MSN on January 11, 2016, 02:16:43 PM
ก.วิทย์ฯ โดย สวทช. จัดงาน ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกาศผลสำเร็จการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยเชิงรุก สนองนโยบายรัฐบาลพร้อมชี้หวังเติบโตก้าวกระโดด ในปี 2559







กรุงเทพฯ : 11 มกราคม 2559 - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ พี่เลี้ยง และพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และจัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอกลไกเชิงรุกในการสนับสนุนภาคเอกชน พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงฯ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและสังคม มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ ไอแทบ (ITAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจพร้อมกระตุ้นและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยังมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการสร้างขีดความสามารถให้มีนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและคุณภาพที่ดี แต่ในทางปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรมของ SMEs เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากเงินทุนน้อย บุคลากรจำกัด ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย หาก SMEs จะมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นของตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย พร้อมทั้งขาดประสบการณ์ในการบริหารโครงการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กระทรวงฯ เห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ITAP / สวทช. จึงเป็นหน่วยงานที่ตอบสนองความต้องการในการสนับสนุน SMEs เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาธุรกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนการมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก”

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งของ SMEs เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ และเผยแพร่มาตรการภาครัฐในการส่งเสริมให้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของภาครัฐที่จะเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าถึงองค์ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็น สามารถนำไปใช้ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ อันจะนำมาซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ SMEs เป็นแกนหลักของเศรษฐกิจ
จากประสบการณ์ที่สนับสนุนภาคเอกชนมานานกว่า 20 ปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ITAP ได้ดำเนินการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคให้กับ SMEs จำนวน 7,000 ราย และเกิดจำนวนโครงการให้คำปรึกษาในเชิงลึกมากกว่า 5,000 โครงการ ครอบคลุมทุกประเภทของโครงการด้านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต  การสร้างมาตรฐานและการทดสอบ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม คิดเป็นสัดส่วนความสำเร็จของโครงการถึงร้อยละ 80 และมีความเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภาคการศึกษา สถาบันวิจัย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศกว่า 1,300 คน จากการประเมินผลระหว่างปี 2556 – 2558 สร้างผลกระทบจากการลงทุนและการจ้างงานที่เกิดจากการดำเนินโครงการถึง 6,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและยังส่งผลถึงการยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกด้วย”

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวว่า “การเข้าร่วมโครงการกับ ITAP เปรียบเสมือนบริษัทได้มีหน่วยวิจัยและพัฒนาเฉพาะกิจ นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีช่วยบริหารโครงการวิจัย SMEs หาที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและหัวข้อที่ต้องการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุน ทำให้ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงในการทำโครงการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม สามารถตัดสินใจลงทุนได้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง ITAP ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถวิเคราะห์จัดลำดับปัญหา และเสาะหาผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกจุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยเฉพาะทาง การบริการของภาครัฐ และแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะบุคลากรและเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยบริหารโครงการด้วยความเข้าใจทั้งภาษาธุรกิจและภาษาวิจัย พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนบางส่วนให้กับ SMEs ในการทำโครงการ ซึ่งสามารถให้การดูแลและบริการให้คำปรึกษาอย่างทั่วถึง โดยมีสาขาให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และมีพันธมิตรในการเชื่อมโยงงานในมิติต่างๆ”

ทั้งนี้ งาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” มีกิจกรรมหลักในงานประกอบด้วย
ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Business @ The Speed of Light, Why INNOVATION Must be Addressed”
และการรายงานพิเศษกลไกการทำงาน “ITAP: The Right Solutions for Thai SMEs” โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และการมอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ให้กับบริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้ได้รับรางวัล  คือ
1. บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค
2. บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
3. บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป : นวัตกรรมงานไม้
4. บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ
5. และ บริษัท เอเซีย คอมแพ็ค จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใยหิน
รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและจัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล

การจัดงานครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของลูกค้าของ ITAP ที่ไม่ย่อท้อ ค่อยๆ พัฒนาจากวิสาหกิจ ธุรกิจเล็กๆ หรือเทคโนโลยีพื้นฐานสู่เทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้กิจการเติบโตขึ้นมีการส่งออก สามารถเข้าสู่โมเดิร์นเทรดได้ หรือเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ กิจการที่ได้รับรางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ แต่สามารถพัฒนาเป็นผู้นำและมีนวัตกรรมได้ ขอเพียงมีความมุ่งมั่น ITAP จะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมเดินไปด้วยกันสู่ยอดเขานวัตกรรม ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจการที่ทำโครงการกับ ITAP แล้วมีพัฒนาการและการเติบโตที่ชัดเจน โดย ITAP มุ่งมั่นและเปิดรับที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของ SMEs ให้ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป
« Last Edit: January 11, 2016, 02:41:35 PM by MSN »

MSN on January 11, 2016, 02:42:38 PM
ก.วิทย์ฯ โดย สวทช. จัดงาน ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ประกาศผลสำเร็จการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยเชิงรุกสนองนโยบายรัฐบาลพร้อมชี้หวังเติบโตก้าวกระโดด ในปี 2559

กรุงเทพฯ : 11 มกราคม 2559 - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Innovation and Technology Assistance Program: ITAP) จัดงาน “ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอกลไกเชิงรุกในการสนับสนุนภาคเอกชน พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน 


บุคคลในภาพ (จากซ้าย)
1.  ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP)
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2.  ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
3.  ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)
5.  ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี , สวทช. 

MSN on January 11, 2016, 02:43:58 PM
มอบรางวัล “ผู้พิชิตยอดเขานวัตกรรม” ให้กับบริษัทผู้มีการดำเนินธุรกิจจากการไต่ระดับเทคโนโลยี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 บริษัท บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป จำกัด : นวัตกรรมงานไม้  บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ และ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล(1994) จำกัด : ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรค ไร้ใยหิน  และจัดแสดงนิทรรศการด้านการไต่ระดับเทคโนโลยีและ จัดแสดงผลงานของบริษัทผู้รับรางวัล

ITAP มุ่งมั่นและเปิดรับที่จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน  ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยง และพันธมิตรธุรกิจ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของ SMEs ให้ยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป


บุคคลในภาพ (จากซ้าย)
1. คุณเกษม อิสระพิทักษ์กุล  กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล(1994) จำกัด: ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรคไร้ใยหิน 
2.  คุณนพชัย วีระมาน  กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : นวัตกรรมพัดลมไอน้ำ
3.  ดร.สมชาย  ฉัตรรัตนา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
4.  ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
5.  ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
6.  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)
7.  คุณยิวลี่ บุญธำรงกิจ  กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท เอส.บี.พี. ทิมเบอร์กรุ๊ป จำกัด : นวัตกรรมงานไม้
8.  นายพฤฒิ  เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท แดรี่โฮม จำกัด : ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค
9.  นายสรพหล  นิติกาญจนา  กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด : ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์

MSN on January 11, 2016, 02:44:51 PM
สวทช. จัดงาน ITAP: ปลดล็อกข้อจำกัดทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกาศผลสำเร็จการพัฒนาศักยภาพ SMEs โดยมีพันธมิตรมาผนึกกำลัง แสดงความยินดีกว่า 60 หน่วยงาน



จากประสบการณ์ที่สนับสนุนภาคเอกชนมานานกว่า 20 ปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ITAP ได้ดำเนินการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคให้กับ SMEs จำนวน 7,000 ราย และเกิดจำนวนโครงการให้คำปรึกษาในเชิงลึกมากกว่า 5,000 โครงการ ครอบคลุมทุกประเภทของโครงการด้านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต  การสร้างมาตรฐานและการทดสอบ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม คิดเป็นสัดส่วนความสำเร็จของโครงการถึงร้อยละ 80 และมีความเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภาคการศึกษา สถาบันวิจัย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศกว่า 1,300 คน จากการประเมินผลระหว่างปี 2556 – 2558 สร้างผลกระทบจากการลงทุนและการจ้างงานที่เกิดจากการดำเนินโครงการถึง 6,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและยังส่งผลถึงการยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกด้วย