happy on August 14, 2016, 05:55:00 PM
ชื่อภาพยนตร์ EYE IN THE SKY แผนพิฆาตล่าข้ามโลก
ภาพยนตร์แนว แอ็คชั่น-ทริลเลอร์
กำหนดเข้าฉาย 18 สิงหาคมนี้ (ในโรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์เท่านั้น)
กำกับการแสดงโดย Gavin Hood (แกวิน ฮู้ด) ผลงานที่ผ่านมา X-Men Origins : Wolverine
นำแสดงโดย…Helen Mirren (เฮเลน มีร์เรน) รับบท Colonel Katherine Powell (พันเอกหญิง แคเธอรีน พาวล์)
ผลงานที่ผ่านมา Trumbo , Woman in Gold , The Hundred Foot Journey
Aaron Paul (แอรอน พอล) รับบท Steve Watts (สตีฟ วัตต์ส)
ผลงานที่ผ่านมา Triple 9 , Exodus: Gods and Kings , Need for Speed
Alan Rickman (อลัน ริกแมน) รับบท Lt.General Frank Benson (พลโทแฟรงค์ เบนสัน)
ผลงานที่ผ่านมา Harry Potter , A Lice in Wonderland , Love Actually
Barkhad Abdi (บาร์กาด แอ็บดี) รับบท Jama Farah (จามา แฟราห์)
ผลงานที่ผ่านมา Captain Phillips , The Oscars ตัวอย่างภาพยนตร์ซับไทย https://www.youtube.com/watch?v=J5QbZ5iMzX8เรื่องย่อ EYE IN THE SKY “ผู้พันแคทเธอรีน พาวเวลล์” (รับบทโดย เฮเลน มีร์เรน) เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองทางทหารที่ประจำการที่ลอนดอน กำลังอยู่ระหว่างการบังคับบัญชาปฏิบัติการโดรนลับสุดยอดเพื่อจับกุมกลุ่มผู้ก่อการร้ายสุดอันตรายจากเซฟเฮาส์ของพวกเขาในเมืองไนโรบี ประเทศเคนยา จู่ๆ ภารกิจของเธอก็ยกระดับจากปฏิบัติการ “จับกุม” ไปเป็น “การสังหาร” เมื่อพาวเวลล์ตระหนักได้ว่าผู้ก่อการร้ายกำลังจะปฏิบัติภารกิจพลีชีพที่แสนอันตรายจากฐานของเขาในเนวาดา “สตีฟ วัตส์” (รับบทโดย แอรอน พอล) นักบินโดรนชาวอเมริกัน กำลังเตรียมพร้อมที่จะทำลายเซฟเฮาส์ เด็กหญิงวัย 9 ขวบ กำลังก้าวเข้ามาอยู่ในโซนสังหารนอกรั้วบ้าน ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายอังกฤษและอเมริกัน ต้องมาถกกันว่าควรทำยังไง? คุ้มไหม?ที่จะปล่อยให้เด็กน้อยผู้บริสุทธิ์ต้องตาย เพื่อป้องกันเหตุระเบิดที่จะมีผู้คนอีกมากมายเสียชีวิต การตัดสินใจถูกส่งต่อไปตาม “ลำดับสั่งการสังหาร” ของนักการเมืองและทนายความในตอนที่เวลางวดเข้ามา EYE IN THE SKY นับเป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น-ทริลเลอร์ร่วมสมัย ที่เรื่องราวเกิดขึ้นในโลกที่มืดหม่นของการทำสงครามระยะไกลโดยโดรนที่มีนักบินบังคับเกี่ยวกับงานสร้าง EYE IN THE SKY
หลังจาก Rendition ภาพยนตร์ปี 2007 ของเขา ผู้กำกับแกวิน ฮู้ด ก็หวนคืนสู่โลกของการทำสงครามร่วมสมัยอีกครั้งด้วยภาพยนตร์ทริลเลอร์สุดเข้มข้นเรื่อง EYE IN THE SKY ซึ่งสำรวจเรื่องราวของการใช้โดรนในการทำสงครามและผลกระทบทางศีลธรรมที่ตามมา
แกวิน ฮู้ด กล่าวว่า “…ผมตระหนักดีถึงแง่มุมต่างๆ ของการทำสงครามด้วยโดรน เพราะผมเคยสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับการผจญภัยของทหารอเมริกันมาแล้วใน Rendition ผมได้อ่านบทความ อ่านความคิดเห็นและพวกหนังสือมาแล้ว ผมพยายามจะติดตามอัพเดทสิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงทหารอเมริกันเสมอ แต่ผมไม่เคยล้วงลึกลงไปในการลอบสังหารแบบมีเป้าหมายแบบนี้มาก่อน…”
โอกาสในการได้สำรวจแง่มุมที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากของการทำสงครามสมัยใหม่เกิดขึ้นเมื่อฮู้ดได้อ่านบทภาพยนตร์เรื่อง EYE IN THE SKY จากมือเขียนบทกาย ฮิบเบิร์ท ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่อง Five Minutes of Heaven (2009), Omagh (2004) และ Shot Through the Heart (1998)
“…ผมรู้ว่าโดรนและการทำสงครามโดยอาศัยคอมพิวเตอร์จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในศตวรรษที่ 21 และผมก็คิดว่าไม่มีใครเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ งั้นมาลองดูกันดีกว่าครับ…” ฮิบเบิร์ทอธิบาย
ฮิบเบิร์ทได้ไปเยี่ยมชมงานแสดงอาวุธในกรุงปารีส “…และโดรนก็อยู่ทุกหนทุกแห่ง ผู้ผลิตอาวุธทุกรายต่างก็นำอุปกรณ์ชนิดใหม่มาโชว์ แล้วผมก็ได้คุยกับทางกองทัพ ซึ่งพวกเขาบอกว่ามันไม่เคยมีการโต้วาทีต่อหน้าสาธารณชนเกี่ยวกับการทำสงครามรูปแบบนี้มาก่อน สิ่งที่ทำให้พวกเขากังวลใจคือในการทำสงครามในรูปแบบเดิม ผู้บังคับบัญชาจะอยู่ในสนามรบและเขาก็จะเป็นคนตัดสินใจเดี๋ยวนั้น แต่กับสงครามที่ใช้โดรน มันไม่ได้เป็นแบบนั้น ดังนั้น การสำรวจไอเดียนั้นก็ดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับหนังเรื่องหนึ่งครับ…”
บทภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกับผู้อำนวยการสร้างโคลิน เฟิร์ธและเก็ด โดเฮอร์ตี้ “…ผมชื่นชอบไอเดียในบทของกาย และท้ายที่สุดเราก็นำมันไปเสนอแกวิน ฮู้ด ผู้เป็นผู้กำกับมากฝีมือ…” โดเฮอร์ตี้อธิบาย
ความสนใจของฮู้ดได้รับการจุดประกายจากคำถามที่บทภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งขึ้น “…นี่เป็นผลงานของนักเขียนมากพรสวรรค์ที่สร้างสรรค์ในสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยกันในสาธารณชนและสื่อมวลชนได้ครับ มันสร้างสถานการณ์ที่ไม่ได้ให้คำตอบได้ง่ายดายนัก…” ผู้กำกับกล่าว
สถานการณ์นั้นเกิดขึ้นในเมืองไนโรบี ประเทศเคนยา หัวหน้าหน่วยทหารของอเมริกันและอังกฤษมีโอกาสในการลอบสังหารผู้ก่อการร้ายคนสำคัญ ซูซาน แดนฟอร์ด (เล็กซ์ คิง) หรืออาเยชา อัล-เฮดี้ ชาวอังกฤษผู้เปลี่ยนความเชื่อและผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายระดับสูงจากอัลชาบับ
หลังจากนั้น เรื่องราวก็โฟกัสไปที่ชายและหญิงบนภาคพื้นดินที่ได้รับมอบหมายให้สะกดรอยผู้ก่อการร้ายรายนี้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในเคนยา อังกฤษและอเมริกา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงและนักการเมือง พร้อมด้วยนักบินโดรนและทีมงานของเขา คนเหล่านี้รวมกันเป็น ‘ลำดับสั่งการสังหาร’ โครงสร้างการโจมตีที่ประสานงานกันระหว่างฝ่ายชี้เป้าหมายและกองกำลังพิเศษที่ถูกส่งไปกำจัดเป้าหมายนั้น นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังนำเสนอการพูดคุยถกเถียงและการออกคำสั่งให้โจมตีเป้าหมายนั้น รวมถึงผู้ที่ในที่สุดแล้วมีส่วนรับผิดชอบต่อการดำเนินการกำจัดเป้าหมายนั้นด้วยตัวเอง
ฮิบเบิร์ท ตั้งข้อสังเกต “…Kill Chain เป็นชื่อเรื่องที่ผมคิดเอาไว้ตอนแรก ตลอดการทำสงครามหลายร้อยปี นายพลในสนามรบจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะยิงหรือไม่ยิง แต่สำหรับการทำสงครามที่สั่งการโดยคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ ภาพจะถูกส่งไปที่โต๊ะของทุกคนทั่วโลก และคนเหล่านี้ก็ต้องการข้อมูล พวกทหารเรียกสิ่งนี้ว่าลำดับสั่งการสังหาร และนั่นก็นำมาซึ่งคำถามสำคัญที่ว่า ใครกันที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่จะเป็นคนกดปุ่ม เป็นนักการเมือง นายพลในลอนดอน นายพลในอเมริกา หรือผู้บังคับบัญชาในเคนยา คนที่กำลังจะถูกสังหารในเรื่องราวของเรามีทั้งชาวเคนยา ชาวอังกฤษสองคนและชาวอเมริกันอีกหนึ่งคน ใครกันล่ะที่เป็นคนตัดสินใจ…”
การตัดสินใจที่จะทำลายเป้าหมายถูกทำให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วยปัญหาของความเสียหายข้างเคียง ซึ่งจะต้องถูกวิเคราะห์จากระยะไกลอีกเช่นเคย
“…บทหนังของกายสร้างสถานการณ์สมมติที่ซับซ้อนมากๆ บทหนังเรื่องนี้ให้ข้อมูลหลายอย่างตรงที่มันได้ปูพื้นสถานการณ์แวดล้อม ลำดับการสั่งการและลักษณะการใช้โดรนในสงครามสมัยใหม่ เราได้เห็นว่าอารมณ์ของมนุษย์ได้ถูกทดสอบอย่างน่าตื่นตะลึงยังไงบ้างในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แล้วเมื่อผู้ชมตระหนักถึงกระบวนการนี้ เราก็สามารถเริ่มต้นถกเถียงกันถึงข้อดีของการใช้เทคโนโลยีนี้กันได้แล้วครับ คำถามที่ยังคงอยู่ก็คือ จะใช้อาวุธสงครามนี้เมื่อไหร่ และผลลัพธ์ที่ตามมาของการใช้อาวุธนั้นคืออะไร อาวุธนี้อาจจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเป้าหมายก็จริง แต่ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดของการใช้อาวุธที่ว่าล่ะ…” ผู้กำกับแกวิน ฮู้ด กล่าว
“…ผมคิดว่าสิ่งที่บทหนังของกายทำได้อย่างยอดเยี่ยมคือการเชื้อเชิญให้เกิดการพูดคุยกันจริงๆ” เขากล่าวเสริม “มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ปัญหาหนักอกที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ต้องเผชิญเป็นเรื่องจริงและไม่ได้แก้ได้ง่ายๆ คำตอบที่พวกเขามีให้กับปัญหาเหล่านี้มีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่งและผมก็หวังว่าผู้ชมจะสามารถพบสิ่งที่พวกเขาเข้าถึงได้ในหนังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ของนักบินโดรนหรือการตอบสนองของผู้บังคับบัญชาในเคนยา ในอังกฤษหรือในอเมริกาครับ…” ผู้กำกับแกวิน ฮู้ด กล่าว
“…การโจมตีของโดรน ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตพลเมือง และก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านชาติตะวันตกมากถึงขนาดที่ว่าไม่ว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จในการกำจัดเป้าหมายระดับสูงยังไงก็ตาม มันกลับก่อให้เกิดความเกลียดชังโลกตะวันตกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นคำถามเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อครับ ในสงคราม การโฆษณาชวนเชื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆ เรากำลังสร้างโฆษณาชวนเชื่อในเชิงลบต่อโลกตะวันตกด้วยการใช้โดรนรึเปล่า? ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้ตั้งคำถามว่าตอนที่เราใช้การทำสงครามรูปแบบนี้ เรากำลังชนะจริงๆ รึเปล่า เมื่อไหร่ที่เราควรจะใช้เทคโนโลยีนี้ อะไรคือผลลัพธ์ของการใช้เทคโนโลยีนี้ มาดูหนังเรื่องนี้แล้วตัดสินใจด้วยตัวเองสิครับ…” ฮู้ดกล่าว.
สำหรับทีมผู้สร้าง สิ่งสำคัญคือการที่เรื่องราวนี้จะตั้งคำถามยากๆ เหล่านี้พร้อมกับการขอให้ผู้ชมตัดสินใจคำตอบด้วยตัวเอง
“…สิ่งที่คุณไม่อยากทำในฐานะผู้กำกับคือการเทศนาสั่งสอนผู้ชมของคุณครับ คุณอยากจะสร้างความรู้สึกของการเดินหน้า ความตึงเครียด ทริลเลอร์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตั้งคำถามเชิงปรัชญายากๆ ในใจผู้ชมด้วย ในการนั้น คุณจะต้องผลักดันให้เรื่องราวเดินไปข้างหน้าอยู่ตลอดเพื่อรักษาระดับความตึงเครียด แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็ต้องหาช่วงเวลาให้เรื่องราวได้หายใจ เพื่อให้ผู้ชมตามทัน คุณต้องให้เวลาผู้ชมในการประมวลผลข้อโต้แย้งต่างๆ ด้วยครับ แล้วในตอนที่ผู้ชมคิดว่าพวกเขาเลือกข้างใดข้างหนึ่งแล้ว คุณก็ใส่เอาข้อโต้แย้งอีกข้อหนึ่งที่พลิกสถานการณ์แบบตารปัตรและทำให้ผู้ชมถามตัวเองว่า ‘เดี๋ยวนะ นี่ฉันคิดอย่างที่ฉันคิดเอาไว้เมื่อนาทีก่อนรึเปล่า บางทีอาจจะไม่’ แล้วตอนที่พวกเขาเห็นด้วยกับคนอื่น ก็จะเกิดอีกมุมมองหนึ่งขึ้นครับ…” ฮู้ดบอก
« Last Edit: August 14, 2016, 06:11:25 PM by happy »
Logged