sianbun on May 13, 2009, 04:26:15 PM
ขอเชิญนักวิจัยไทยส่งผลงานวิจัยทางโภชนศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องขอรับทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด 2009


 
              ขอเชิญนักวิจัยไทยส่งผลงานวิจัยทางโภชนศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องขอรับทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด 2009 โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เพื่อยกระดับผลงานวิจัยไทยสู่สากล และลดปัญหาขาดแคลนนักวิจัย

          ขอเชิญนักวิจัยไทยส่งผลงานวิจัยทางโภชนศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ขอรับทุนวิจัย เซเรบอส อวอร์ด 2009 มูลค่ารวม 500,000 บาท โดยไม่มีข้อผู้มัดใดๆ หวังให้นักวิจัยที่ได้รับทุนสามารถนำไปใช้พัฒนาผลงานได้อย่างเต็มที่ สู่การยอมรับในระดับสากลอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เผยไทยประสบปัญหาขาดแคลนนักวิจัย ทั้งๆ ที่มีบุคคลที่มีศักยภาพที่เก่งไม่แพ้ชาติใด แต่ขาดงบประมาณสนับสนุน

          ศ.เกียรติคุณ นพ.จอมจักร จันทรสกุล ประธานคณะกรรมการพิจารณาทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด ว่าเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักวิชาการไทย เช่น แพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการทั่วไป ได้ร่วมส่งผลงานเพื่อขอรับทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านโภชนศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร สมุนไพร และยา รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคที่มีผลต่อโภชนบำบัดและการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการของประเทศไทยสู่การยอมรับในระดับนานาประเทศ โดยโครงการทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด จะให้ทุนวิจัยประเภทวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ

          สนใจส่งผลงานเข้าขอรับทุนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 นี้ ดาวน์โหลดใบขอรับทุนพร้อมดูรายละเอียดได้ที่ www.brandsworld.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-2650-9777

          ด้าน ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด กล่าวถึงที่มาของการสนับสนุนโครงการทุนวิจัย “เซเรบอส อวอร์ด” ว่า “งานวิจัย” เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างฐานความรู้ใหม่ ที่ช่วยพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี จะเห็นว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องสร้างบุคลากรระดับสูงเพื่อเป็น “ผู้สร้างความรู้” ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ในขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยอย่างหนักในปัจจุบัน แม้จะมีบัณฑิตจบใหม่เพิ่มมากขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่าน แต่เป็นการเพิ่มในเชิงปริมาณเท่านั้น เห็นได้จากสัดส่วนของผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รวมถึงการจดสิทธิบัตรต่างๆ ที่มีอยู่ค่อนข้างน้อยมาก เรามีผลงานของนักวิจัยไทยที่ได้รับการตีพิมพ์เพียงพันกว่าผลงานเท่านั้น ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีร่วมแสนผลงาน หรือประเทศสิงคโปร์เพื่อนบ้านเรา ที่มีผลงานถึงเกือบสี่พันผลงาน และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน แม้เราจะมีบุคลากรนักวิจัยที่เก่งๆ อยู่มาก แต่ยังขาดการสนับสนุนด้านเงินทุน ประเทศไทยมีสัดส่วนการลงทุนเพื่อการวิจัยเพียง 0.26 % ของจีดีพีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญต่อการสร้างนักวิจัย
« Last Edit: May 13, 2009, 04:29:44 PM by sianbun »