happy on March 11, 2016, 07:45:51 PM
ดีแทค เผยผลสำรวจสาเหตุที่คนไทยติดกับดักภัยลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต
พบคนไทยเสียเงินกว่า 3 แสนเพราะหลงเชื่อทำงานผ่านเน็ต



10 มีนาคม 2558: ดีแทค ร่วมกับ เทเลนอร์กรุ๊ป เผยผลสำรวจสุดสะพรึง เกี่ยวกับภัยลวงที่คนไทยพบมากที่สุดบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยพบว่า 3 อันดับภัยลวงที่ทำให้คนไทยติดกับดักมากที่สุด คือ การลวงให้ทำงานผ่านเน็ตได้ง่ายๆที่บ้าน (Work from home) การลวงให้ประมูลสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet auction scam) และการลวงโดยการแฮกเข้าไปล้วงรหัสผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook password hacking) อีกทั้งประเทศไทยยังติดอันดับเป็นประเทศที่เสียเงินไปกับภัยลวงออนไลน์มากที่สุดซึ่งเฉลี่ยเป็นมูลค่าถึง 370,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ ดีแทค พร้อมประกาศจุดยืนเดินหน้าให้ความรู้ แนะคนไทยถึงเวลาต้องเข้าใจเรื่องรู้ทันสื่อดิจิทัล (Digital literacy) อย่างจริงจัง

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงปีที่ผ่านมา ดีแทค และเทเลนอร์กรุ๊ป ได้ร่วมกันทำผลสำรวจภายใต้โครงการ Safe Internet การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำแต่ละครั้งเราจะนำผลสำรวจมาเผยแพร่เพื่อให้เป็นข้อมูลพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยและเอเชีย ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะพบว่าข้อมูลจากผลการสำรวจบ่งชื้สัญญาณอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะภัยลวงต่างๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ล่าสุด เราได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และประเทศไทย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี เกี่ยวกับเรื่องการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลเบื้องต้นพบว่าคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งนับว่ามีจำนวนเวลาที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้วและผลการสำรวจในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะทำให้เราสามารถออกแบบการให้ความรู้และแนวทางป้องกันจากประสบการณ์ตรงจากผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อ ซึ่งดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตชั้นนำของประเทศ เราทุ่มเทที่จะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ใช้งานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเรามุ่งมั่น ผลักดันให้ความรู้เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสของโลกอินเทอร์เน็ตที่จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์”
 
จากผลการสำรวจพบว่า 40% ของคนไทยตกเป็นเหยื่อการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต 56% รู้ว่าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวก็เคยตกเป็นเหยื่อการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตและ 90% ของคนไทยถูกหลอกให้เสียเงินไปกับภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยประเทศไทยติดอันดับเป็นประเทศที่เสียเงินไปกับภัยลวงออนไลน์มากที่สุดในเอเชีย ซึ่งเฉลี่ยเป็นมูลค่าถึง 370,000 บาทต่อคน


3 อันดับภัยลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตที่คนไทยติดกับดักมากที่สุด

อันดับ 1             40% กับภัย ‘Work from home’ ที่ล่อลวงผู้ใช้ด้วยคำว่า ทำงานง่ายๆที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ต ได้เงินดี เงินเร็ว และทำให้ผู้ใช้สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือ สุดท้ายพบว่า ทำงานให้ฟรีแต่ไม่เคยได้รับค่าตอบแทน

อันดับ 2             26% กับภัยที่ถูกหลอกให้ประมูลสินค้าบนออนไลน์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่ได้รับของกลับมา

อันดับ 3             21% กับภัยที่ถูกแฮกเอารหัสผ่านในการเข้าเฟซบุ๊ก โดยจะถูกเอาข้อมูลส่วนตัวไปใช้เพื่อทำธุรกรรมด้านอื่นๆ
 
ทั้งนี้จากการสำรวจ ดีแทค และเทเลนอร์กรุ๊ป จึงขอแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้สถิติการถูกล่อลวงบนอินเทอร์เน็ตลดลง ดังนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกรณีการถูกหลอกลวง หรือชักนำในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำมาเป็นประโยชน์หากเจอในกรณีเดียวกัน ก็จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ และควรลบอีเมลที่ไม่คุ้นเคย หรือที่แปลกๆ ทิ้งไป และพยายามไม่เปิด หรือทำข้อตกลงใดๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ใช่อีเมลไวรัส พร้อมกับควรอัพเดทโปรแกรมสแกนไวรัสเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันในด่านแรก เพราะอาชญากรรมบนออนไลน์ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้โปรแกรมไวรัสในการดึงฐานข้อมูลของผู้ใช้นั่นเอง ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรเพิกเฉย หรือไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับโฆษณาที่ดูเกินไปจากความเป็นจริง เพราะอาจจะทำให้ต้องเสียเงินไปกับความเชื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ และควรส่งต่อข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภัยลวงต่างๆ ให้เพื่อนและครอบครัวได้ทราบ ผ่านการใช้สื่อโซเชี่ยล เพราะจะได้เป็นการกำจัดภัยไม่ให้ขยายต่อไปยังคนอื่นได้อีก




dtac and Telenor Group Study reveal into Thailand’s Top Internet Scams, Guides Users on How to Stay Safe
Study underscores the importance of protecting personal information online


10 March, 2016 –  As internet accessibility in Thailand continues to expand throughout the country and seamlessly across technology devices and daily life, so too do internet scams’ inventive ways in infiltrating consumers’ personal information. In an effort to educate people on the most notorious scams, dtac and Telenor Group, today released the results of an Internet Scams study showing that the top three scams in Thailand are the (1) ‘work from home’ fraud,(2) internet auction scams and (3)Facebook password hacking.
 
The multi-market survey assessed the impact of scams on internet users aged 18 – 65 in Thailand, India, Singapore and Malaysia and was conducted to provide better understanding of the common methods in which people are “scammed” online. The results additionally glean the best internet scam prevention methods from experienced users, in order for Thai netizens to gain more insight and education on the subject.  And while many net consumers are now aware of e-mail frauds, new scams are born every day and it’s important to assess the landscape of today’s online deceptions.
 
Online security is extremely relevant in Thailand where all those survey classified themselves as internet users and, on average, said they spend over 10 hours per day on the web - the most amount of time per day than any other surveyed country.
 
With more than 40% of surveyed Thais saying they have been victim of an internet scam, and a further 56% know a friend or family member who has been scammed online—concerns over internet scams are valid. Further, for those surveyed who indeed have been subject to an online scam in Thailand, 90% have lost money. Even more disappointing is the average financial loss per person in Thailand was 370,000 THB ($10,400 USD) compared to a lesser multi-market average of 353,781 THB ($9900 USD).
 
“This survey provides some powerful insight into the online sphere in Thailand. As a leader in Thailand’s telecommunications sector, dtac is dedicated to enhancing internet safety and hopes the findings from this digital consumer study will encourage all Thais to be proactive in educating themselves to stay safe online, so they can enjoy the internet’s opportunities,” says On-Uma Vattanasuk Rerkpattanapipat, Senior Vice President – Head of Communication and Sustainability of Total Access Communication PCL or dtac.


Thailand’s Most Notorious Online Scams

Of all the internet scams, below are the top three most frequently encountered in Thailand amongst scam victims:

1.   ‘Work from home’ fraud – 40%

2.   Internet Auction scams – 26%

3.   Facebook password hacking – 21%

The ‘Work from home’ is a scam whereby users are either fooled into paying someone online to help them start a business, only for nothing to materialize, or users are tricked into completing work on their computer but never receive payment. The next most common scam is related to internet auctions where an online item is purchased, but once the scammer has received payment, they do not send the purchased item. Finally the Facebook password hack is a form of scamming whereby users are sent an e-mail from a hacker posing as a Facebook representative that asks the user to verify their log-in credentials. This then allows the hacker to log into their account and access personal information. A further notable 14% of surveyed Thais admitted to being victims of online dating scams whereby con artists earn trust of their victims to steal personal information or money.


Preventing Online Scams

While online scams are real, they are equally preventable. Less than half of those surveyed in Thailand feel the responsibility to protect people online is with the website itself or with the government.  Over three quarters of Thais surveyed feel it is the individuals own responsibility to ensure they’re safe online and as such knowledge and resources, helplines for victims, are key for reducing scam success.
 
Of the methods currently available, below are the top five most frequently used in Thailand to help prevent personal risk in online scams:
1.   Do online research about scams

2.   Delete suspicious and untrustworthy emails

3.   Update your anti-malware software

4.   Ignore advertisements and offers that appear ‘too good to be true’

5.   Share knowledge and preventive ideas with friends and family through social media

“Thailand and Asia are dynamic regions with growing online populations. Alongside Telenor’s Internet for All strategy and the 2017 goal of achieving 200 million active internet users, there will be many more people online in the near future.  With so many new users, we are committed to the safety of our internet users. We encourage our netizens to be aware of potential threats and to openly talk with friends and family about online welfare. In the digital world we mustn’t forget our real world principles, such as, ‘if something looks too good, it probably is’,” added Ola Jo Tandre, Head of Social Responsibility at Telenor Group.