happy on July 11, 2016, 06:56:01 PM


ผลการสำรวจจากไอเอฟเอสระบุ 40% ขององค์กรต่างๆไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล ขณะที่ 86%
คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีบทบาทสำคัญต่ออนาคตองค์กร


ผลการสำรวจของไอเอฟเอสเปิดเผยถึง มุมมองของผู้บริหารที่มีบทบาทในการตัดสินใจจาก 20 กว่าประเทศทั่วโลกถึงความจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล (ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน) เทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลง และผู้ที่มีบทบาทด้านดิจิทัลในองค์กร

ไอเอฟเอส บริษัทผู้พัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับองค์กรชั้นนำระดับโลก เผยผลการสำรวจจากผู้บริหารที่มีบทบาทในการตัดสินใจภายในองค์กรมากกว่า 500 คน จากสายงานต่างๆ ทั้งด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การค้าปลีก น้ำมันและก๊าซ ยานยนต์ พลังงานและสาธารณูปโภค และสายงานอื่นๆ โดย 86% ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมของตน ขณะที่ 40% ยังไม่ได้วางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้

หน้าที่รับผิดชอบภายในองค์กรที่ไม่ชัดเจนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล

เมื่อถามถึงบุคลากรภายในองค์กรที่มีความรับผิดชอบในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล ผู้ตอบแบบสำรวจชี้ว่าประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) (นับเป็น 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) ประธานบริหาร (CEO) (นับเป็น 39%) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) (นับเป็น 35%) มีความรับผิดชอบต่อการผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้ ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่าประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) (นับเป็น 20%) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (CMO) (นับเป็น 6%) ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในด้านนี้

ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ตอบว่าตนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลขององค์กร โดย 53% ของประธานบริหาร (CEO) คิดว่าตนมีหน้าที่รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงนี้ ขณะที่ 69% ของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) และ 63% ของประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) คิดว่าตนมีส่วนรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลมีความสำคัญมากแต่ยังไม่มีการวางแผนรับมือที่ชัดเจน

86% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลจะมีความสำคัญต่อตลาดในอีก 5 ปี ขณะที่ 76% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยหลายองค์กรยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการวางกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง นับเป็น 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ยอมรับว่ายังไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน

ผลสำรวจในภูมิภาคอาเซียน
เทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล


ผู้ตอบแบบสำรวจในภูมิภาคอาเซียนให้คะแนนเรียงลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลในอุตสาหกรรมที่ตนเกี่ยวข้อง ดังนี้
 
(คะแนน: 1-100 1 = ไม่มีความสำคัญ และ 100 = มีความสำคัญมาก)

·   การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ (Internet of things): 67

·   การประมวลผลด้วยระบบ cloud (Cloud computing): 58

·   เทคโนโลยีค็อกนิทิฟ คอมพิวติ้ง (Cognitive computing): 59

·   แมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine learning): 60

·   เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ (Wearable technology): 52

·   เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D printing): 40

·   เทคโนโลยียานบินไร้พลขับ (Drone technology): 36


ความแตกต่างของผลสำรวจในแต่ละภูมิภาค

ผลสำรวจเผยตัวเลขความแตกต่างในแต่ละภูมิภาคในด้านหน้าที่รับผิดชอบภายในองค์กร

·         ผู้ตอบแบบสำรวจชาวโปแลนด์เชื่อว่าประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) (นับเป็น 57%) เป็นผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล ขณะที่อีก 41% คิดว่าเป็นหน้าที่ของประธานบริหาร (CEO)

·         ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล ถึง 42% มีเพียง 30% ที่คิดว่าเป็นหน้าที่ของประธานบริหาร (CEO) ซึ่งนับเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยที่สุดจากผลสำรวจในทุกภูมิภาค

·         57% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวบราซิลเห็นว่าประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งนับเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากที่สุดจากผลสำรวจในทุกภูมิภาค

·         ผู้ตอบแบบสำรวจชาวสแกนดิเนเวียเชื่อว่าประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล มากถึง 45% ตามมาด้วยประธานบริหาร (CEO) ด้วยคะแนน 38%

·         ผู้ตอบแบบสำรวจชาวเอเชียมีความไม่แน่ใจมากที่สุด โดย 29% ไม่ทราบว่าตำแหน่งใดในองค์กรที่จะมีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลครั้งนี้
 
มาร์ค โบลตัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัทไอเอฟเอส กล่าวว่า “ผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าผู้นำในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เล็งเห็นถึงศักยภาพของการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัลที่จะสร้างความแตกต่างให้องค์กร แต่ในหลายๆ กรณี ผู้นำยังไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานในองค์กร นอกจากนี้ยังไม่แน่ใจว่าตำแหน่งใดในองค์กรจะมีบทบาทในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล โดยองค์กรจะต้องอธิบายเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”


เกี่ยวกับผลสำรวจ:
ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 500 คนจาก 20 กว่าประเทศทั่วโลกร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงดิจิทัล ผู้ที่ตอบแบบสำรวจยังรวมถึงผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจภายในองค์กร อาทิ ประธานบริหาร (CEO) ประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (CMO) และตำแหน่งอื่นๆ จากอุตสาหกรรมต่างๆที่ทำงานร่วมกับไอเอฟเอส ทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การค้าปลีกและการค้าส่ง

เกี่ยวกับไอเอฟเอส
ไอเอฟเอส เป็นบริษัทผู้นำที่ได้รับการยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีในการผลิตและพัฒนาซอฟแวร์สำหรับธุรกิจชั้นนำระดับโลกด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ไอเอฟเอสได้ทำให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้รวมถึงสามารถช่วยให้ลูกค้าเกิดความคล่องตัวทางธุรกิจและเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ไอเอฟเอสเป็นบริษัทมหาชน (XSTO: IFS)  โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1983 และมีพนักงานมากกว่า 2,800 คนทั่วโลกโดยมีผู้ใช้งานซอฟแวร์ไอเอฟเอสมากกว่า 1 ล้านผู้ใช้งานทั่วโลกผ่านเครือข่ายท้องถิ่นและพันธมิตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเอฟเอสได้ที่ www.ifsworld.com

ติดตามไอเอฟเอสทางทวิตเตอร์ได้ที่ @ifsworld

เยี่ยมชม IFS Blogs เกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ได้ที่ http://blogs.ifsworld.com/



คลิกที่รูป
« Last Edit: July 11, 2016, 07:03:14 PM by happy »