MSN on May 18, 2016, 08:29:00 AM
KTAMมั่นใจเศรษฐกิจญี่ปุ่นแนวโน้มดี เปิดขายKT-Japan18-27พฤษภาคมนี้

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน ) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดเคแทม เจแปน อิควิตี้ ฟันด์ ( KT-Japan ) เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 18-27 พฤษภาคม 2559  เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท  เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Henderson Horizon Fund –Japanese Smaller Companies Fund โดยกองทุนรวมหลักได้รับการจัดอันดับจาก  Morningstar ระดับ5 ดาว    และ ได้รับรางวัลประเภท  Best Fund award in  the Equity Japan  Small and Mid  Caps   จาก Thomson Reuters Lipper Fund  Awards  ปี 2016 จากประเทศไต้หวัน
 
 โดยกองทุนรวมหลักที่กองทุน KT-Japan ลงทุน มีวัตถุประสงค์ในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตของเงินทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งหุ้นขนาดเล็กในญี่ปุ่น มีมูลค่าตลาด ในช่วง 10,000-100,000  ล้านเยน  หรือประมาณ 3,250 -32,500 ล้านบาท  โดยจุดเด่นของการลงทุนในหุ้น Small Cap คือ  ผลตอบแทนย้อนหลังดีกว่าเมื่อเทียบกับตลาด และเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมทั้งอัตราผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง (Sharpe Ratio) ย้อนหลังของหุ้นขนาดเล็กก็ดีกว่าเช่นกัน  หากเปรียบเทียบผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้นขนาดเล็กเมื่อเทียบกับหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าดัชนี Nikkei 225 ติดลบ 4.16% ดัชนี Topix ติดลบ4.43% ในขณะที่ดัชนี TSEMother Index ซึ่งเป็นดัชนีของหุ้นขนาดเล็กเพิ่มขึ้น 3.95%
 
สำหรับปัจจัยที่ทำให้หุ้นขนาดเล็กมีผลตอบแทนดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่และหุ้นขนาดกลาง  ได้แก่ หุ้นขนาดเล็กส่วนใหญ่มีฐานรายได้จากเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่     และหุ้นขนาดเล็กมีสัดส่วนการถือครองหุ้นที่เป็นต่างชาติน้อยกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ จึงทำให้ความผันผวนของหุ้นขนาดเล็กน้อยกว่าเช่นกัน   ซึ่งหุ้นขนาดเล็กมีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นในประเทศประมาณ 70% ต่างชาติ 20-30% ในขณะที่หุ้นขนาดกลางและใหญ่มีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นในประเทศประมาณ 20-30% ต่างชาติ 70%   

ส่วนเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  ถึงแม้ว่าได้ประกาศนโยบายดอกเบี้ยติดลบในการประชุมในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่า จะมีการลดดอกเบี้ยและขยายวงเงินในการเข้าซื้อหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้น  ประกอบกับนโยบายการลดภาษีธุรกิจลงเหลือ 29% จาก 32% ในปีนี้   ด้านการจ้างงานยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.2%  ราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นการบริโภคในประเทศต่อไป   ค่าเงินเยนที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น  และบริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นเริ่มมีธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย โดยบริษัทเริ่มมีการจ่ายเงินปันผลรวมถึงการซื้อหุ้นคืนเพิ่มขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดค่อนข้างผันผวนเนื่องจากผิดคาดกับผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ผ่านมา  ที่ไม่มีการประกาศมาตรการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้ ซึ่งทำให้ตลาดมีการปรับตัวลดลงไป 7% จากที่ปรับตัวขึ้นมา 9% แต่ Valuation ของตลาดในปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยปัจจุบัน P/E อยู่ที่ระดับ 15.4 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่ 17.5 เท่า ในขณะที่ Earnings Growth ยังอยู่ในระดับ 15-17% ดังนั้น   จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดี สำหรับการลงทุนในกองทุน KT-Japan  เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน และสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดี