MSN on March 16, 2016, 09:07:10 PM
กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช. จับมือกระทรวงคมนาคม จัดงานโชว์ผลงานวิจัยระบบขนส่งทางรางที่พัฒนาในไทยและมีมาตรฐาน เตรียมใช้เสริมโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล

16 มีนาคม 2559 แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทาง รางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” (The Second Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE2)  "Railway Standard and Thai Railway Parts Manufacturing") ระหว่างวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2559 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) และ Railway Technical Research Institute (RTRI) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมระบบรางของประเทศไทยที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้จริง และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนระบบราง รวมทั้งนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาชิ้นส่วนระบบรางในต่างประเทศ สำหรับเป็นบทเรียนที่ดีในการนำมาประยุกต์และต่อยอดขยายผลในประเทศไทย อันเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถพึ่งพา ตนเองได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า โครงการลงทุนระบบขนส่งทางราง ควรเป็นการผนึกกำลังร่วมกันหลายกระทรวง รวมทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบรางของประเทศ โดยไม่ควรเป็นเพียงการจัดซื้อรถไฟฟ้ามาใช้โดยไม่ได้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ควรใช้เงินงบประมาณเพื่อการพัฒนาการศึกษา และการวิจัยควบคู่ไปด้วยกัน โดยให้มีการใช้วัสดุที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศได้ด้วยและค่อยเพิ่มขึ้นตาม ลำดับ ซึ่งอาจต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานกลาง ที่ทำหน้าที่ดูดซับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศ และถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งสั่งสมความรู้และเทคโนโลยีจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านการ คมนาคมขนส่งทางราง

ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งระบบรางในประเทศไทย ควรพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เช่น อาศัยกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อให้ชัดเจนใน TOR ของกระทรวงคมนาคม เพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น เงื่อนไขการประกอบตัวรถในประเทศไทย การกำหนดสัดส่วนชิ้นส่วนที่ต้องผลิตในประเทศไทย หรือแม้แต่เงื่อนไขการจัดซื้อจำนวนมาก โดยควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ และแนวทางการกำหนดนโยบายการจัดซื้อของภาครัฐเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมรางผ่าน ระเบียบของกระทรวงการคลัง ดังตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย

ในการนี้ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการจัดประชุมและเสวนาวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและสถาบัน การศึกษา หน่วยงานวิจัย และภาคเอกชน รวมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการนวัตกรรมอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางที่มีมาตรฐานและ ใช้งานได้จริงซึ่งพัฒนาโดยคนไทย เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยได้รับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมรองรับการลงทุนระบบรางที่ประเทศ ไทยควรยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นต่อไป
« Last Edit: March 16, 2016, 09:29:09 PM by MSN »

MSN on March 16, 2016, 09:30:28 PM
นายกรัฐมนตรี เปิดงานประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2



16 มีนาคม 2559 ณ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” (The Second Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE2)  "Railway Standard and Thai Railway Parts Manufacturing") ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2559 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) และ Railway Technical Research Institute (RTRI) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมระบบรางของประเทศไทยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้จริง