MSN on July 10, 2016, 02:01:27 PM
ก.วิทย์ โดยสวทช. จับมือ สกว. และสถานทูตอังกฤษเปิดเวทีให้นักวิจัยก้าวสู่โลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและสร้างเครือข่ายกับนักลงทุนในภูมิภาค



7 กรกฎาคม 2559 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ :-กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  และสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัดงาน Newton UK-South East Asia Innovation Leadership Conference  เป็นงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติของผู้ได้รับทุนจากโครงการ Leaders in Innovation Fellowships Programme (LIF) เพื่อเปิดเวทีให้นักวิจัยไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามได้ก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม   การต่อรองเจรจาธุรกิจ การต่อยอดผลงานวิจัยกับนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องจากสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย และเป็นการขยายเครือข่ายวิจัยในระดับภูมิภาคอาเซียน

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การที่ประเทศไทยจะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิด “ประเทศไทย 4.0” ด้วยการยกระดับและต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีความได้เปรียบ ให้ใช้ความรู้ เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ไปสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) มีเป้าหมายหลัก คือ การหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับรายได้ต่อหัว (GNP per capita) จาก 5,438 เหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน เป็น 12,616 เหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2.32 เท่า ซึ่งหากประเทศไทยยังคงพึ่งพิงการผลิตในอุตสาหกรรมดั้งเดิมต่อไป เราจะไม่สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปได้ ดังนั้น การพัฒนาประเทศตามแนวคิด “ประเทศไทย 4.0” จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าการส่งออกของ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ให้เติบโตมากกว่าการเติบโตจากอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่เริ่มชะลอตัวลง กล่าวคือ “ทำน้อยได้มาก” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นความสำคัญและรับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาทั้งส่วนของนักวิจัยและผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก โดยได้มีนโยบายด้านการยกเว้นภาษี 300% ของค่าใช้จ่ายวิจัยพัฒนา สำหรับผู้ประกอบการการยกเว้นภาษีสำหรับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ที่ทำงานในอุตสาหกรรมS -Curve ใหม่ การยกเว้นภาษีให้กับสตาร์อัพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคเอกชน หรือTalent Mobility เพื่อแก้ปัญหาการกระจุกตัวขององค์ความรู้ที่อยู่กับบุคลากรในภาครัฐ ให้สามารถถ่ายทอดไปสู่ภาคเอกชนได้โดยจูงใจให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐสามารถไปปฏิบัติราชการในภาคเอกชน  ซึ่งโครงการ LIF นี้ เป็นโครงการที่ดีที่นักวิจัยมีโอกาสจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งได้นำเสนอผลงานวิจัย  อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและสร้างศํกยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เครือข่ายวิจัยอาเซียน อันจะทำให้ประเทศมีความยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต
 

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้มีประวัติความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมกันมาเป็นเวลานานแล้ว และนับตั้งแต่ มกราคม 2015 ที่ผ่านมา นับได้ว่าได้มีการยกระดับความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาตร์ให้กระชับแน่นแฟ้นขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  โดยผ่านกรอบความร่วมมือภายใต้โครงการ “Newton UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund” ทั้งนี้ สวทช.ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ The Royal Academy of Engineering (RAEng) สนับสนุนโครงการ Leaders in Innovation Fellowships (LIF) Programme เพื่อสนับสนุนการสร้างศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักวิจัยของประเทศไทยและสนับสนุนให้ผลงานวิจัยเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและผู้ประกอบการในระดับนานาชาติ ซึ่งโครงการสนับสนุนนี้จะมีทั้งหมด 15 ทุน โดย สวทช. รับผิดชอบจำนวน 8 ทุน ซึ่ง สวทช. จะให้ทุนกับนักวิจัยและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่สนใจ ส่วนอีก 7 ทุน สกว. รับผิดชอบให้ทุนกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ โครงการ LIF ได้ดำเนินการเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2015 - 2016 โดยได้มอบทุนวิจัยให้กับนักวิจัยไทยเป็นจำนวน 30 คน ในขณะเดียวกัน RAEng ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยในกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียนอีก  2 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อให้การสนับสนุนนักวิจัยของแต่ละประเทศเช่นเดียวกับประเทศไทยด้วย จากการดำเนินโครงการแล้วเป็นเวลา 2 ปี พบว่าโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นักวิจัยที่ได้รับทุนได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง สามารถนำผลงานวิจัยของตนมาจัดทำแผนธุรกิจเพื่อผลักดันให้ผลงานเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้มีประวัติความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมร่วมกันมาเป็นเวลานาน และนับตั้งแต่ มกราคม ปี 2559 ที่ผ่านมา นับได้ว่าได้มีการยกระดับความสัมพันธ์ทางดังกล่าวให้กระชับแน่นแฟ้นขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  โดยผ่านกรอบความร่วมมือภายใต้โครงการ “Newton UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund" สวทช.ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ The Royal Academy of Engineering (RAEng) ได้ดำเนินโครงการ Leaders in Innovation Fellowships (LIF) Programme เพื่อสนับสนุนการสร้างศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักวิจัยของประเทศไทยและสนับสนุนการถ่ายทอดผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและผู้ประกอบการระดับนานาชาติ โครงการให้การสนับสนุนทุนแก่นักวิจัย / อาจารย์ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีรวม 15 ทุนต่อปี โดย สวทช. รับผิดชอบสนับสนุนจำนวน 8 ทุน และ สกว. สนับสนุน 7ทุน โครงการ LIF ได้ดำเนินการเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2559จากการดำเนินโครงการแล้วเป็นเวลา 2 ปี พบว่าโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นักวิจัยสามารถนำผลงานวิจัยของตนมาจัดทำแผนธุรกิจและผลักดันให้ผลงานเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้สำเร็จและได้รับรางวัลนวัตกรรมจากประกวดในเวทีต่างประเทศจำนวนมาก


ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัย นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใ และสหราชอาณาจักร ให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานทางนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการและสร้างโอกาสทางการลงทุนให้เกิดนวัตกรรมจากงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนกิจกรรมในงานประกอบด้วย กิจกรรมอื่น ได้แก่ Challenges Planning Session, Investor Matchmaking ซึ่งที่ผ่านมาสกว. ได้ร่วมมือกับ Royal Academy of Engineering ในการร่วมสนับสนุนโครงการ Leaders in Innovation Fellowships programme (LIF) ภายใต้โครงการ Newton UK–Thailand Research and Innovation Partnership Fund ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักมุ่งส่งเสริมศักยภาพของและความสามารถของนักวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการอบรมทักษะทางธุรกิจพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศจากผู้สร้างนวัตกรรมและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ซึ่งโครงการนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม

โครงการ LIF เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายหลักการการนำไปใช้ของ Newton Fund ซึ่งในประเทศไทยมีหน่วยงานความร่วมมือ คือ สกว. และ สวทช. โดยฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. ได้คัดเลือกนักวิจัยเข้าร่วมโครงการมาแล้ว 2 รุ่น รุ่นละ 7 คน ในช่วงเวลา 2 ปี โดยนักวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกล้วนเป็นผู้มีนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างดีเยี่ยม และในอนาคตต่อไป สกว.คาดหวังที่จะสนับสนุนโครงการ LIF เพื่อสร้างเครือข่ายในภูมิภาคภายใต้ Newton Fund ในอนาคต สวทช. สกว. และ RAEng สำหรับในปี 2559 – 2560 ประมาณช่วงปลายปีนี้จะเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยที่มีความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ LIF รุ่นที่ 3 โดยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทผู้ประกอบการ  และเป็นเจ้าของผลงานที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยผู้สมัครจะต้องเป็นงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวกับด้านอาหาร (Food) เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technologies)  ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) การออกแบบทางวิศวกรรม (Design Engineering) วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and electronic Engineering) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) วิศวกรรมเครื่องยนต์ (Mechanical Engineering) และวิศวกรรมทางการแพทย์ (Medical Engineering) และต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับดี