enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ศ.ศ.ป. ประกาศรางวัล "การคัดสรรศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ สุดยอดอาเซียน 2016” « previous next » Print Pages: [1] Go Down happy on August 18, 2016, 09:28:34 PM ศ.ศ.ป. ประกาศรางวัล“การคัดสรรศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ สุดยอดอาเซียน 2016”ชูเกียรตินักสร้างสรรค์งานศิลปะบนสิ่งทอคุณวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถ่ายภาพร่วมกับ 10 นักออกแบบอาเซียนศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ (SACICT) ศ.ศ.ป. จัดพิธีมอบโล่รางวัล “การคัดสรรศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ สุดยอดอาเซียน 2016” (ASEAN SELECTIONS 2016) เพื่อเป็นเกียรติให้แก่นักสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมด้านสิ่งทอเชิงนวัตกรรม ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในหัวข้อ ‘Innovative Crafts of Textiles in ASEAN: Ethnic Accents.’ โดยมีนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ในวันที่ 16 สิงหาคม 2559 ณ ลานเอนกประสงค์ มิวเซียมสยาม เวลา 15.00 น. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้นวัตศิลป์ เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. เป็นศูนย์กลางด้านศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์สุดยอดอาเซียน (ASEAN SELECTIONS) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะร่วมกันของนักสร้างสรรค์อาเซียน จนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาตินางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศนางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการ ศ.ศ.ป. ให้รายละเอียดว่า ศ.ศ.ป.คัดสรรงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์สุดยอดอาเซียน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.ORIGINALITY เป็นผลงานที่สร้างสรรค์หรือประยุกต์ขึ้นใหม่ 2.IDENTITY แสดงออกถึงอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของประเทศตนเอง 3.INNOVATIVENESS มีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม เลือกใช้กระบวนการ วัสดุ เทคนิคการผลิต หรือใช้งานศิลปะสิ่งทอที่ต่อยอดจากภูมิปัญญาของประเทศตนเอง 4.DESIGN & AESTHETIC มีรูปแบบที่สวยงามเหมาะสมตามหลักการออกแบบหรือความงามทางศิลปะ 5.UNIQUENESS มีความโดดเด่นของผลงานศิลปะสิ่งทอที่แตกต่างจากงานหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้านหรือสิ่งทอทั่วไป 6.QUALITY คุณภาพผลงานประณีต เรียบร้อย ใช้วัสดุที่เหมาะสม และ 7.FUNCTIONALITY เป็นผลงานที่นำมาใช้งานได้จริง ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการคัดเลือกประจำปี 2559 จำนวน 10 ราย ได้แก่นางดายง ฮาจาห์ คาดาริอะห์ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม “ผ้ายก”บ่งบอกถึงเทคนิคและลวดลายของประเทศอินโดนิเซีย มาเลเซีย และบรูไน จากการสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ๆ ของราชสำนักภายใต้กรอบของศาสนามุสลิมนายเสือง มิค ราชอาณาจักรกัมพูชา “ผ้าไหมมัดหมี่/การทอผ้าแบบ ikat” การคิดผังระบบของการทอผ้าไหมมัดหมี่ใหม่ ออกแบบลวดลายใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากลายผ้าเดิมของกัมพูชา จากการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมผ่านลวดลายผ้า นายจาวา เบนนี อะเดรียนโต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สร้างสรรค์งานผ้าในรูปแบบงานศิลปะ โดยออกแบบลวดลายให้มีมิติและโดดเด่น ประยุกต์ลายดั้งเดิมเพื่อสร้างสรรค์ลวดลายที่เป็นนวัตกรรมและร่วมสมัยนายเทียว นิธาคง สมสะนิท สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สร้างสรรค์งานผ้าในรูปแบบงานศิลปะ โดยออกแบบลวดลายใหม่ที่เน้นนวัตกรรมการทอผ้าร่วมกับวัสดุอื่นๆ เช่น ใบไม้ลงบนผ้า สร้างความแปลกใหม่ให้ชิ้นงานนายชาม อาบู บาการ์ ประเทศมาเลเซีย พัฒนาผ้าบาติกที่มีลวดลาย 3 มิติ โดยผสมผสานงานผ้ามัดย้อมและงานผ้าบาติกเข้าด้วยกัน และยังสร้างงานจิตรกรรมบนผ้าบาติกที่ผสมเทคนิคการพิมพ์ดิจิตอลลงไปในผลงานนางซานน์ บ๊อก รา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นำผ้าซิ่นพม่าที่มีสีสันสดใสมาจัดรูปแบบและประยุกต์ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายนายเคน ซามูดีโอ สาธารณรัฐฟิลิปินส์ คอลเล็กชั่น Sirens 2.0 นำแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าของหญิงสาวที่งดงามหรือนางเงือก โดยเปลี่ยนวัสดุรีไซเคิลให้เป็นเครื่องประดับแฟชั่นนายเบนนี ออง ประเทศสิงคโปร์ สร้างลวดลายบนผ้าจากเรื่องราวของชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ รวมถึงความประทับใจจากธรรมชาติ เพื่อสร้างสรรค์งาน Wall hanging ที่ทันสมัยและใช้งานได้จริงนางจำปี ธรรมศิริ ประเทศไทย สร้างลวดลายระหว่างทอโดยไม่ต้องเขียนหรือออกแบบก่อนทอ จึงทำให้เกิดลวดลายที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์น.ส.มินห์ ฮันห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สร้างสรรค์ลวดลายร่วมสมัย ประยุกต์การปักผ้า แต่ยังคงศิลปะเวียดนามไว้ในผลงานร่วมสัมผัสงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์สุดยอดอาเซียน 10 ผลงาน วันนี้ - 21 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00-18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม ###เกี่ยวกับ ศ.ศ.ป.:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2546 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (1 พฤศจิกายน 2546) จึงถือกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา ศ.ศ.ป. และให้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า “SACICT" (อ่านพ้องเสียงกับคำว่า “ศักดิ์สิทธิ์” ในภาษาไทย) ศ.ศ.ป. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพผสมผสานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านตามโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และส่งเสริมสนับสนุนด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศศ.ศ.ป. เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีการบริหารงานในรูปแบบองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 มีคณะกรรมการบริหารทำหน้าที่ควบคุมดูแลศูนย์ให้ดำเนินการกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง ศ.ศ.ป. และมีผู้อำนวยการทำหน้าที่บริหารกิจการของศูนย์ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างMr.Djawa Benny Adrianto จากสาธารณรัฐอินโดนีเซียMr.Ken Samudio จากสาธารณรัฐฟิลิปินส์Mr.Samsuddin Abu Bakar จากประเทศมาเลเซียMr.Suong Mich จาก Kingdom of CambodiaMr.Tiao David Somsanith จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMrs.Hjh Kadariah BPUKSDP Hj Umar จากประเทศบรูไน เดรุสซาลามMs.Dang Thi Min Hanh จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามMs.Sann Bawk Rar Mwihpu จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นางจำปี ธรรมศิริ จากประเทศไทยMr.Benny Ong จากสาธารณรัฐสิงคโปร์นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นประธานมอบโล่ในงานคุณซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการฝ่่ายมิวเซียมสยาม และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาดคุณสุพัตรา ศรีสุข ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศศปดร.ภูวนาท คุนผลิน พิธีกรดำเนินรายการ.คุณเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ กำลังชมผลงานของคุณจำปี « Last Edit: August 23, 2016, 06:25:40 PM by happy » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ศ.ศ.ป. ประกาศรางวัล "การคัดสรรศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ สุดยอดอาเซียน 2016”