสัดส่วนการถือหุ้น ในราคาเดียวกันกับหุ้นที่ได้รับการจัดสรร

เต็งกู ดาโต๊ะ ศรี ซาฟรูล อาซิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี กล่าวว่า  “จากการที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับสภาวการณ์การประกอบธุรกิจที่ท้าทายในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้กันสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2559 กลุ่มซีไอเอ็มบีเชื่อมั่นว่าธนาคารจะสามารถกลับมามีกำไรอีกครั้งในปี 2560 โดยกลุ่มซีไอเอ็มบียังคงให้การสนับสนุนการดำเนินการตามแผนธุรกิจของธนาคารอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนการเพิ่มทุนที่ประกาศในวันนี้ด้วย
ประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจสูง และยังคงเป็นฐานเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มซีไอเอ็มบีในการเสริมและสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคอาเซียน จากการที่กลุ่มฯมีเครือข่ายธุรกิจอยู่ในหลายประเทศเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคนี้”

ผลประกอบการงวดปี 2559
ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 12,928.1 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 694.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2558 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 16.4 และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิร้อยละ 11.4 ในขณะที่รายได้อื่นลดลงร้อยละ 37.7 กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เป็นจำนวน 5,504.6 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ร้อยละ 4.2

อย่างไรก็ตามขาดทุนสุทธิสำหรับปี 2559 มีจำนวน 629.5 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2558 กำไรสุทธิมีจำนวน 1,052.4 ล้านบาท เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในสำรองหนี้สงสัยจะสูญร้อยละ 66.6 ซึ่งการตั้งสำรองที่สูงขึ้นนั้นมาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบางกลุ่มอุตสาหกรรมในระหว่างปีประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัว

เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และ 2558 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 1,388.7  ล้านบาท หรือร้อยละ 16.4 เป็นผลจากการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 21.8   รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 167.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ธุรกรรมเช่าซื้อและสัญญาเช่าทางการเงินและค่าธรรมเนียมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย และรายได้จากการดำเนินงานอื่นลดลง 862.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของธุรกรรมบริหารเงิน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559  เพิ่มขึ้นจำนวน 296.2 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปี 2558 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นสุทธิกับการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 57.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 58.3  เป็นผลจากแผนการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีผนวกกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) อยู่ที่ร้อยละ 3.77 สำหรับปี 2559    ในขณะที่ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.27 เป็นผลจากการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันที่ 31 ธันวาคม 2559 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 206.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 223.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากสิ้นปี 2558 ซึ่งมีจำนวน 218.4 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 92.4 จากร้อยละ 91.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ 12.7 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น (NPL ratio) อยู่ที่ร้อยละ 6.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าภาคธุรกิจบางรายลดลง อย่างไรก็ตาม ธนาคาร  ซีไอเอ็มบี ไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแล และการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

อัตราส่วนเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 77.3 ลดลงจากสิ้นปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 106.5 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 เงินสำรองของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่จำนวน 9.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 3.5 พันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากนับรวมการขาย NPL บางส่วนออกไปเมื่อต้นเดือนมกราคม 2560  จะส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 และอัตราส่วนเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ที่ร้อยละ 86.4 ตามลำดับ
เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีจำนวน 38.0 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 16.1 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 10.7

ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายแก่ทั้งลูกค้าบรรษัทและลูกค้ารายย่อย ธนาคารยังให้บริการค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่บริษัท ให้บริการกองทุนรวม การจัดการสินทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ประกันภัย และบริการต่างๆผ่านทางบริษัทในเครือและสาขา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.cimbthai.com

ข้อตกลงและคำเตือน
ข้อความบางประการในเอกสารนี้เป็นข้อความที่กล่าวถึงแผนและการประมาณการอนาคต ซึ่งรวมถึงเป้าหมายผลกำไรของธนาคาร ตลอดจนข้อความที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ การเงิน ตลาด และพัฒนาการต่างๆ ดังนั้น ไม่ควรนำเนื้อหาในข้อความดังกล่าวไปใช้โดยขาดความรัดกุมรอบคอบเพียงพอ เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความผันผวนต่างๆทั้งที่ทราบและไม่ทราบ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบทำให้แผนและผลที่ออกมารวมทั้งวัตถุประสงค์ของธนาคารแปรผันไปอย่างมีนัยสำคัญจากเนื้อหาที่ได้แสดงไว้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในข้อความเหล่านั้น

ข้อความที่สื่อข้างต้นนี้ ไม่ได้เป็นการนำเสนอหรือการเชิญชวนเพื่อขายหรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศใดๆทั้งสิ้น
« Last Edit: January 20, 2017, 02:56:43 PM by MSN »

MSN on January 20, 2017, 02:55:51 PM
CIMB Thai Bank proposes rights issue for business growth

Summary
•   CIMB Thai Bank (“Bank”) proposes a rights issue, backed by strong commitment from CIMB Group, to reinforce its capital position and balance sheet to support business growth.

•   Plans to raise up to THB 5,505,495,928.00 capital via Rights Offering. 5,505,495,928 of new ordinary shares priced at THB1.00 per share. The Rights Offering will be issued at a ratio of 2 Rights Shares for every 9 existing CIMB Thai shares (“Rights Offering”).

•   Commendable top-line growth in 2016; loss was attributed to higher provisions mainly from rising NPLs in isolated commodities-related industries during the year as well as a general increase arising from the gradual pace of the economic recovery. There are no systemic asset quality issues at the Bank

•   The Bank has outlined its strategic priorities for 2017 anchored on 5C – Customer, Culture, Compliance, Cost and Capital; and targets a modest loan growth of 5-10% amidst a recovering economy

•   With concrete plans to grow the business and with stronger controls on asset quality, the Bank is expected to return to profitability in 2017

•   The Bank remains a strategic platform for CIMB Group to enhance and facilitate cross-border trade flows within the region, given its established presence across ASEAN’s major economies.



Mr. Kittiphun Anutarasoti, President and Chief Executive Officer of CIMB Thai Bank PCL



Capital Increase
   Mr. Kittiphun Anutarasoti
, President and Chief Executive Officer of CIMB Thai Bank PCL stated that the bank hereby discloses the resolutions made at the Board of Directors’ meeting no. 1/2017, held on 19 January 2017, to propose that the shareholders’ meeting of the Bank considers and approves the increase in the registered capital of the Bank an amount of THB 2,752,747,964.00 from the current registered capital of THB 12,387,365,839.50 to THB 15,140,113,803.50 by issuing 5,505,495,928 ordinary shares with the par value of THB 0.50 per share (“Rights Shares”), to accommodate the allocation of the newly issued shares to the shareholders proportionate to their shareholding as well as the amendment to Clause 4 of the Memorandum of Association of the Bank to be in line with the increase of the Bank’s registered capital.

   “As at December 2016, the Bank’s BIS ratio and Tier-1 capital at 16.1% and 10.7% respectively were well above regulatory requirement. With the proposed Rights Offering, our BIS ratio will strengthen to 18.5% – thus further reinforcing the bank’s capital position and balance sheet going into 2017. Our strategic priorities for 2017 are anchored on the 5 C’s – Customer, Culture, Compliance, Cost and Capital. The bank targets a modest loan growth of 5-10%. With the Board’s guidance and continued support from CIMB Group, we are confident of returning the bank to profitability in 2017.” Mr Kittiphun said.

   CIMB Thai will propose that the shareholders consider and approve the allocation of 5,505,495,928 newly issued shares at the par value of THB 0.50 per share to the existing shareholders proportionate to their shareholding (Rights Offering) at a ratio of 2 Rights Shares for every 9 existing CIMB Thai shares, at the offer price of THB1.00 per share. The date for the Extraordinary General Meeting of Shareholders has been scheduled for 24 February 2017. 

   If there are any remaining shares from the first allocation to the existing shareholders, the Bank will allocate such remaining shares to the existing shareholders who wish to subscribe to the newly issued shares in excess of their entitlement, at the same price as that of the shares to be allocated.

    Tengku Dato’ Sri Zafrul Aziz, Group Chief Executive, CIMB Group said, “Given the gradual pace of economic recovery in Thailand and challenging operating conditions, CIMB Thai recorded elevated loan provisions in Q4FY2016. We are confident, however, that CIMB Thai can return to profitability in 2017 and we are fully supportive of CIMB Thai’s business plans, including the rights issue announced today.
 
   Thailand has great growth potential and the country remains a strategic platform for us to enhance and facilitate cross-border trade flows within the region, given CIMB Group's established presence across ASEAN’s major economies.”. 

FY2016 Financial Results   
   According to the unaudited financial results for the year ended 31 December 2016, CIMB Thai group’s consolidated operating income rose by THB 694.1 million or 5.7% year-on-year (“YoY”) to THB 12,928.1 million, derived from a 16.4% growth in net interest income and a 11.4% expansion in net fee and service income, while other income dropped by 37.7%. Pre-Provision Operating Profit increased 7.8% YoY to THB 5,504.6 million with a lower growth in operating expenses of 4.2% YoY.

   However, net loss was THB 629.5 million for the year 2016, compared to net profit of THB 1,052.5 million in 2015, as a result of a 66.6% increase in provisions. The increase in provision was mainly from rising NPLs in certain industries during the year as well as those arising from the gradual pace of the economic recovery.

   On a YoY basis, net interest income increased by THB 1,388.7 million or 16.4%, resulting from a decrease in interest expenses by 21.8%. Net fee and service income increased by THB 167.9 million or 11.4%, mainly due to higher hire-purchase and financial lease fees and insurance premiums. Total other operating income decreased by THB 862.6 million or 37.7% mainly from lower treasury business activities.

   For the year ended 31 December 2016, operating expenses increased by THB 296.2 million or 4.2% YoY from higher other expenses but partially offset by lower premises and equipment expenses. The cost to income ratio improved to 57.4% in 2016 compared to 58.3% in 2015 as a result of better cost management and increased income.

   Net Interest Margin (NIM) over earning assets stood at 3.77% in 2016, compared to 3.27% from 2015, as a result of more efficient funding cost management.

   As at 31 December 2016, total gross loans (inclusive of loans guaranteed by other banks and loans to financial institutions) stood at THB 206.4 billion, marking an increase of 3.7% from 31 December 2015. Deposits (inclusive of Bill of Exchanges, Debentures and selected Structured Deposit Products) stood at THB 223.5 billion, an increase of 2.4% from THB 218.4 billion at the end of December 2015. The Modified Loan to Deposit Ratio was higher at 92.4% compare to 91.2% as at 31 December 2015.

   The gross non-performing loans (“NPL”) stood at THB 12.7 billion, with an equivalent gross NPL ratio of 6.1%. This is an increase from 3.1% as at 31 December 2015, due to slower repayment ability from borrowers in certain sizable corporate accounts. CIMB Thai continues to exercise high credit risk underwriting standards and risk management policies. The Bank also focuses on improving productivity, monitoring collection and managing all accounts closely and effectively.

   CIMB Thai Group’s loan loss coverage ratio decreased to 77.3% as at 31 December 2016 from 106.5% at the end of December 2015. As at 31 December 2016, our total provisions stood at THB 9.8 billion showing an excess of THB 3.5 billion over Bank of Thailand’s reserve requirements.

   Taking into consideration the NPL sale completed in early January 2017, CIMB Thai’s proforma gross NPL ratio and loan loss coverage ratio as at 31 December 2016 would be 4.8% and 86.4% respectively.

   Total consolidated capital funds as at 31 December 2016 stood at THB 38.0 billion. BIS ratio stood at 16.1%, 10.7% of which comprised Tier-1-capital.

About CIMB Thai Bank PCL
CIMB Thai Bank is a commercial bank registered in Thailand. It provides a wide variety of financial products and services to corporate, SME and retail customers.  It also offers financial advisory services to corporations, as well as mutual funds, insurances, including other products and services via its existing branch network.

Disclaimer and cautionary statement
Certain statements in this document are forward-looking statements, including statements regarding CIMB Thai PLC’s (the “Bank”) targeted profit, as well as statements regarding the Bank’s understanding of general economic, financial and insurance market conditions and expected developments. Undue reliance should not be placed on such statements because, by their nature, they are subject to known and unknown risks and uncertainties and can be affected by other factors that could cause actual results and plans and objectives of the Bank to differ materially from those expressed or implied in the forward looking statements.

This communication does not constitute an offer or an invitation for the sale or purchase of securities in any jurisdiction.