“จี้รัฐ-เอกชน วางแนวปฏิบัติชัดเจน แก้ผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีเจ้าหน้ารัฐรับงานภาคเอกชน”
21 ธันวาคม 2559 - กรุงเทพฯ ดุสิตธานีฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อเรื่อง “กรณีค่าที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่...ถูกหรือผิด...แก้ได้ หรือ ไร้หวังเพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสแข่งขันอย่างเป็นธรรม และเพื่อเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการที่ชัดเจนป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าของรัฐ ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ทับซ้อน แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องของการทุจริต แต่เป็นสภาวะที่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ รวมทั้งผู้ถูกจ้าง ต้องร่วมกันจัดการให้เกิดความโปร่งใส สามารถเปิดเผยข้อมูล และต้องตรวจสอบผ่านสื่อสาธารณธะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรุงคุณวุฒิ ดร.บัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC), นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา และ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกลุ่มธุรกิจการเงินธนาคารเกียรตินาคินภัทร ร่วมเป็นวิทยากร และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมี ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผู้ดำเนินรายการ
ดร.บัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมให้ความสนใจและห่วงใยเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน กลายเป็นประเด็นสำคัญในเรื่องของธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ ด้วยบทบาทหน้าที่ของข้าราชการที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับเอกชน ซึ่งจะเอื้อต่อการก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ภาครัฐจึงควรมีมาตรการและกฎระเบียบที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าของรัฐ ใช้อำหนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน อาจจะมีการออกกฎหมายเมหมือนในหลายๆประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงอยากจะเสนอว่า
1. ภาครัฐควรกำหนดแนวทางปฏิบัติของข้าราชการที่ชัดเจน อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
2. ภาครัฐควรกำหนดให้ข้าราชการเว้นวรรคการรับตำแหน่งที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ตัวเองดูแลเป็นเวลา 2 ปี (Cooling of Period)
3. ภาคธุรกิจควรยึดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ แสดงความโปร่งใสขององค์กร สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน และพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ กับการแต่งตั้งข้าราชการให้เข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรทันทีหลังเกษียณราชการ หรือในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งในภาครัฐ
4. ภาคธุกิจควรกำหนดกติกาที่ชัดเจน และเปิดเผยข้อมูลตำแหน่งที่มีข้าราชการเข้าไปรับตำแหน่งต่างๆ ต่อสาธารณะชน
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา กล่าวว่า เรื่องที่ข้าราชการเข้ามารับผลประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าเงินเดือนประจำ ก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรัง และผลกระทบต่อสังคมมากมาย ไม่สามารถตวรจสอบได้ชัดเจนว่าข้าราชการรับตำแหน่งในภาคธุรกิจเพื่ออะไร ภาคธุรกิจจ่ายเพราะซื้อตำแหน่งหรือจ่ายเพราะความสามารถ จ่ายในนามบริษัทไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานการรับเงินที่ชัดเจน ว่าจ่ายค่าอะไรจ่ายอย่างไร มีกฎหมายรอบรับหรือไม่ ตนเองจึงขอเสนอว่า “ให้มีการออกกฏหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน ให้ข้าราชการต้องรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด ว่าได้เข้าไปรับตำแหน่งภาคธุรกิจที่ไหนบ้าง มีบทบาทหน้าที่อย่างไร แล้วควรกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนในกรณีที่ไม่รายงงานต้นสังกัด และที่สำคัญต้องให้สังคมสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งที่ข้าราชการเข้าไปรับนั้นมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ตนเองต้องดูแล หรือเคยดูแลหรือไม่”
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกลุ่มธุรกิจการเงินธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนมีมากมาย ค่อนข้างซับซ้อน และอ่อนไหวในสังคม แต่ห้ามไม่ได้ หลายกรณีอาจไม่ใช่เรื่องทุจริต อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องของ “สภาวะที่ต้องจัดการให้เกิดความโปร่งใสชัดเจน จัดการให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และข้อมูลดังกล่าวจะต้องตรวจสอบได้อย่างชัดเจน” ในมุมมองของตนเองคิดว่าคงไม่ต้องรออกกฎหมาย แต่ควรสร้างกติกาหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนให้กับข้าราชการที่ยังดำรงตำแหน่ง และข้าราชการเกษียณ ที่เข้าไปดำรงตำแหน่งในภาคธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน สำหรับภาคธุรกิจก็ควรจะตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมรายบุคคล
ทั้งนี้วิทยากร และผู้ร่วมสัมมนาต่างเห็นพ้องกันว่าภาครัฐมีควรการกำหนดกฎและกติกาที่ชัดเจนต่อข้าราชการ และจัดทำข้อตกลงร่วมภาคธุรกิจในการจ้างข้าราชการเป็นที่ปรึกษา โดยสังคมจะต้องตรวจสอบได้อย่างชัดเจน