Facebook on April 25, 2016, 11:03:55 PM
นานมีบุ๊คส์จัดสัมมนา เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้าง Active Citizen ชู 8 กลุ่มเครื่องมือตามสาระฯ ช่วยครูยกระดับการเรียนรู้ในโรงเรียน







          สถาบันนานมีบุ๊คส์ อินโนเวชั่น จัดงานสัมมนา "Learning Innovation Network for Active Citizen: เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้าง Active Citizen" เพื่อเผยแพร่แนวคิดและนำเสนอเครื่องมือที่จะช่วยให้โรงเรียนสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อยกระดับการเรียนรู้ในโรงเรียน ด้วย 8 กลุ่มเครื่องมือตามสาระการเรียนรู้ สู่การสร้างทักษะที่จำเป็นในชีวิต โดยมี คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการสถาบันนานมีบุ๊คส์ อินโนเวชั่น เป็นผู้เผยแพร่แนวคิดหลัก พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูได้เลือกชมและทดลองใช้เครื่องมือตามกลุ่มสาระที่สนใจเพราะเจาะลึกอีกด้วย

          คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการสถาบันนานมีบุ๊คส์ อินโนเวชั่น กล่าวว่า "เราตั้งใจจัดงานนี้เพี่อสร้างเครือข่ายโรงเรียนที่มีอุดมการณ์ในการพลิกการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อเป้าหมายในการสร้างพลเมืองที่ดีของสังคม เพราะผลสำเร็จของการศึกษาไม่ใช่แค่การสอบผ่าน ฉะนั้นนานมีบุ๊คส์เชื่อว่า เด็กแต่คนแตกต่างกัน เราจำเป็นต้องมีวิธีจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อตอบรับความหลากหลายของผู้เรียน ในการทำสิ่งนี้ให้สำเร็จคือ ครูต้องมีเครื่องมือการสอนที่หลากหลายเช่นกัน นั้นคือสาเหตุที่นานมีบุ๊คส์ไปเสาะหานวัตกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลายจากหลายประเทศทั่วโลก การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นบอกให้คุณครูรู้ว่า เรามีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะช่วยครูจัดการเรียนรู้ได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ เราอยากจะอาสาตัวเองว่า นานมีบุ๊คส์เป็นบริษัทที่ทำด้านการศึกษา เพราะฉะนั้นหากโรงเรียนไหนที่ถูกใจของคอนเซ็ปต์ไหนของเรา เราก็ยินดีที่จะทำงานร่วมกัน"

          "อีกทั้งในโลกปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูล คนเราได้รับข่าวสารมากมายจากหลากหลายช่องทาง จากสถิติระบุไว้ว่า 34 กิกะไบต์ต่อวัน ซึ่งการรับข้อมูลพวกนี้ของนักเรียนคงไม่สามารถรับได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราจึงตั้งคำถามว่าเราจะทำอย่างไรให้การเรียนรู้มีความหมาย เราคิดว่านั่นคือ 1.ต้องเป็นหัวข้อที่นักเรียนสนใจ 2. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรี่องใกล้ตัว 3.มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ4. การเรียนรู้แบบ Hands-on คือการใช้มือของตัวเองลงมือทำ สิ่งเหล่านี้จะให้เกิดการเรียนรู้แบบโซเครติก (Socratic Method) หรือการเรียนรู้แบบตั้งคำถาม เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์ที่เรานำเสนอทั้ง 8 คอนเซ็ปต์นี้ ล้วนตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ ที่จะช่วยครูจัดการเรียนรู้ได้"

          นางนิติพร เนติ ผู้อำนวยการ โรงเรียนปิยชาติพัฒนาในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครนายก เปิดเผยว่า "ที่มาเข้าร่วมงานครั้งนี้เพราะเห็นว่ามีหัวข้อที่สอดคล้องกับจุดเน้นของ สพฐ. ทั้งเรื่องลดเวลาเรียนและสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของโรงเรียนที่ โดยเฉพาะเรื่องสะเต็มศึกษา ที่ยังไม่มีตำราเรียน และแผนการเรียนที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้การเรียนการสอนไม่มีทิศทางชัดเจน การมาเข้าร่วมงานนี้จึงทำให้ได้แนวคิด และได้รู้จักสื่อและนวัตกรรม ที่เข้ามาช่วยบูรณาการการสอนของครูได้มีแนวทางนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้โรงเรียนมีความต้องการที่จะพัฒนากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะโรงเรียนของเราเข้าเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล และกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่การเรียนการสอนในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศยังไม่เป็นที่พอใจนัก ทั้งครูและนักเรียน ยังพัฒนาได้ไม่ทั่วถึง บุคลากรไม่มีพื้นฐานเพียงพอ ยังขาดความกล้าที่จะใช้ภาษา ซึ่งสื่อการสอนของนานมีบุ๊คส์มีทั้งหนังสือ แบบเรียน และแบบฝึกหัด อีกทั้งยังเป็นรูปแบบ interactive ที่มาช่วยในการฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียน และช่วยครูในการสอนได้อย่างมาก

          นายประสิทธิ์ สุขชีพ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าศิลา จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ตนเองเชื่อมั่นในสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ของนานมีบุ๊คส์ เพราะทางโรงเรียนก็ได้ใช้สื่อและหนังสือของนานมีบุ๊คส์อยู่แล้ว การมาร่วมงานครั้งนี้เพราะอยากมาฟังแนวคิด ซึ่งมีหัวข้อที่ตรงกับความต้องการพัฒนาของโรงเรียนอยู่แล้ว คือ เรื่องเกษตรกรรม ด้วยพื้นฐานของคนชนบทเองก็มีพื้นฐานของการทำเกษตรอยู่แล้ว แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้พืชผลของตนเองอยู่ หากเรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าการทำการเกษตร ความยากจนก็จะหมดไป ฉะนั้นโรงเรียนจึงอยากพัฒนาการสอนเรื่องเกษตรให้กับนักเรียน แล้วนานมีบุ๊คส์ได้ทำหนังสือชุดเกษตรกรรมลองทำดู ที่มีรูปแบบสวยงาม มีรูปประกอบภาพสี่สี เนื้อหาอ่านง่าย เหมาะกับนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ต่อยอดความรู้จากที่สืบทอดทำต่อกันมาได้มีช่องทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ได้อย่างยั่งยืน

          8 กลุ่มเครื่องมือตามสาระการเรียนรู้แบ่งออกเป็น ระดับปฐมวัย 1 หลักสูตร และระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา เครื่องมือที่จะช่วยครูจัดการเรียนรู้ใน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย
ระดับปฐมวัยด้วยหลักสูตร "ศูนย์เสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย Kiddy Intelligence Center" เครื่องมือที่จะช่วยครูจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบ Brain Based Learning สู่ STEM Education
          ระดับประถม-มัธยมศึกษา ได้แก่ STEM Tool Kit พบแนวคิดที่ช่วยครูเชื่อมโยงวิทย์-คณิตสู่ STEM ได้อย่างเป็นรูปธรรม สู่การสอนนักเรียนเรียน วิทย์-คณิต อย่างเข้าใจและสนุก คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
          ออกแบบการเรียนรู้แบบทั้งในและนอกห้องเรียน
          ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เครื่องมือช่วยครูจัดกิจกรรมกับนักเรียน ช่วยสร้างทีมครูจากหลากหลายวิชาให้มีส่วนร่วม ตอบโจทย์ 4H (Head Heart Hand Health) จัดกิจกรรมหลังบ่ายสอง ด้วยการใช้เนื้อหาจากหนังสือมาสร้างเป็นกิจกรรม
โรงเรียนสร้างคนดี พบแนวคิดที่ช่วยครูจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้พลังของหนังสือในการสร้างคนดี ในสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เตรียมพร้อมให้นักเรียนรับมือกับสถานการณ์วัดใจ
          พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ด้วยเทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนในรูปแบบ Interactive เรียนรู้จากสถานการณ์ในชีวิตจริง พร้อมด้วยหนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ และการจัดมุมหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดที่ช่วยกระตุ้นการเรียนภาษาอังกฤษ และ Know How การจัดค่ายภาษาอังกฤษ
          พัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ ภาษาฝรั่งเศส ด้วยหนังสืออ่านนอกเวลา
          พัฒนาทักษะภาษาจีน ด้วยแบบเรียนและแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา
          เกษตรกรรมลองทำดู พบแนวคิดช่วยครูสอนเกษตรแบบใหม่ hands-on สร้างค่านิยมให้กับนักเรียนได้เกิดตความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม แนวทางการสร้างอาชีพด้วยเกษตรแนวใหม่ สอนโดยใช้พืช สัตว์ เศรษฐกิจ เพื่อต่อยอดสู่ชีวิตจริง

          ทั้ง 8 กลุ่มเครื่องมือมี 2 ทางเลือกคือ สำหรับโรงเรียนที่มีงบประมาณ จะมี learning adviser คอยให้คำแนะนำและออกแบบตามความงบประมาณและความต้องการของโรงเรียน แต่สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่พร้อมด้านงบประมาณ สามารถนำเนื้อหาจากหนังสือมาบูรณาการจัดเป็นกิจกรรมได้ โดยจัดหนังสือเป็นกลุ่มตามคอนเซ็ปต์ที่โรงเรียนต้องการได้
« Last Edit: April 25, 2016, 11:24:03 PM by Facebook »