happy on January 11, 2017, 08:39:07 PM
การก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 กับไอโอที

นายแอนโทนี่ บอร์น ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมส่วนกลาง
บริษัท ไอเอฟเอส (IFS)



Antony Bourne

อุตสาหกรรม 4.0 เป็นระบบอัจฉริยะที่รวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน และครอบคลุมมากกว่าไอโอที

                  ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทมากถึง 70% ในทำเนียบ Fortune 1000 ที่หายไป สถิตินี้อาจทำให้เกิดความหวาดวิตก แต่สิ่งที่ควรตระหนักก็คือความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้เต็มที่แทนความหวาดกลัว

                  ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศหนึ่งที่เดินหน้าสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างเต็มที่ด้วยการสร้างให้ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ อุตสาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นคำศัพท์ที่หมายรวมถึงเทคโนโลยีอันทันสมัยด้านระบบอัตโนมัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการผลิต การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นธรรมชาติของเทคโนโลยีและการก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการสร้าง อุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง

                  แนวโน้มหนึ่งที่เรามองเห็นในขณะนี้ ก็คือผู้คนกำลังหันมาใช้คำศัพท์ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อินเทอร์เน็ตออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที (Internet of Things: IoT) หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม หรือ ไอไอโอที (Industrial Internet of Things: IIoT) มากยิ่งขึ้น แม้ว่าอุตสาหกรรม4.0 ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบอัจฉริยะที่รวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน (ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิต) และครอบคลุมมากกว่าการเน้นแค่ ไอโอที เนื่องจากเป็นการผสานรวมระบบอัตโนมัติที่ทันสมัย การส่งเสริมการผลิต และการพิจารณาทุกสิ่งบนพื้นฐานของความเป็นจริง เป็นต้น


                  บรรดาผู้ผลิตต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มนี้อย่างแท้จริง รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากแนวโน้มนี้ และองค์กรธุรกิจในทุกระดับจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มนี้อย่างไรบ้าง และผู้ที่สามารถเดินตามแนวทางนี้ได้จะกลายเป็นผู้ที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม ขณะที่คู่แข่งจะค่อยๆ หายไป

อนาคตของ อุตสาหกรรม 4.0

                  การเลือกที่จะไม่ตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในกรณีนี้คือ อุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นเรื่องเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตบางแห่งอย่างแน่นอน แนวคิดนี้ควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่และของเดิมที่คุณสามารถใช้ต่อไปได้ โดยคุณต้องจัดอับดับ 1 ถึง 10 ในเรื่องการก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง  อาทิ การปรับใช้ระบบอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูล

                  กรณีที่คุณไม่แน่ใจว่า จะเดินไปทางไหน คุณอาจอยู่รั้งท้ายก็เป็นได้ และขออย่าให้เป็น Woolworths หรือ Kodak รายต่อไปเลย

                  แม้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง อุตสาหกรรม 4.0 ควรเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญ  เมื่อต้องปรับใช้เทคโนโลยีตามแผนงานที่วางไว้   แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้นสำหรับแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                  แม้จะยังไม่จำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 (ซึ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหลัก) แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมองไปที่เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย  เช่น  เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ และพิจารณาว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างไรบ้าง


                  การใช้นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) เพื่อส่งข้อมูลอัพเดตและการแจ้งเตือนล่วงหน้าตามบทบาทของผู้ใช้และข้อกำหนดขององค์กรเป็นสิ่งที่บางองค์กรให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้  ตัวอย่างเช่น เมื่อปฏิบัติงานภาคสนาม พนักงานจะได้รับการแจ้งเตือน เมื่อสินค้าสำคัญได้รับการจัดส่งแล้ว เมื่อโครงการสำคัญเริ่มดำเนินงานหรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อมีการชำระใบแจ้งหนี้

                  อย่าพยายามตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที มิฉะนั้นอาจต้องลงเอยด้วยปริมาณข้อมูลที่มากเกินกว่าจะสามารถจัดการได้

อย่าหลงเชื่ออะไรง่ายๆ

                  อุตสาหกรรม และไอโอที  เป็นแนวโน้มที่ดีมากสำหรับการนำวิธีการใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต แต่อย่าเพิ่งวิ่งหากคุณยังเดินไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเรื่องง่ายมากที่จะหลงเชื่อคำชักชวนเกี่ยวกับ ไอโอทีจนต้องเสียเงินไปกับระบบเซ็นเซอร์ที่ไม่ได้มีความจำเป็นเลยแม้แต่น้อย ทั้งยังต้องสูญเสียทรัพยากรที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ดีกว่า

                  ตลาดไอโอที กำลังเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น  มีบริษัทน้องใหม่มากมายที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลอดอย่างต่อเนื่อง คุณไม่ต้องติดตั้งเซ็นเซอร์ทั้งโรงงาน เพราะอีกสองสามเดือนต่อมาก็จะมีสิ่งที่ดีกว่าออกสู่ตลาดแล้ว โปรดจำไว้ว่าผู้ที่ก้าวเดินบนถนนสายไอโอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างสำเร็จนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ก่อน


                  อย่าพยายามตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที มิฉะนั้นอาจต้องลงเอยด้วยปริมาณข้อมูลที่มากเกินกว่าจะสามารถจัดการได้ ก้าวถอยหลังออกมาและพิจารณาสิ่งที่มีความสำคัญต่อคุณจริงๆ บางทีอาจมีห่วงโซ่การผลิตบางจุดที่ล่าช้า และคุณปรับแก้ให้ถูกต้องเฉพาะจุด หรืออาจต้องใช้การติดตามตรวจสอบไซต์งานจากระยะไกลแทนที่จะเสียเงินไปกับการจัดส่งพนักงานไปดูแลเองโดยตรง

                  การวิเคราะห์การผลิตเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกำลังให้ความสนใจอย่างมาก เมื่อผมพูดกับเพื่อนๆ ในแวดวงอุตสาหกรรม เห็นได้ชัดว่าเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่การแปรรูประบบการทำงานเป็นดิจิทัลและทุกสิ่งมีพร้อมให้เลือกใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาสมดุลระหว่างการรับเอานวัตกรรมมาใช้งานกับความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่าง “สิ่งใหม่” กับ “สิ่งที่มีประโยชน์” สำหรับคุณ

# # #

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

                  ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com

ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld

เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/