สุดยอดผู้นำกลุ่ม Edtech ร่วมจุดประกายความคิดและวางกลยุทธ์เพื่อธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษาของเอเชียในงาน Edtech Asia Summit 2016
ผู้บริหารและตัวแทนกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา (Edtech) ของประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าร่วมงานประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา “Edtech Asia Summit 2016” ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ดร.ทรูแมน ฟาม (Truman Pham) ผู้บริหารและผู้แทนของกลุ่ม Topica Edtech ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้อภิปรายในหัวข้อ “Cultivation of Education Entrepreneur Leadership in Asia” ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีสู่การรเป็นนักธุรกิจชั้นนำของเอเชีย สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คนจาก 20 ประเทศทั่วเอเชียและทั่วโลก “Edtech Asia Summit 2016” เป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของวงการธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมืออาชีพด้านเทคโนโลยี นักลงทุน และผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมาสร้างแรงบันดาลใจในแง่มุมต่างๆ มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆ และนวัตกรรมดิจิตอลที่เกิดขึ้นในเอเชีย ตลอดจนร่วมกันเสนอแนวคิดหาวิธีเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จด้วยกลยุทธ์ต่างๆ หัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้คือ “การเติบโตของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการศึกษาในเอเชียด้วยกลยุทธ์ Ecosystem” ได้สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายของ Edtech Asia Summit 2016 ในการเป็นเวทีเชื่อมโยงผู้นำทางธุรกิจและเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือ Start Up เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมต่อธุรกิจและสังคมระดับเอเชีย Edtech Asia Summit 2016 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คนจาก 20 ประเทศทั่วเอเชียและทั่วโลก เป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของผู้สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และองค์กรชั้นนำต่างๆ ซึ่งกำลังมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมและเทรนด์ใหม่ๆ ในเอเชีย รวมทั้งการร่วมกันนำกลยุทธ์ Ecosystem ที่ Apple โดย Steve Jobs นำมาใช้และประสบความสำเร็จอย่างสุดยอดกับการใช้ระบบนิเวศน์ของบริษัท ที่ประกอบด้วย สินค้า บริการ เนื้อหา ต่างๆ ที่ครบถ้วน และมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โดยที่ลูกค้าหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องออกไปภายนอกระบบนิเวศน์ของบริษัทก็สามารถได้รับคุณค่าทุกอย่างตามที่ต้องการ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคตกเข้าไปในวังวนของผลิตภัณฑ์ Apple แล้วก็มักจะไม่สามารถหลุดออกมาได้และมีแต่ถลำลึกไปในระบบ Ecosystem ของ Apple มากขึ้น การประชุมในปีนี้ยังได้มีการจัดบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจต่างๆ โดยมีวิทยากรและผู้บริหารธุรกิจทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จกว่า 60 คนจากทั่วโลกมาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บรรดาสตาร์ทอัพหน้าใหม่เกี่ยวกับแนวทางในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึกและบอกเล่าประสบการณ์ของมืออาชีพให้ผู้เข้าร่วมงานฟังมีผู้บรรยายระดับแถวหน้า อาทิ Mr. Sandeep Aneja ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหาร ไคเซ็น ไพรเวท อีควีตี (Kaizen Private Equity) อีกท่านคือ Ms. Allison Baum ผู้จัดการหุ้นส่วน เฟรสโก แคปปิตัล (Fresco Capital) และ Ms. Rachel Brujis ผู้จัดการฝ่ายลงทุน ของ เพียร์สัน (Pearson) รวมทั้ง ดร.ทรูแมน ฟาม (Truman Pham) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของกลุ่ม Topica Edtech ได้อภิปรายในหัวข้อ “Cultivation of Education Entrepreneur Leadership in Asia การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีสู่การเป็นนักธุรกิจชั้นนำของเอเชีย” ใจความสำคัญของการอภิปรายกล่าวถึงสถานการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอกาสของการทำธุรกิจในวงการนี้ ดร.ทรูแมน ฟาม กล่าวว่า “ธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นมีการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่เป็นการศึกษาแบบเปิดเกิดขึ้น จากนั้นก็ซบเซาลงพักหนึ่ง แต่ไม่นานมานี้กลับมีการลงทุนในธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เช่นกัน จากการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ในประเทศเวียดนามเพียงประเทศเดียวแสดงให้เห็นว่ามีธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา100ราย เหมือนตอนเกิดธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเมื่อ 7-8 ปีก่อน” มีคำถามว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาเติบโตมากขนาดนั้น ดร.ทรูแมน ฟาม ให้ความเห็นว่าการขยายตัวของธุรกิจสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะที่ซิลิคอนแวลลีย์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของโลกก่อให้เกิดสภาวะการณ์ดังกล่าวขึ้นในสหรัฐฯนักลงทุนได้ให้การสนับสนุนธุรกิจด้านนี้อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันพวกเขาก็คอยสังเกตการณ์ตลาดใหม่ๆ ด้วย ดร.ทรูแมน ฟาม ตั้งข้อสังเกตว่านักลงทุนยังมีความกังวลอยู่บ้างในแง่ที่ว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษายังไม่ได้เฟื่องฟูไปทั่วทุกมุมโลกแต่ตัวเขากลับมองเห็นโอกาสทองของธุรกิจแขนงนี้เขากล่าวว่า “เมื่อ 7-8 ปีก่อนคุณก็ไม่เห็นสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในอี-คอมเมิร์ซเหมือนกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมสตาร์ทอัพและนักลงทุนหน้าใหม่ควรหันมาจับธุรกิจนี้เพราะว่ามันคือโอกาสที่จะสร้างสิ่งที่ผู้คนกำลังคาดว่าต่อไปจะเป็นธุรกิจล้านล้านดอลล่าร์ในด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา” “บริษัทชั้นนำหมื่นล้านดอลล่าร์อยู่ในแวดวงโฆษณา บริษัทชั้นนำแสนล้านดอลล่าร์เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ก และตอนนี้กำลังเป็นที่คาดการณ์กันว่าบริษัทชั้นนำล้านล้านดอลล่าร์จะอยู่ในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา” ดร.ทรูแมน ฟาม กล่าวว่า “ธุรกิจด้านการศึกษามีขนาดใหญ่กว่าธุรกิจด้านโทรคมนาคมประมาณ 7 เท่า แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษาแบบออฟไลน์อยู่ ธุรกิจนี้จึงมีลู่ทางให้ลงทุนอีกมากมาย ลองนึกดูว่าสมัยก่อนครอบครัวคุณต้องเสียเงินไปเท่าไหร่กับการศึกษา เปรียบเทียบกับเงินที่คุณใช้จ่ายไปในการเรียนเป็นค่าสมาร์ทโฟน ค่าสมาชิก รวมทั้งค่าแอพพลิเคชั่นต่างๆ เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นธุรกิจแขนงใหญ่ที่สามารถลงทุนได้สารพัดอย่าง ไม่ว่าคุณจะมองไปทางไหน ก็ล้วนมีแต่โอกาสทั้งนั้น” ประเด็นก็คือ โอกาสมีอยู่มากมายก็จริงแต่ก็มีปัญหาด้วย ดร.ทรูแมน ฟาม กล่าวว่า “ปัญหาหนึ่งที่สตาร์ทอัพทั่วโลกมักจะเจอเหมือนๆ กัน นั่นก็คือปัญหาการไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา แม้แต่สตาร์ทอัพในสหรัฐฯ ก็เจอปัญหานี้เช่นกัน วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือควรเน้นการเรียนในกลุ่มผู้ใหญ่เพราะเป็นกลุ่มที่มีกฎเกณฑ์น้อยที่สุดและคนกลุ่มนี้สามารถตัดสินใจเรื่องการเรียนได้เองแต่ถ้ามุ่งไปที่กลุ่มนักเรียนประถมหรือมัธยมก็จะเจอปัญหาเพราะคนที่จะตัดสินใจเรื่องการเรียนของเด็กกลุ่มนี้มักไม่ใช่พ่อแม่ แต่กลับเป็นครูใหญ่หรือบางทีก็เป็นผู้บริหารเขตการศึกษาเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น ในการทำธุรกิจควรมุ่งเจาะตลาดกลุ่มผู้ใหญ่จะดีกว่า” นอกจากนี้ ดร.ทรูแมน ฟาม ยังให้ความเห็นว่าอุปสรรคอีกอย่างของการพัฒนาธุรกิจทางการศึกษา คือ ความเชื่อที่ว่าคนที่ประกอบอาชีพเป็นครูหรืออาจารย์ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นชั้นอนุบาล – มหาวิทยาลัยมักมีรายได้น้อยจึงทำให้คนรุ่นใหม่สนใจที่จะประกอบอาชีพอื่นที่จะสร้างรายได้ให้มากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งด้านจำนวนและคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม Pham คิดว่าอาชีพครูหรืออาจารย์ในเวียดนามและไทยมีแนวโน้มจะมีรายได้เพิ่มขึ้นภายใน 5 ปีจากนี้ โดยยกตัวอย่างอาจารย์ 3 ท่านที่ทำคอร์สเรียนแบบออนไลน์เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะและความชำนาญทั่วไปให้แก่บริษัทในเครือของ Topica อย่าง Topica Edumall ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองถึง 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดังเช่นอาจารย์ 3 ท่านนี้ พวกเขาสามารถสร้างรายได้จำนวนมากเพราะตั้งใจทำงานออกมาให้ดี ทั้งเตรียมหลักสูตร บทพูด และถ่ายวิดีโอเพื่อปรับแต่งการพูดและการนำเสนอ รวมทั้งฟังผลตอบรับทั้งจากออนไลน์และออฟไลน์ เป้าหมายของพวกเขาคือต้องการให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจอย่างแท้จริงในหลักสูตรที่เขาสอน โดยทั้ง Topica และเว็บไซต์ Youtube กำลังร่วมมือกันสร้างworkshopสำหรับอาจารย์และผู้สอนเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อพัฒนาและฝึกฝนในการถ่ายทอดหลักสูตรโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จสูงสุด จากการที่ได้รับเกียรติให้เป็นผู้อภิปรายในวงการ Start Up c]tเทคโนโลยีทางการศึกษามาหลายเวทีทั่วโลก ผู้บริหารของกลุ่ม Topica Edtech กล่าวทิ้งท้ายว่าตอนนี้ทั่วโลกกำลังชื่นชมการพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น ดังนั้น ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดของผู้ประกอบการหน้าใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะสร้างธุรกิจของตนเองและยืนหยัดอย่างมั่นคงแข็งแกร่ง Mike Michalec ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารเอ็ดเท็ค เอเชีย (EdTech Asia) ซึ่งเป็นผู้จัดงาน ได้กล่าวว่า “Topica ได้เป็นผู้นำทางด้านการศึกษาออนไลน์มานานในหลายประเทศ ซึ่งได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทยและอินโดนีเซีย ด้วยความร่วมมือของ Topica ผมเชื่อว่างาน Edtech Asia Summit ปีนี้ จะเป็นได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ดีที่สุดประจำปี 2016 นี้ เพราะการประชุมนี้ช่วยเชื่อมโยงความคิด, การสร้างเครือข่ายและทำความเข้าใจด้านตลาดและเป้าหมายของธุรกิจ Start Up, นักลงทุนและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการขับเคลื่อน, แนวโน้มและโอกาสของผู้ประกอบการด้าน EdTech ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ Ecosystem Strategy ให้ประสบความสำเร็จในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ในประเด็นด้านวงการเทคโนโลยีการศึกษา###
เกี่ยวกับ Topica Edtech Groupท้อปปิก้า เอ็ดเทค กรุ๊ป (Topica Edtech Group) เป็นผู้นำด้านการศึกษาออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี Mr.Bill Gates ผู้บริหาร Microsoft เป็น Partner ตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งมีบริษัทในเครือ อาทิ
ท้อปปิก้า ยูนิ (Topica Uni) ได้รับความร่วมมือจาก 11 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศฟิลิปปินส์และเวียดนามในการสร้างหลักสูตรออนไลน์ที่มีคุณภาพกับนักศึกษาทั่วอาเซียน
ท้อปปิก้า เนทีฟ (Topica Native) คอร์สเรียนการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารออนไลน์ในประเทศไทย อินโดนีเซียและ เวียดนาม ซึ่งเป็นรายแรกของโลกที่ให้ผู้เรียนสามารถใช้แอปพลิเคชั่นของ Google Glass สำหรับการฝึกพูดภาษาอังกฤษได้อย่างไม่มีข้อจำกัดถึง 16 ชั่วโมงต่อวันอย่างไม่จำกัดเพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ท้อปปิก้า ฟาวน์เดอร์ อินสทิจูด (Topica Founder Institute) เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ที่เรียนจบไปแล้วสามารถสร้างกำไรได้มากถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 3 ปี